กองกำลังติดอาวุธของยูเครนได้รับระเบิดลูกปรายตามที่สหรัฐฯให้สัญญาไว้เรียบร้อยแล้ว คาดช่วยเพิ่มคลังกระสุนในการตอบโต้รัสเซียต่อไปเรื่อยๆ
(Photo by Handout / DVIDS / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของยูเครนและสหรัฐอเมริกากล่าวยืนยันตรงกันว่าคลัสเตอร์บอมบ์ หรือระเบิดลูกปรายของสหรัฐฯได้ส่งมอบให้ยูเครนเรียบร้อยแล้ว ตามที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยแจ้งไว้ก่อนหน้า
"เราเพิ่งได้รับพวกมันมาแต่ยังไม่ได้ใช้เริ่มใช้ ยังไงซะต่อจากนี้ระเบิดดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในสนามรบได้อย่างแน่นอน" โอเล็กซานเดอร์ ทาร์นาฟสกี ผู้บัญชาการกองทัพยูเครนกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นของสหรัฐฯ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐฯ ระบุว่าจะส่งระเบิดลูกปรายให้ยูเครนเพื่อช่วยต่อสู้กับกองกำลังรัสเซีย แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงระยะยาวที่อาจเกิดกับพลเรือนจากลูกระเบิดที่มีความสามารถแตกตัวดังกล่าว
"ข้าศึกเข้าใจเช่นกันว่า การได้รับอาวุธชนิดนี้จะทำให้ยูเครนได้เปรียบ" ทาร์นาฟสกีกล่าว และเสริมว่า กองกำลังยูเครนจะไม่ใช้ระเบิดลูกปรายในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น
พลโท ดักลาส ซิมส์ ของสหรัฐฯ ยืนยันข่าวดังกล่าวในภายหลัง โดยกล่าวว่า "ระเบิดลูกปรายอยู่ในความครอบครองของกองกำลังยูเครนแล้ว"
รัฐบาลวอชิงตันอนุมัติจัดส่งอาวุธอันตรายอย่างระเบิดลูกปรายให้กับยูเครนเพื่อใช้ในแผนโต้กลับรัสเซีย ขณะที่พันธมิตรชาติตะวันตกอื่นๆแสดงความกังวลต่อการกระทำดังกล่าว รวมทั้งกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เป็นห่วงถึงอันตรายจากระเบิดที่อาจส่งผลร้ายต่อพลเรือน
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยอมรับว่าการจัดหาอาวุธต้องห้ามให้ยูเครนเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ก็ต้องทำเนื่องจากคลังกระสุนของรัฐบาลเคียฟเริ่มร่อยหรอ ในขณะที่สงครามอันยืดเยื้อล่วงสู่วันที่ 500 แล้ว
อาวุธที่เป็นข้อถกเถียงนี้ถูกต่อต้านจากทั่วโลก และห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งเป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาออสโลปี 2551 แต่ทั้งรัสเซีย, สหรัฐฯ และยูเครนไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว
ทั้งนี้ ระเบิดลูกปรายมีประวัติเป็นอาวุธที่สร้างการบาดเจ็บล้มตายให้เเก่พลเรือน และสหประชาชาติเคยเรียกร้องให้ทั้งยูเครนเเละรัสเซียหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธประเภทนี้
ด้านรัสเซียเองขู่กลับว่าจะใช้ "มาตรการตอบโต้รุนแรง" เช่นกัน หากยูเครนใช้ระเบิดลูกปรายเล่นงานกองทหารของตน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โจ ไบเดน เลื่อนการเดินทางเยือนเยอรมนี เหตุเพราะพายุเฮอร์ริเคน ‘มิลตัน’
เดิมทีมีแผนจะหารือเกี่ยวกับยูเครนและตะวันออกกลาง ทว่าพายุเฮอร์ริเคนเข้ามาขวางทางเสียก่อน เป็นเหตุให้ประธ