ใจชื้นขึ้นหน่อย ผู้บริหารโครงการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลกและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชั้นนำของสหรัฐเผยกับเอเอฟพีว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้เลวร้ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ หรือก่อโรครุนแรงกว่า และเชื่อว่าวัคซีนที่มีอยู่ยังป้องกันได้
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 8 ธันวาคม 2564 กล่าวว่า การประเมินที่ให้ความหวังนี้มีออกมาหลังจากทั่วโลกวิตกกังวลกันมากขึ้นเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์มากกว่า 30 ตำแหน่งในส่วนของโปรตีนหนาม ซึ่งทำให้หลายสิบประเทศกลับไปใช้ข้อกำหนดควบคุมพรมแดนอีกครั้ง และเพิ่มความเป็นไปได้ของการกลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่ทำร้ายเศรษฐกิจ
ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการบริหารโครงการแผนฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ซึ่งเป็นผู้บริหารอันดับสองขององค์การนี้ ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีเมื่อวันอังคาร กล่าวถึงโอมิครอนว่า แม้มีความเป็นไปได้ที่สายพันธุ์นี้จะแพร่เชื้อได้มากขึ้นกว่าสายพันธุ์ก่อนๆ แต่ข้อมูลเบื้องต้นที่มีชี้บ่งชี้ว่า โอมิครอนไม่ได้ทำให้ผู้ติดเชื้อป่วยรุนแรงกว่าเดลตาหรือสายพันธุ์อื่นๆ "จะว่าไปแล้ว แนวโน้มไปในทางรุนแรงน้อยลง" เขากล่าว พร้อมกับย้ำว่ายังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
ไรอันกล่าวด้วยว่า ยังไม่พบสัญญาณที่บ่งชี้ว่าโอมิครอนสามารถหลบหลีกการป้องกันของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิง
"เรามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสทุกสายพันธุ์ถึงขณะนี้ ในแง่ของการป่วยรุนแรงและการรักษาในโรงพยาบาล ไม่มีเหตุผลให้คาดหมายว่ามันจะไม่เป็นเช่นนั้น" กับโอมิครอน เขากล่าวโดยอ้างข้อมูลเบื้องต้นจากประเทศแอฟริกาใต้ที่พบสายพันธุ์นี้ครั้งแรก แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนที่มีอยู่อาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงกับไวรัสโอมิครอนที่มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งมาก ซึ่งทำให้มันสามารถบุกรุกเข้ามาในเซลล์ได้
ด้านแอนโทนี เฟาซี นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของสหรัฐ สะท้อนมุมมองในแบบเดียวกับดับเบิลยูเอชโอ โดยกล่าวกับเอเอฟพีว่า โอมิครอนไม่ได้เลวร้ายไปกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ โดยอ้างอิงจากสิ่งบ่งชี้เบื้องต้น และเป็นไปได้ว่าอาจเบากว่าด้วย
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของสหรัฐผู้นี้ยอมรับว่า โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น่าจะมากกว่าเดลตาซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบส่วนใหญ่ในโลกขณะนี้ แต่ "เกือบจะแน่นอนว่ามันไม่ได้รุนแรงกว่าเดลตา" เฟาซีเสริม "มีข้อชี้แนะบางอย่างว่ามันอาจรุนแรงน้อยกว่าด้วย"
กระนั้น เฟาซีให้ข้อสังเกตว่า สิ่งสำคัญคือต้องไม่ตีความข้อมูลเกินเลย เพราะประชากรในกลุ่มที่เฝ้าติดตามนี้ค่อนข้างเป็นคนหนุ่มสาวและมีความเป็นไปได้น้อยกว่าที่จะต้องรักษาในโรงพยาบาล โรครุนแรงอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการก่อตัว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้