การศึกษาของไฟเซอร์จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ครบแล้ว 2 โดสในสหรัฐ ยืนยันว่าวัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการป่วยรุนแรง รวมถึงจากสายพันธุ์เดลตา แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดฮวบหลังฉีดโดส 2 แล้วอย่างน้อย 6 เดือน
ข้อมูลล่าสุดนี้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ "แลนเซ็ต" เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการยืนยันข้อมูลที่เคยเผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจทานจากผู้รู้เสมอกัน แต่ข้อมูลที่ได้ก่อนหน้านี้มาจากการทดลองทางคลินิก ที่แสดงให้เห็นว่าวัคซีนไฟเซอร์ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ ส่วนข้อมูลล่าสุดเป็นการรวบรวมประสิทธิภาพของวัคซีนในโลกจริงเมื่อเวลาผ่านไป
รอยเตอร์และเอเอฟพีกล่าวว่า นักวิจัยจากไฟเซอร์และบริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ไคเซอร์เพอร์มาเนนเต เก็บข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้คนราว 3.4 ล้านคนในพื้นที่แคลิฟอร์เนียใต้ ซึ่งราว 1 ใน 3 ฉีดวัคซีนครบแล้ว ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 ผลการวิเคราะห์แสดงให้ว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ในการป้องกันการรักษาในโรงพยาบาลและการตายยังคงสูงที่ 90% เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหลังฉีดโดสที่ 2 ซึ่งรวมถึงกับสายพันธุ์เดลตาด้วย
ส่วนประสิทธิภาพของการป้องกันการติดเชื้อ หลังช่วงเวลาเฉลี่ย 3-4 เดือน พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วได้รับการป้องกัน 73% จากการติดเชื้อ แต่การป้องกันการติดเชื้อเดลตาลดลงจาก 93% ในเดือนแรกหลังการฉีดโดสที่ 2 มาอยู่ที่ 53% หลังผ่าน 4 เดือน ส่วนการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ นั้นลดลงจาก 97% มาอยู่ที่ 67%
นักวิจัยกล่าวกันว่า ข้อมูลบ่งชี้ว่า ตัวเลขที่ลดลงเป็นผลจากประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ใช่เป็นเพราะไวรัสสายพันธุ์เดลตาสามารถหลบหนีการป้องกันของวัคซีนได้
ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับทัศนะของหน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐและอิสราเอลที่ตัดสินใจฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดสที่ 3 แก่ประชากรของตนบางกลุ่ม ถึงแม้องค์การอนามัยโลกจะยืนกรานในรายงานเมื่อเดือนกันยายนว่า วัคซีนที่มีอยู่มีประสิทธิภาพเพียงพอและยังไม่จำเป็นต้องฉีดโดสที่ 3 โดยเรียกร้องให้ระงับการฉีดโดสที่ 3 ถึงสิ้นปีนี้ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างมากในการฉีดวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้