รัฐบาลอินเดียของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผ่านการลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจไปได้อย่างไม่พลิกโผ หลังเสร็จสิ้นการปราศรัยอันเผ็ดร้อนในการอภิปรายตลอด 3 วัน
นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ในท่าทางโกรธ ขณะปราศรัยต่อรัฐสภาในกรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม (Photo by ARUN SANKAR / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 กล่าวว่า การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาต่อรัฐบาลอินเดียของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เดินทางมาถึงวันสุดท้าย ก่อนเปิดให้มีการลงมติ และบทสรุปออกมาว่ารัฐบาลยังคงได้รับความไว้วางใจอย่างท่วมท้นให้ทำงานต่อไป
ทั้งนี้ คะแนนไว้วางใจท่วมท้นที่ได้มานั้นเกิดจากการลงคะแนนของส.ส.ฝั่งรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากบรรดา ส.ส.ฝ่ายค้านทั้งหมดได้เดินออกจากห้องประชุมรัฐสภาก่อนการลงคะแนน เพื่อประท้วงกรณีที่รัฐบาลยังคงเพิกเฉยต่อปัญหาความรุนแรงทางเชื้อชาติในรัฐมณีปุระ
การปราศรัยอย่างดุเดือดของราหุล คานธี ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งกล่าวโทษนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีว่ากำลังฆ่าแผ่นดินแม่ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเพราะปล่อยให้ความไม่สงบลุกลามมานานหลายเดือน
การตอบโต้จากฝั่งรัฐบาลและตัวโมดีเอง ทำให้ฝ่ายค้านไม่พอใจและประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องประชุม จนทำให้นายกรัฐมนตรีโมโหและตำหนิการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรง แม้รัฐบาลจะชนะโหวตผ่านญัตติไม่ไว้วางใจดังกล่าวในท้ายที่สุดก็ตาม
โมดีประณามพรรคฝ่ายค้านว่า เป็นพวกไม่ไว้วางใจระบอบประชาธิปไตย โดยมุ่งมั่นแต่การแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีความอดทนที่จะได้ยิน (การโต้แย้ง)
"ความขี้ขลาดและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ในสภา เป็นการบอกได้ชัดว่า ประเทศไม่สามารถคาดหวังอะไรได้จากคนเหล่านี้" โมดีกล่าวปราศรัยในสภา หลังฝ่ายค้านวอล์กเอาต์ และทำให้การลงคะแนนในญัตติไม่ไว้วางใจต้องมีความมัวหมอง
อย่างไรก็ดี พรรคภารติยะ ชนะตา (บีเจพี) ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดูของโมดี ครองเสียงข้างมาก 543 เสียงในสภาผู้แทนฯ และจะเอาชนะการลงมติไม่ไว้วางใจได้อย่างสบายๆ อยู่ดี แม้ฝ่ายค้านจะอยู่ร่วมลงคะแนนก็ตาม
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านถูกมองว่าหวังโค่นล้มความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในต้นปีหน้าซึ่งได้รับการคาดหมายอย่างกว้างขวางว่าพรรครัฐบาลจะได้ครองอำนาจเป็นสมัยที่ 3 อย่างแบเบอร์
ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 152 รายในรัฐมณีปุระตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จากการปะทะกันระหว่างชาวเมเตที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ และชุมชนคูกิที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก โดยแต่ละฝ่ายต่างมีกลุ่มติดอาวุธเพื่อคอยโจมตีใส่กัน
โมดีถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ายุยงให้เกิดความแตกแยกทางศาสนาเพื่อจุดประสงค์ในการเลือกตั้ง รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้เวลากว่า 2 เดือน กว่าจะหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาหารือแก้ไข
โมดีกล่าวปราศรัยในรัฐสภาต่อประเด็นความรุนแรงดังกล่าวว่า เป็นเรื่องน่าสลดใจ และให้คำมั่นว่าจะมีสันติภาพในรัฐมณีปุระในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
ปัจจุบันการปะทะรุนแรงระหว่างกลุ่มชนเผ่าในรัฐมณีปุระได้รับการดูแลจากทหารที่ถูกระดมเข้ามาจากพื้นที่อื่น ๆ ของอินเดียเพื่อควบคุมความรุนแรง, กำหนดเคอร์ฟิว และการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตทั่วทั้งรัฐ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พรรคส้ม ไม่ได้ดั่งใจ! สว.งดประชุม ทำกม.ล่าช้า ติงควรให้เกียรติผู้นำฝ่ายค้าน
ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาชน ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการประ
'ทักษิณ-พท.' สะดุ้ง! 'ปชน.' ประกาศกวาด 300 สส. ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
'เลขาธิการพรรคประชาชน' ลั่นเลือกตั้งรอบหน้า มีโอกาสกวาด สส. 270 - 300 ที่นั่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว โวขั้นต่ำเกินกึ่งหนึ่งแน่ แย้มชงบัญชีนายกฯ มากกว่า 1 ชื่อ
เริ่มจะเดือด! 'เท้ง' เผยต้นปีหน้าฝ่ายค้าน จับ 'มาดามแพ' ขึ้นเขียง เปิดเวทีซักฟอกรัฐบาล
ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนรา
'หัวหน้าเท้ง' รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็น 'ผู้นำฝ่ายค้านฯ'
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 1 ต.ค. ที่รัฐสภา มีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส
ปชน.รู้ตัว! ประกาศไม่ส่งชิงเก้าอี้รองประธานสภา
'พริษฐ์' เผย 'ปชน.' มีมติไม่ส่งแคนดิเดตลงชิงเก้าอี้รองประธานสภา เชื่อใช้เวลาไม่นานได้ผู้นำฝ่ายค้าน เพราะ ครม.ลงตัวแล้ว