องค์การอนามัยโลกระบุ ข้อมูลเบื้องต้นถึงขณะนี้ชี้ว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตาและลดประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ แต่ก่ออาการป่วยไม่รุนแรงเท่า
เอเอฟพีรายงานอ้างคำแถลงองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) จากนครเจนีวาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2564 ว่าไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีรายงานการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พบแพร่กระจายไปยัง 63 ประเทศแล้ว นับข้อมูลถึงวันที่ 9 ธันวาคม โดยมีรายงานการแพร่เชื้อที่เร็วขึ้นในแอฟริกาใต้ ที่สายพันธุ์เดลตาไม่ใช่สายพันธุ์หลัก และที่อังกฤษ ที่สายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดมากที่สุด
กระนั้น คำแถลงย้ำว่า การขาดแคลนข้อมูลทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่า อัตราการแพร่เชื้อของโอมิครอนนั้นเป็นเพราะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากวัคซีนลดลง หรือความสามารถในการแพร่เชื้อโอมิครอนสูงกว่า หรือปนกันทั้งสองปัจจัย แต่หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า โอมิครอนทำให้ "ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อลดลง"
"จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าโอมิครอนจะแซงหน้าสายพันธุ์เดลตาในที่ที่เกิดการแพร่เชื้อชุมชน" รายงานสรุปทางเทคนิคของดับเบิลยูเอชโอกล่าว
ถึงบัดนี้โอมิครอนทำให้เกิดอาการป่วย "เล็กน้อย" หรือไม่แสดงอาการ แต่ดับเบิลยูเอชโอกล่าวว่า ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะระบุถึงความรุนแรงทางคลินิกของสายพันธุ์นี้
เมื่อสัปดาห์ก่อน บริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคกล่าวว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3 โดสยังมีประสิทธิภาพในการต้านโอมิครอนได้ และขณะนี้มีหลายประเทศที่มีวัคซีนเพียงพอ อาทิ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ประชากรฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิต้านทานโดสที่ 3 เพื่อรับมือกับโอมิครอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้