NASA และ SpaceX ส่งตัวนักบินอวกาศ 4 คน ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

ยานอวกาศ Dragon ของ NASA และ SpaceX ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันเสาร์พร้อมนักบินอวกาศ 4 คน ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

นักบินอวกาศทั้ง 4 ของภารกิจครูว์-7 (จากซ้ายไปขวา) คอนแสตนติน บอริซอฟ ชาวรัสเซีย, อันเดรส มอเกนเซ่น ชาวเดนมาร์ก, จัสมิน โมเบลลี ชาวอเมริกัน และซาโตชิ ฟุรุคาวะ ชาวญี่ปุ่น (Photo by Gregg Newton / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 กล่าวว่า ภารกิจครูว์-7 (Crew-7) ของนาซา (NASA) และสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ทำการส่งตัวนักบินอวกาศ 4 คน ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศได้สำเร็จ

ยานอวกาศดราก้อน (Dragon) ที่บรรทุกจรวดฟอลคอน 9 (Falcon 9) ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเวลา 03.27 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.27 น. ตามเวลาประเทศไทย) จากศูนย์ปล่อยจรวด39เอ ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซาในฟลอริดา ต่อหน้าสักขีพยานประมาณ 10,000 คนที่มารวมตัวกันเพื่อชมการปล่อยยานและส่งเสียงโห่ร้องยินดีเมื่อยานถูกปล่อยออกจากฐาน

นาซาได้ส่งนักบินอวกาศไปกับยานในครั้งนี้ด้วย อันได้แก่ จัสมิน โมเบลลี ชาวอเมริกัน, อันเดรส มอเกนเซ่น ชาวเดนมาร์ก, ซาโตชิ ฟุรุคาวะ ชาวญี่ปุ่น และคอนแสตนติน บอริซอฟ ชาวรัสเซีย

การปล่อยยานถูกเลื่อนจากกำหนดเดิมมาเป็นวันเสาร์ เพื่อให้วิศวกรมีเวลาเพิ่มอีก 1 วันสำหรับการตรวจสอบส่วนประกอบของระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมและระบบช่วยชีวิตของแคปซูลในยานอวกาศดังกล่าว

ภารกิจครูว์-7 ถูกกำหนดให้เป็นภารกิจประจำครั้งที่ 7 ไปยังแท่นวงโคจรสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ โดยภารกิจครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2563

นาซาจ่ายเงินให้สเปซเอ็กซ์ สำหรับบริการนำส่งลูกเรือเชิงพาณิชย์ที่จัดขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาจรวดของรัสเซียในการขนส่งนักบินอวกาศ หลังจากที่โครงการกระสวยอวกาศสิ้นสุดลงในปี 2554

โบอิ้งเป็นหุ้นส่วนเอกชนรายอื่นที่ทำสัญญากับนาซาเช่นกัน แต่โครงการยังคงติดอยู่ในความล่าช้าและปัญหาทางเทคนิค

อวกาศยังคงเป็นพื้นที่ความร่วมมือที่หาได้ยากระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย แม้จะมีกรณีขัดแย้งในสงครามยูเครน 

ทั้งนี้ นักบินอวกาศทั้งหมดจะใช้เวลา 6 เดือนบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งพวกเขาจะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการเก็บตัวอย่างระหว่างการเดินทางในอวกาศเพื่อตรวจสอบว่าสถานีฯสามารถปล่อยจุลินทรีย์ผ่านช่องระบายอากาศของระบบช่วยชีวิตได้หรือไม่ โดยมีเป้าหมายคือการทำความเข้าใจว่าจุลินทรีย์สามารถอยู่รอดและแพร่พันธุ์ในอวกาศได้หรือไม่ได้กันแน่ รวมทั้งการทดลองอื่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินความแตกต่างทางสรีรวิทยาระหว่างการนอนหลับบนโลกและในอวกาศ

นักบินอวกาศจากภารกิจครูว์-7 จะเดินทางไปอยู่ร่วมกับนักบินอวกาศคนอื่นๆอีก 7 คนที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นนักบินอวกาศจากภารกิจครูว์-6 จะปลดประจำการกลับสู่โลกในอีกไม่กี่วันต่อมา

สถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส เปิดตัวในปี 2541 และมีลูกเรือนานาชาติอาศัยอยู่บนนั้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 และมีกำหนดจะดำเนินงานต่อไปจนถึงปี 2573 เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นจะถูกปลดประจำการและปล่อยร่วงลงสู่มหาสมุทรบนโลก ขณะที่บริษัทเอกชนหลายแห่งกำลังสร้างสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนสถานีอวกาศดังกล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แคปซูลอวกาศ Starliner กลับสู่โลกได้สำเร็จ แต่ปราศจากนักบินอวกาศ

แคปซูลอวกาศ Starliner ที่ประสบปัญหาได้กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มายังโลกได้สำเร็จ โดยไม่มีนักบินอวกาศอยู่บนยานเหมือนที่วางแผนไว้ในตอนแรก

'นาซา' นำเครื่องบินเก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย แก้ฝุ่นพิษในระยะยาว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)(NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วม NASA ศึกษาปัญหามลภาวะอากาศในไทย ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality หรือ ASIA-AQ เก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย

ครั้งแรกกับหนังอวกาศไทย 'ยูเรนัส2324' ทุ่มทุนสร้างยาน-สถานีอวกาศเท่าของจริง!

เรียกเสียงฮือฮาให้กับแวดวงอุตสาหกรรมหนังไทยไม่น้อย เมื่อได้เห็นภาพยานอวกาศและสถานีอวกาศขนาดเสมือนจริงของภาพยนตร์ “URANUS2324” (ยูเรนัส2324) ที่นำแสดงโดย 2 นักแสดงหญิงสุดฮอต “ฟรีน-สโรชา จันทร์กิมฮะ” และ “เบคกี้-รีเบคก้า แพทริเซีย อาร์มสตรอง” ผลงานมาสเตอร์พีซโดยบริษัท เวลเคิร์ฟ สตูดิโอ กับการทุ่มทุนสร้างโปรดักชันฟอร์มยักษ์ที่สุดแห่งปี เพื่อถ่ายทำซีนบนยานอวกาศและสถานีอวกาศอย่างสมจริง