173 ประเทศทั่วโลกห้ามการทรมานอย่างเป็นทางการ แต่ในหลายประเทศ ผู้คนยังคงถูกทารุณกรรมอย่างรุนแรง ไม่ว่าในรัสเซีย จีน หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็ถูกวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหนัก
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 1987 และปัจจุบันมีการให้สัตยาบันแล้ว 173 ประเทศ จุดประสงค์เพื่อปกป้องผู้คนจาก “การจงใจกระทำให้ได้รับความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจอย่างใหญ่หลวง” แต่กระนั้น องค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชนยังตำหนิว่า การคุ้มครองจากการกดขี่และทรมานของรัฐมักปรากฏอยู่แค่บนกระดาษเท่านั้น
อักเนส กัลญามารฺด์-เลขาธิการระหว่างประเทศของ Amnesty International สังเกตเห็น “ความเสื่อมถอยในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” มีการกักขังผู้คนตามอำเภอใจ การสังหารที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ ในในรายงานของ Amnesty ประจำปี 2022/2023 ระบุว่าในหลายประเทศยังมีการละเมิดสิทธิประชาชน ลิดรอนเสรีภาพ พิจารณาคดีอย่างไม่เป็นธรรม
สำหรับประชากร 2.2 พันล้านคน สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุม กักขัง ทำร้าย ล่วงละเมิด หรือแม้กระทั่งสังหารผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย หรือยืนหยัดเพื่อเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ข้อมูลเหล่านี้มาจาก “สมุดแผนที่ของประชาสังคม” ฉบับล่าสุดซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์กร Bread for the World
สมุดแผนที่ของประชาสังคม รายงานว่าใน 26 ประเทศมีการลงโทษอย่างรุนแรงกับคนที่วิพากษ์วิจารณ์ระบอบการปกครองที่มีอำนาจ โดยระบุรายชื่อประเทศเหล่านั้น ได้แก่ จีน รัสเซีย เบลารุส เกาหลีเหนือ ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย ซีเรีย อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน เยเน อียิปต์ และเอริเทรีย แม้ว่าประเทศต่างๆ เช่น รัสเซีย เบลารุส จีน และอียิปต์ได้ยึดถืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานก็ตาม แต่ผู้วิจารณ์และผู้ถูกคุมขังในประเทศเหล่านี้มักตกเป็นเหยื่อของการกักขังและทรมานอย่างรุนแรง
แต่จากรายงานของ Amnesty ยังระบุด้วยว่า ไม่เพียงแต่จีนและรัสเซีย แม้แต่ประเทศประชาธิปไตยในตะวันตกก็ละเมิดสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน อย่างกรณีการเนรเทศชาวเฮติที่ขอลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา 25,000 คน “ผู้ขอลี้ภัยผิวดำชาวเฮติถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวโดยพลการและอยู่ภายใต้การเลือกปฏิบัติ มี่การย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเท่ากับเป็นการทรมานที่มีแรงจูงใจจากการเหยียดเชื้อชาติ” – ตามรายงานของ Amnesty International 2022/2023
ส่วนสหภาพยุโรปก็ถูกวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับนโยบายผู้ลี้ภัย เหตุผลเพราะการสนับสนุนทางเงินและสิ่งของให้กับลิเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ตามรายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวถึงการข่มขืน ทรมาน และสังหารภายในค่ายผู้ลี้ภัยที่นั่น
แม้สหภาพยุโรปไม่ได้ก่ออาชญากรรมก็ตาม แต่การสนับสนุนของสหภาพยุโรปก็เท่ากับเป็นการให้ความช่วยเหลือในการก่ออาชญากรรมเหล่านี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง
มาครง และเนทันยาฮู ปะทะกันหลังเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพถูกโจมตีในเลบานอน
กองทัพอิสราเอลโจมตีฐานที่ตั้งของกองกำลัง ‘หมวกสีฟ้า’ ในเลบานอนหลายครั้ง ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่ง
'พิธา' โผล่ประชุม กมธ.ความมั่นคง เชิญ 5 ธนาคารไทยแจงปม 'ยูเอ็น' แฉหนุนเมียนมาซื้ออาวุธ
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม เป็นประธาน มีการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริง กรณีสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็นชี้ กำลังเกิดภาวะอดอยากทั่วฉนวนกาซา
บรรดาผู้เชี่ยวชาญเคยเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับความอดอยากในฉนวนกาซา ขณะนี้องค์การสหประชาชาติเริ่มส่งสัญญาณว่
UN ฟังทางนี้! 'อดีตบิ๊ก มธ.' เปิดความจริงการเสียชีวิตของ 'บุ้ง'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง
เลขาฯ ยูเอ็นสะพรึง สหรัฐฯ เตรียมจัดหาอาวุธใหม่ให้กับอิสราเอล
ขณะที่กองทัพอิสราเอลรุกคืบเข้าไปในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ตามรายงานของสื่อ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธมิต