ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ‘เธรดส์’ คู่แข่งของ ‘ทวิตเตอร์’ สามารถทำลายสถิติยอดผู้ใช้ 100 ล้าน และยังมีช่องว่างสำหรับการปรับปรุงอีกมาก สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ ไม่มีใครต้องการให้หัวข้อที่สำคัญที่สุดของทวิตเตอร์ไปปรากฏอยู่ที่นั่น
จำนวนผู้ใช้ทะลุถึง 100 ล้านเมื่อไหร่นั้นดูเหมือนยังไม่ชัดเจน ตามรายงานของ Quiver Quantitative ระบุว่า ตัวเลขผู้ใช้ปรากฏให้เห็นในเช้าวันจันทร์ เว็บไซต์อื่นๆ ที่อ้างอิงจากการดาวน์โหลดแอปได้รายงานยอดผู้ใช้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแชตบอทอย่าง ChatGPT เคยประเมินไว้ว่าต้องใช้เวลานานสองเดือนกว่ายอดผู้ใช้จะถึง 100 ล้าน และ TikTok นั้นต้องใช้เวลาถึงเก้าเดือน ส่วนทวิตเตอร์เองต้องใช้เวลามากกว่าห้าปีถึงจะได้ยอดผู้ใช้จำนวนเท่านี้
สำหรับอีลอน มัสก์แล้ว นี่คือข่าวร้าย นับตั้งแต่เขาเข้าครอบครองทวิตเตอร์มาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เขามักประสบความเดือดร้อนจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในบางครั้งของเขา ตั้งแต่เรื่องการปลดพนักงานจำนวนมากออก การตัดทอน การกลั่นกรองเนื้อหา หรือการเลิกบล็อกผู้ใช้หัวรุนแรงบางคน เขาได้เปลี่ยนอารมณ์ของผู้ใช้อย่างมาก รวมถึงการแก้ไขรูปแบบการตรวจสอบสำหรับการสมัครสมาชิกยังทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถืออีกด้วย
และเธรดส์กลับได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น มันถูกออกแบบให้เป็น “ทางเลือกในการเรียกใช้อย่างถูกต้อง” ตามเอกสารของ Meta ที่รั่วไหลออกมาก่อนหน้านี้ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ มีการกลั่นกรองมากขึ้น ลดความไม่พอใจของผู้ใช้ลง และเลี่ยงโพสต์ที่เป็นปัญหา
แต่ที่น่าสนใจคือสิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์ลดความยิ่งใหญ่ลงจากที่เคยเป็น อดัม มอสเซรี-นายใหญ่ของอินสตาแกรม โพสต์อธิบายบนเธรดส์ว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การเมืองหรือหัวข้อข่าว ข้อได้เปรียบเล็กๆ น้อยๆ ที่มาจากสิ่งนี้ในแง่ของการมีส่วนร่วมและรายได้นั้นไม่คุ้มกับความยุ่งยาก การถูกปฏิเสธ และความเสี่ยงเรื่องความซื่อสัตย์ ผู้ใช้จำนวนมากมุ่งความสนใจไปที่หัวข้ออื่นๆ เช่น กีฬา ดนตรี แฟชั่น และบันเทิงมากกว่า
การพัฒนานี้สอดคล้องกับทิศทางทั่วไปของ Meta ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากหลายปีที่เฟซบุ๊กกลายเป็นแหล่งข่าวอันดับหนึ่งสำหรับผู้คนจำนวนมาก และได้รับประโยชน์จากถกเถียงแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างเผ็ดร้อน ข้อกล่าวหาเรื่องข่าวปลอมและการมีส่วนทำให้สังคมแตกแยกมากขึ้น ทำให้บริษัทประสบปัญหาอย่างมาก เมื่อต้นปี 2021 เฟซบุ๊กจึงเหยียบเบรกฉุกเฉิน จงใจให้ข่าวการเมืองจึงมีน้ำหนักน้อยลงในฟีดของผู้ใช้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เธรดส์จะทำอะไรแตกต่างออกไปในตอนนี้
เธรดส์มีศักยภาพในการเติบโตมากขึ้นอย่างแน่นอน ผู้ใช้อินสตาแกรมทุกคนจะมีบัญชีพ่วงเครือข่ายโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายถึงผู้ใช้จำนวนสองพันล้านต่อเดือนสามารถเข้าถึงได้เมื่อเข้าสู่ระบบ เพียงแต่เธรดส์ยังไม่พร้อมให้บริการในสหภาพยุโรป ฉะนั้นตลาดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งจึงยังขาดหายไป แต่ความคาดหวังสูงสุดยังไม่หายไปไหน มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กเปิดเผยแล้วว่า บริการนี้จะต้องเข้าถึงผู้คนจำนวนหนึ่งพันล้านในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งมากกว่าที่ทวิตเตอร์เคยทำได้
แม้ว่าอีลอน มัสก์จะเน้นย้ำหลายครั้งว่า จำนวนผู้ใช้ทวิตเตอร์นั้นสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ Cloudflare เพิ่งรายงานในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าตัวเลขผู้ใช้ทวิตเตอร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มัสก์เข้าคุมกิจการ ทวิตเตอร์ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการใดๆ ให้รับรู้ ในเดือนพฤศจิกายนยอดผู้ใช้ที่ยังแอคทีฟมีอยู่ประมาณ 260 ล้าน
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มัสก์แสดงปฏิกิริยาอย่างที่ใครๆ คาดเดาได้ นั่นคือกล่าวโจมตี Meta และมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กซ้ำครั้ง “ซัคเป็นคนขี้งก” เขาทวีต พูดถึงพฤติกรรมทางเพศแบบเฟติช เป็นผู้ชายที่ยอมขายหน้าโดยปล่อยให้ชายอื่นมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนต่อหน้า หลังจากนั้นก็รุกคืบ เขาโพสต์อิโมจิรูปไม้บรรทัดพร้อมข้อความว่า “ผมขอแนะนำให้เปรียบเทียบกับ ‘ไอ้นั่น’ ดู”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เศรษฐา' ปัดเอาใจทหาร ไม่ยุบกอ.รมน. ยันยึดผลประโยชน์ปชช.เป็นที่ตั้ง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้ทวิต X ตอบผู้แสดงความคิดเห็นรายหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ ว่า “ขอไม่เห็นด้วยกับที่ประกาศเอาใจทหาร ไม่มีแนวคิดยุบหน่วยงาน มิหนำซ้ำยังไปเพิ่มบทบาทที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานราชการอื่นๆ”
ดิจิทัลวอลเล็ตระอุแล้ว! 'เศรษฐา' ปลุกรัวๆ คนเห็นด้วยส่งเสียงออกมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความในทวิเตอร์ ถึงความคืบหน้
‘ประชาธิปไตยเตี้ยๆ’ ดร.อานนท์ โพสต์โดน’อมรรัตน์’ บล็อกไม่ให้ดูทวิต
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA)
ปมศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์
ศาลรัฐธรรมนูญกระหึ่มโซเชียลหลังมีมติรับวินิจฉัยสถานะ 'พิธา' ปมหุ้นสื่อ อัดเมื่อใดจะเป็นศาลที่ควรเคารพได้จริงเสียที พร้อมปลุกระดมใส่ชุดดำไว้อาลัย