'ไอซ์แลนด์' กำลังเผชิญกับแผ่นดินไหวกว่า 4,000 ครั้งและภูเขาไฟรอการปะทุ

AFP

หน่วยงานด้านสภาพอากาศของไอซ์แลนด์ (IMO) ประกาศข่าวว่ามีคลื่นแผ่นดินไหวราว 4,700 ครั้งในไอซ์แลนด์ สร้างความหวาดวิตกว่า ภูเขาไฟที่ใกล้กับเมืองหลวงเรคยาวิกกำลังจะปะทุ แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่แล้ว ในพื้นที่รอบภูเขาไฟฟากราดาเซียล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงประมาณ 30 กิโลเมตร

แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเมื่อวันพุธ สัปดาห์ที่แล้ว วัดได้ 4.8 และแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ แรงสั่นสะเทือนเริ่มขึ้นใต้เขตเคลื่อนตัวของหินหนืดใต้ภูเขาไฟฟากราดาเซียล ที่ความลึกประมาณ 8 กิโลเมตร และเพิ่มขึ้นถึงระดับความลึก 4 กิโลเมตรภายในเวลา 5 ชั่วโมง หากแผ่นดินไหวไต่ระดับสูงขึ้นถึงพื้นผิวโลก แรงสั่นสะเทือนก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเช่นกัน

กรมอุตุนิยมวิทยาของไอซ์แลนด์ได้เพิ่มระดับคำเตือนด้านการบินจาก “สีเขียว” เป็น “สีส้ม” ระบบเตือนภัยนี้มีไว้เพื่อแจ้งการบินเกี่ยวกับอันตรายจากการระเบิดของภูเขาไฟ จากข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียง RÚV ของไอซ์แลนด์ ระบุว่ายังไม่มีเที่ยวบินใดได้รับผลกระทบ ท่าอากาศยานนานาชาติเคฟลาวิกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจากข้อมูลของ IMO ยังไม่มีการตรวจพบการปะทุของภูเขาไฟอีกด้วย

อาจมีความเป็นไปได้ที่การปะทุของภูเขาไฟจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันข้างหน้า แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่าทุกอย่างจะสงบลงโดยไม่มีการปะทุของภูเขาไฟ เพียงแต่มีการคาดการณ์ว่าอัตราการปะทุของภูเขาไฟอยู่ในขีดความเป็นไปได้สูง ดังนั้น ทั้งนักธรณีวิทยาและ IMO จึงเตือนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟ เพราะไม่มีใครสามารถล่วงรู้ว่าภูเขาไฟจะปะทุขึ้นหรือไม่ และเมื่อไหร่ การไหลของลาวาสามารถโอบล้อมและตัดพื้นที่ออกจากกันได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการปิดล้อมพื้นที่รอบๆ ภูเขาไฟ

IMO ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดมีความคล้ายกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ภูเขาไฟฟากราดาเซียลบนคาบสมุทรเรคยาเนสได้ปะทุไปแล้วในปี 2022 และ 2021 รูปแบบแผ่นดินไหวคล้ายกันกับในปีนี้ มีสัญญาณ ซึ่งรวมถึงความลึกตื้นของแผ่นดินไหวด้วยว่า มีลาวาจำนวนมากสะสมอยู่ใต้พื้นผิว ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าการปะทุอาจมีขนาดใหญ่กว่าการปะทุเมื่อสองครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากขอบเขตของการยกตัวของดินในพื้นที่ได้รับผลกระทบ

การปะทุในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และการปะทุที่ใกล้เข้ามาในขณะนี้อาจชี้ให้เห็นถึงการปะทุของภูเขาไฟที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ในอีกไม่กี่ทศวรรษหรือหลายศตวรรษข้างหน้า เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดเมื่อเดือนมีนาคม 2021 เป็นการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุดบนคาบสมุทรเรคยาเนสในรอบ 8 ศตวรรษ

ไอซ์แลนด์เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดและแอคทีฟที่สุดในยุโรป การปะทุของภูเขาไฟเอยาฟยาลลาโจกุล ในปี 2010 หลายคนยังจำได้ว่า เถ้าถ่ายจำนวนมหาศาลถูกพ่นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้การจราจรทางอากาศในยุโรปเป็นอัมพาต สนามบินหลายแห่งต้องปิดทำการเป็นเวลาหลายวัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 อากาศแปรปรวน 19-21 ต.ค. เปิดพื้นที่ฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 - 21 ตุลาคม 2567)

'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า

นายกฯ ห่วงคนไทยในญี่ปุ่น ขอให้ติดตามประกาศแจ้งเตือนแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เตือนชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่ประเทศญี่ปุ่นให้ติดตามสถานการณ์ต่อกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 ริกเตอร์ ที่กรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบ

ปภ.ประสานจังหวัดอุบลราชธานี ดูแลชาวบ้าน ‘อ.เมือง-วารินฯ’ จากผลกระทบแผ่นดินไหว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าว พบว่าพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี