จากข้อมูลของสหประชาชาติ เดือนกรกฎาคมปีนี้น่าจะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการสังเกตการณ์โลก ‘โคเปอร์นิคัส’ (Copernicus) ของสหภาพยุโรป ระบุเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “มีแนวโน้มอย่างมากว่าเดือนกรกฎาคม 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์”
ในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือนนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงกว่าปีก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากคลื่นความร้อนในหลายภูมิภาค นอกจากนี้ภัยพิบัติทางธรรมชาติยังก่อให้เกิดความสูญเสียที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรก ‘Munich Re’ บริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในโลก ประเมินมูลค่าความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง อยู่ที่ 110 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันกับของปีที่แล้ว แต่ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสิบปีที่ผ่านมาที่ 98,000 ล้านดอลลาร์ที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว
บริษัทประกันอธิบายว่าอัตราเบี้ยประกันจึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 43,000 ล้านดอลลาร์ ถึงกระนั้นก็ยังน้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของความเสียหายทั้งหมดในช่วงครึ่งปีแรกที่ยังคงมีประกันอยู่ โดยเฉลี่ยในช่วงแรกของปี 2013 ถึง 2022 บริษัทประกันต้องรับภาระขาดทุนประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก
ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดคือ แผ่นดินไหวหลายครั้งในตุรเกียและซีเรียเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือน ถนน และสะพานพังยับเยิน Munich Re ประเมินความเสียหายทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้เฉพาะซีเรียได้รับความเสียหายถึง 5 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวยังสูงถึง 58,000 รายจากผู้เสียชีวิตเพราะภัยธรรมชาติทั้งหมด 62,000 ราย ครั้งล่าสุดที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวในช่วงครึ่งปีแรกมากกว่านี้คือปี 2010 ในเฮติ
พายุทอร์นาโดและพายุลูกเห็บยังสร้างความเสียหายนับหลายพันล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลของ Munich Re ได้มีการประกันความเสียหายไว้เพียง 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์จากมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว ที่สูงกว่าปีนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2011 เท่านั้น
ในยุโรป เหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีและประเทศเพื่อนบ้านเป็นปัจจัยหลัก บริษัทประกันภัยชี้แจงว่า เนื่องจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง ทำให้ผลที่ตามมาของน้ำท่วมจึงรุนแรง ความเสียหายทั้งหมดมีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์
ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชากรโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มันได้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในหลายภูมิภาคของโลก อุณหภูมิของน้ำที่สูงมากในแอ่งมหาสมุทรหลายแห่ง ความแห้งแล้งในบางพื้นที่ของยุโรป รวมถึงไฟป่าที่รุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา และล่าสุดทางตอนใต้ของยุโรป
ผลที่ตามมาคือภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศและภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
ดร.ธรณ์ เผยเหตุพายุธรรมดา กลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น 'ยางิ' ในเวลาไม่ถึง 2 วัน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
กรมลดโลกร้อน หนุน 8 แนวทางเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายฯ เน้น “รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”
กรมลดโลกร้อน ทำงานเชิงรุกเสริมแกร่งเครือข่ายภาคประชาชน และภาคีความร่วมมือ จัดประชุมใหญ่เสริมความเข้มแข็ง เน้น“รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”