ไต้ฝุ่นซาวลาพัดปกคลุมทางตอนใต้ของจีน, ทำต้นไม้หักโค่นและพังหน้าต่างอาคารในฮ่องกง โชคยังดีที่พายุไม่เข้าปะทะโดยตรงและเริ่มอ่อนกำลังลง
ต้นไม้ที่ถูกซูเปอร์ไต้ฝุ่นซาวลาถอนรากถอนโคนที่คอสเวย์เบย์ในฮ่องกง เมื่อวันที่ 2 กันยายน (Photo by Mladen ANTONOV / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2566 กล่าวว่า ซูเปอร์ไต้ฝุ่น 'ซาวลา' ที่คาดการณ์ว่าอาจเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของภูมิภาคในรอบหลายทศวรรษ เริ่มอ่อนกำลังลงตามลำดับ หลังขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของจีน แต่ยังคงสร้างความเสียหายไม่น้อยในหลายพื้นที่
ผู้คนหลายสิบล้านคนบริเวณชายฝั่งที่มีประชากรหนาแน่นทางตอนใต้ของจีนได้หลบภัยอยู่แต่ในบ้าน เพื่อรับมือการมาถึงของพายุในวันเสาร์
ซูเปอร์ไต้ฝุ่นซาวลาก่อให้เกิดภัยคุกคามระดับสูงสุดในฮ่องกง ด้วยความเร็วลมประมาณ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หลังจากเคลื่อนตัวผ่านเมืองและเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งของจีนแผ่นดินใหญ่ มันก็ลดระดับลงเป็นพายุโซนร้อน
จนถึงขณะนี้ ฮ่องกงยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และได้รับความเสียหายน้อยกว่าที่เคยเกิดขึ้นจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดเมื่อปี 2561 มากนัก แต่ทางการได้เตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากแนวชายฝั่ง เนื่องจากยังคงมีอิทธิพลของลมพัดรุนแรงหลงเหลืออยู่ ซึ่งกวาดล้างต้นไม้หักโค่นไปจำนวนมาก, ทำให้หน้าต่างอาคารแตกเสียหายหลายแห่ง และทำความเสียหายให้แก่พื้นที่ที่กำลังก่อสร้างหลายจุด
หน่วยบริการช่วยเหลือพลเรือนของฮ่องกงระบุว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่มากกว่า 500 คนไปทั่วเมืองเพื่อประเมินความเสียหาย รวมถึงเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่ลาดตระเวนหมู่บ้านชาวประมงในพื้นที่ลุ่มต่ำ
สนามบินของฮ่องกงค่อยๆ กลับมาให้บริการเที่ยวบินอีกครั้ง หลังจากการยกเลิกครั้งใหญ่และเกิดความล่าช้าเมื่อวันก่อน ในขณะที่มาเก๊าได้ประกาศกลับมาเปิดคาสิโนอีกครั้งหลังทางการสั่งปิดไป 1 วัน
นอกจากนี้ อิทธิพลของซาวลายังทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในเมืองจูไห่ บริเวณชายฝั่งทะเลของจีน แม้ระดับความรุนแรงของลมจะลดลงแล้ว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในทะเลจีนใต้ มีพายุไต้ฝุ่น 'ไห่ขุย' อีกลูกหนึ่งกำลังเคลื่อนตัวเข้าหาไต้หวันอย่างรวดเร็ว ซึ่งทางการได้แจ้งเตือนทั้งทางบกและทางทะเลให้เตรียมรับมือ แม้คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงก็ตาม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า
'ดร.ธรณ์' ชี้อากาศแปรปรวนหนัก ภาคใต้ไม่มีพายุ แต่ปริมาณน้ำฝนเทียบเท่า 'ไต้ฝุ่น'
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โ
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อัปเดตพายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ เช้าตรู่ 18 พ.ย.เคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้
คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้เช้าตรู่วันที่ 18 พ.ย.67 และเคลื่อนตัวทางตะวันตกเข้าใกล้เกาะไหหลำ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ