รัฐประหารในกาบอง ประธานาธิบดีถูกกักบริเวณในบ้าน

กลุ่มทหารก่อกบฏโค่นล้มรัฐบาลในกาบอง หลังการเลือกตั้งที่ประธานาธิบดีอาลี บองโก ออนดิมบาซึ่งอยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ปี 2552 ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะ

ภาพถ่ายจากวีดีโอแสดงให้เห็นประธานาธิบดีอาลี บองโก ออนดิมบา ของกาบอง กำลังเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรทั่วโลก หลังรัฐบาลที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารของกลุ่มทหาร และตัวเขาถูกจับกุมและกักบริเวณในบ้านพัก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม (Photo by UNKNOWN SOURCE / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 กล่าวว่า เกิดสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายในกาบอง ประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันในแอฟริกากลาง เมื่อกลุ่มทหารทำการรัฐประหารรัฐบาลที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งล่าสุด และจับกุมตัวประธานาธิบดีอาลี บองโก ออนดิมบา

บองโก วัย 64 ปี ซึ่งครอบครัวปกครองกาบองมานานกว่า 55 ปี ถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพักของตนเอง และลูกชายคนหนึ่งของเขาถูกจับในข้อหาขายชาติ ตามคำชี้แจงของผู้นำคณะรัฐประหาร

ในการปราศรัยก่อนรุ่งสาง คณะรัฐประหารประกาศว่า "สถาบันทั้งหมดของสาธารณรัฐ" ถูกยุบ รวมทั้งผลการเลือกตั้งถูกยกเลิก และสั่งปิดพรมแดน

คำแถลงที่อ่านผ่านการถ่ายทอดของสถานีโทรทัศน์ในประเทศ มีใจความว่า "วันนี้ ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตที่ร้ายแรงทางสถาบัน, การเมือง, เศรษฐกิจ และสังคม"

"การเลือกตั้งล่าสุดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสำหรับการลงคะแนนเสียงที่โปร่งใส, น่าเชื่อถือ และครอบคลุมตามที่ประชาชนชาวกาบองคาดหวังไว้ รัฐบาลขาดธรรมาภิบาลท, ขาดความรับผิดชอบ และคาดเดาไม่ได้ ส่งผลให้ความสามัคคีทางสังคมเสื่อมถอยอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่จะนำประเทศไปสู่ความสับสนวุ่นวาย"

"พวกเรา คณะกรรมการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูสถาบัน ในนามของประชาชนกาบอง และในฐานะผู้ค้ำประกันการคุ้มครองสถาบันต่างๆ ได้ตัดสินใจปกป้องสันติภาพด้วยการยุติระบอบการปกครองในปัจจุบัน" คำแถลงฯระบุ

นอกจากลูกชายของประธานาธิบดีแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐบาล, พันธมิตร และองคาพยพทั้งหลายของบองโก ต่างถูกคณะรัฐประหารจับไว้ได้ทั้งหมดแล้ว จากข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏขายชาติ, ยักยอกทรัพย์, ทุจริต และปลอมแปลงลายเซ็นของประธานาธิบดี

อาลี บองโก ออนดิมบาได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2552 หลังการเสียชีวิตของโอมาร์ พ่อของเขา ซึ่งปกครองประเทศมาเป็นเวลา 41 ปี

การก่อรัฐประหารเกิดขึ้นเพียงไม่นานหลังจากที่หน่วยงานการเลือกตั้งระดับชาติประกาศว่า ออนดิมบาชนะการเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ ด้วยคะแนนเสียง 64.27% และดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศเป็นสมัยที่ 3 ท่ามกลางเสียงประท้วงจากฝ่ายตรงข้ามว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใสและมีการฉ้อโกง

กาบองมีประชากรเพียง 2.3 ล้านคน และถูกปกครองโดยตระกูลออนดิมบามานานกว่า 55 ปี จากทั้งหมด 63 ปีนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี 2503

โอมาร์ บองโกเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของฝรั่งเศสในยุคหลังอาณานิคม และลูกชายของเขาได้ประจำการอยู่ในปารีสมาเป็นเวลานาน ซึ่งครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากและกำลังถูกสอบสวนโดยผู้พิพากษาต่อต้านการทุจริต

ฝรั่งเศสยังคงแสดงตนทางทหารในหลายดินแดนของอดีตอาณานิคม รวมถึงกาบองซึ่งมีทหารประจำการถาวร 370 นาย โดยมีบางส่วนอยู่ในเมืองหลวงลีเบรอวิล ตามการระบุของเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีเอลิซาเบธ บอร์น ของฝรั่งเศส กล่าวว่ารัฐบาลของเธอกำลังติดตามเหตุการณ์ในกาบองอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับรัสเซียและจีน ที่ออกมาแสดงความกังวลกับสถานการณ์ และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในกาบองรับประกันความปลอดภัยของประธานาบดีบองโก, แก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจา และฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อดีตรองอธิการบดี มธ. ห่วง ‘ภูมิธรรม’ คุมเหล่าทัพ ตัวเร่งรัฐประหารในอนาคตอันใกล้

การส่งคุณภูมิธรรมไปนั่งเป็นผู้บังคับบัญชาของกองทัพทั้ง 3 เหล่า เหมือนกับเป็นการบอกว่า อำนาจอยู่ที่ฉัน ฉันจะเลือกใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้

จับตา 'สหายใหญ่' นั่งรมว.กห. คลื่นใต้ในกองทัพ รัฐประหารครั้งต่อไป จะรุนแรง!

'เสธ.นิด' จับตา 'สหายใหญ่'นั่ง รมว.กห. คลื่นใต้น้ำรุนแรง หวั่นพรบ.ต้านการรัฐประหารเป็นอันตราย การรัฐประหารครั้งต่อไปจะรุนแรงและเสียเลือดเนื้อ แนะทำงานตามรัฐธรรมนูญ อย่าล้ำเส้นหรืออย่าทำตัวเป็นตัวควบคุม Regulator ก็แล้วกัน

'ทักษิณ' มั่นใจ 100% 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่โดนรัฐประหาร ตั้งตัวเป็น 'สทร.' ลั่นสบายมากสู้คดี 112

'ทักษิณ' มั่นใจไม่เกิดรัฐประหาร 'นายกฯ อิ๊งค์' 100% พร้อมตั้งตำแหน่ง 'สทร.' ช่วยลูก เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า 'เพื่อไทย' กลับมาชนะ ให้สิทธิ์พรรคมิตรเก่าร่วมรัฐบาลก่อน ลั่นสบายมากสู้คดี 112

'สุทิน' ทิ้งทวน เรียกถกสภากลาโหม ดันกฎหมายสกัดรัฐประหาร

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากนายกฯ ปมแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรี ทำให้ขาดคุณสมบัติในความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงและเอื้อประโยชน์คนนอก ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากหน้าที่