ในเชิงรุก อาเซอร์ไบจานเข้าควบคุมนากอร์โน-คาราบาคห์ และชาวอาร์เมเนียหลายหมื่นคนหวั่นกลัวการถูกเข่นฆ่าได้พากันอพยพหลบหนี ขณะเดียวกันตอนนี้คาดว่าสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปถึงยังภูมิภาคนี้แล้ว
อาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียได้ทำความตกลงกันอย่างชัดเจนแล้วในการกำหนดเส้นทางเพื่อมนุษยธรรมขึ้นในนากอร์โน-คาราบาคห์ หลังจากความขัดแย้งทางทหารในภูมิภาค ดังที่ฮิคเมต ฮาจิเยฟ-ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีอิลฮัม อาลีเยฟของอาเซอร์ไบจานโพสต์บนแพลตฟอร์ม X แจ้งว่าพลเรือนสามารถใช้เส้นทางจากนากอร์โน-คาราบาคห์ผ่านเส้นทางลัคชินด้วยพาหนะของตนเองได้แล้ว
ผู้นำอาร์เมเนียในนากอร์โน-คาราบาคห์ยืนยันเรื่องนี้กับสื่อตะวันตก อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักประกันความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมสำหรับประชาชนในภูมิภาค ฮาจิเยฟเขียนในแถลงการณ์ของเขาว่า เจ้าหน้าที่ทหารจากนากอร์โน-คาราบาคห์จะ “เป็นอิสระ” หากพวกเขายอมวางอาวุธ ตามรายงานของสื่อ ขบวนรถบรรทุกหลายคันพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวรัสเซียกำลังเดินทางจากเมืองคอร์นิดซอร์ของอาร์เมเนีย ไปยังนากอร์โน-คาราบาคห์แล้ว
ภูมิภาคนี้เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่มีชาวอาร์เมเนียกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ และก่อนหน้านี้เคยถูกควบคุมโดย “สาธารณรัฐอาร์ตซัค” ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว การเข้าถึงนากอร์โน-คาราบาคห์ผ่านเส้นทางลัคชินถูกอาเซอร์ไบจานปิดกั้น ส่งผลให้สถานการณ์ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคถดถอยลงอย่างมาก
ในแถลงการณ์โฆษกของประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานระบุว่า การปฏิบัติการของกองกำลังทหารจากเมืองหลวงบาคูซึ่งเป็นเหตุให้พลเรือนต้องเสียชีวิตนั้น เป็นเพียง “มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายในท้องถิ่น” ขัดแย้งกับรายงานของเจ้าหน้าที่ในสหภาพยุโรป ฝรั่งเศส และเยอรมนีที่แคลงใจและไม่สามารถเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ตามรายงานของผู้ตรวจการด้านสิทธิมนุษยชนในนากอร์โน-คาราบาคห์ เมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมา จากการสู้รบทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 รายและบาดเจ็บกว่า 400 ราย พลเรือนสิบคน-ครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก-ถูกสังหารเช่นกัน แต่ทั้งจากฝ่ายอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียคาราบาคห์ยังไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างอิสระ
ความขัดแย้งในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบาคห์เกิดขึ้นมายาวนานหลายทศวรรษแล้ว พื้นที่ดังกล่าวซึ่งมีชาวอาร์เมเนียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าชายชาวอาร์เมเนีย ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อสหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นพื้นที่ก็ถูกแบ่งแยกในปี 1923 ส่วนหนึ่งตกเป็นของสาธารณรัฐโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และพื้นที่ศูนย์กลางก็กลายเป็นเขตปกครองตนเอง
ปี 1988 ดินแดนแห่งนี้ถูกนำเสนอเพื่อเปลี่ยนจากสาธารณรัฐสหภาพอาเซอร์ไบจาน เป็นสาธารณรัฐสหภาพอาร์เมเนีย หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จากนั้นในปี 1992 ได้รับการประกาศเป็นสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบาคห์ แต่ไม่มีประเทศใดให้การยอมรับทางการทูต แม้แต่อาร์เมเนียเองก็ไม่ได้รับการยอมรับด้วยซ้ำ
นับแต่นั้นมาก็มีการต่อสู้นองเลือดเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันเองว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี 2020 มีสงครามเกิดขึ้นอีกครั้งในภูมิภาคนี้ เป็นผลมาจากการที่อาเซอร์ไบจานเข้าควบคุมส่วนอื่นๆ และในเดือนกันยายน 2022 อาเซอร์ไบจานบุกเข้าโจมตีดินแดนใจกลางของอาร์เมเนีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 รายในฝั่งอาร์เมเนีย และถูกบันทึกไว้ว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปลื้ม ‘UN’ ชม แจก ‘สัญชาติ’ ยันไม่มี ‘สีเทา’
รัฐบาลปลื้มยูเอ็น ยกย่องไทยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โฆษกรัฐบาลยัน กลุ่มคนสีเทา หรือแรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้สัญชาติไทย เผยเหตุให้รวดเดียว 4.8 แสนคน
ปภส.ร้องศาล! ยกเลิกมติครม. แจก ‘สัญชาติ’
“จิรายุ” ยันพวก “สีเทา” ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่ หลัง ครม.มีมติแจกสัญชาติ 4.8 แสนราย “โรม” ยกมือหนุนนโยบาย พร้อมรับให้ก่อนสอบทีหลังหากพบเป็นพวกทุนเทา
'ดอยอินทนนท์' หนาว! เริ่มเปิดเส้นทางชมธรรมชาติ
นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กำหนดจัดกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยว
'จิรายุ' ยัน พวก 'สีเทา-อาชญากรข้ามชาติ ' ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่
'จิรายุ' ยัน พวก 'สีเทา' ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่ หลัง สมช. ขอ ครม. เห็นชอบให้เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ไทยมานานกว่า 30-40ปี
'บิ๊กอ้วน' วอนอย่าดราม่าให้สัญชาติไทย 4.8 แสนราย
'ภูมิธรรม' วอนอย่าดราม่า หลัง ครม.ให้สัญชาติผู้อพยพ 4.8 แสนคน ย้ำทุกอย่างมีกระบวนการ กม. หากมองทุกอย่างเป็นปัญหาจะห่อเหี่ยว
โปแลนด์ตั้งเขตกันชนบริเวณชายแดนเบลารุส
โปแลนด์สงสัยมานานแล้วว่าเบลารุสพยายามจัดตั้งกลุ่มคนที่แสวงหาความคุ้มครองจากภูมิภาคที่มีภาวะวิกฤตเพื่อนำไปถึงช