ฝนมรสุมถล่มเอเชียใต้ เสียชีวิต 19 ศพ อพยพนับพัน

มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 19 รายหลังเกิดอุทกภัยจากลมมรสุมประจำปีในเอเชียใต้ โดยฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ทำให้ผู้คนหลายพันคนต้องไปหาที่หลบภัยในอินเดีย

ชายคนหนึ่งอุ้มแพะของเขาขณะลุยน้ำท่วมในเมืองรังเกีย รัฐอัสสัมของอินเดีย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน (Photo by Biju BORO / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า ฤดูมรสุมในเอเชียใต้นำพาลมกรรโชกแรงและฝนตกหนักในหลายพื้นที่

แม้น้ำท่วมจะเป็นเรื่องปกติและก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างในช่วงฤดูมรสุมที่เลวร้าย แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความถี่, ความดุร้าย และคาดเดาไม่ได้

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมและดินถล่มเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วในเนปาลเพิ่มขึ้นเป็น 14 ราย โดยยังคงสูญหายอีกกว่า 24 คน

นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้เสียชีวิตอีก 4 ราย หลังจากน้ำท่วมและดินถล่มในรัฐอรุณาจัลประเทศ บนเทือกเขาหิมาลัยอันห่างไกลของอินเดีย

หน่วยงานด้านภัยพิบัติของรัฐอัสสัมที่อยู่ใกล้เคียงระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากการจมน้ำเมื่อค่ำวันพฤหัสบดี โดยมีหมู่บ้านมากกว่า 1,300 แห่งถูกน้ำท่วม ขณะที่ประชาชนราว 14,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่ไปยังศูนย์พักพิงฉุกเฉิน

ขณะที่ประเทศบังกลาเทศเริ่มเตรียมตัวแล้วเช่นกัน หลังจากนักพยากรณ์เตือนว่าอาจเกิดน้ำท่วมในเขตทางตอนเหนือที่มีพรมแดนติดกับอินเดีย และจนถึงขณะนี้มีอย่างน้อย 20,000 ครอบครัวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มรอบเขตทางตอนเหนือของคุริกรัม

"แม่น้ำสายหลักในภูมิภาคกำลังเอ่อล้น" ผู้บริหารเขตคุริกรัมกล่าวกับเอเอฟพี และเสริมว่า "สถานการณ์อาจเลวร้ายลงได้ทุกเมื่อหากกระแสน้ำจากต้นน้ำเพิ่มขึ้น"

ลมมรสุมฤดูร้อนของเอเชียเป็นลมทะเลขนาดมหึมาที่ทำให้เอเชียใต้มีฝนตก 70-80%ต่อปี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี

ถึงแม้ฝนจะมีความสำคัญต่อการเกษตรและการดำรงชีวิตของเกษตรกรหลายล้านคน รวมทั้งความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคที่มีประชากรประมาณ 2,000 ล้านคน แต่มันก็ยังนำมาซึ่งการทำลายล้างทุกปีด้วยเช่นกัน จากทั้งดินถล่มและน้ำท่วม

ภัยพิบัติมรสุมน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วทำให้พื้นที่ 1 ใน 3 ของปากีสถานจมอยู่ใต้น้ำ สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน 2 ล้านหลัง และคร่าชีวิตผู้คนกว่า 1,700 ราย

บังกลาเทศเองก็ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ในปีเดียวกัน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนกว่า 100 ราย และทำให้อีก 7 ล้านคนต้องสูญเสียที่พักพิงและวิถีชีวิตเดิม ขณะที่ความพยายามบรรเทาทุกข์ยังคงดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายเดือน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศบาลนครศรีธรรมราช ปักธงเหลือง มวลน้ำจากคีรีวงไหลเข้าตัวเมือง หลังฝนตกหนัก

มวลน้ำจากพื้นที่คีรีวงกำลังไหลเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชและเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (25 พฤศจิกายน 2567) ส่งผลให้พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเริ่มมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 27 พ.ย. ลมหนาวพัดแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯ เตือนอากาศเย็น มีหมอกบางตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น ใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตือน 9 จังหวัด ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง

ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง