เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การเริ่มต้นของยุคนิวเคลียร์ใหม่ได้รับการประกาศในปารีส รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของฝรั่งเศสระดมพันธมิตรนิวเคลียร์ในยุโรป ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมารัฐมนตรีของประเทศที่สนใจเรื่องนี้ได้เจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรอบนอกการประชุมของสหภาพยุโรป และตอนนี้มีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 15 ประเทศไปรวมตัวกันที่ปารีส ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชาคมร่วม
ในบรรดาประเทศเหล่านั้นมีอิตาลีรวมอยู่ด้วย ทั้งที่ความจริงแล้วอิตาลีได้บอกลาพลังงานนิวเคลียร์ไปนานแล้ว อันเป็นผลจากการลงประชามติในทศวรรษ 1980 ยามนี้รัฐมนตรีบางคนกำลังชงเรื่องให้อิตาลีหวนกลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง ซึ่งประเด็นนี้ยังคงสร้างความแตกแยกในชนชั้นนำทางการเมือง ทว่านับตั้งแต่ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว นักการเมืองประชานิยมฝ่ายขวาอย่าง มัตเตโอ ซัลวินี ก็กลับมาเปิดประเด็นเรื่องนิวเคลียร์อีกครั้ง
ฝรั่งเศส-ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 70 จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ-เป็นแกนนำ สหราชอาณาจักรเองก็กำลังมุ่งเน้นไปที่การขยายตัวของพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเยอรมนีที่เพิ่งปิดสวิตช์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เพิ่งมีทีท่าว่าจะนำมันกลับมาทบทวนใหม่ หรือประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกพลังงานลมและไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเดนมาร์ก ก็เริ่มมีการถกเถียงกันถึงเรื่องนิวเคลียร์ ในขณะที่ลักเซมเบิร์กและออสเตรีย เป็นสองประเทศพันธมิตรที่คัดค้านการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ในสภายุโรป
วันนี้พลังงานนิวเคลียร์กำลังถูกผลักดันเพื่อกลับเข้าสู่กระแสหลักของการอภิปรายด้านโยบายพลังงานของยุโรป แม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตไฟฟ้า แต่อุตสาหกรรมก็เป็นฝ่ายตั้งรับมาตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาเหตุของการกลับมานั้นเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นเป้าหมายของสหภาพยุโรปในปี 2030-2050 รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นมาในปี 2022
หากไม่มีพลังงานนิวเคลียร์ สหภาพยุโรปจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายปี 2030 ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิร้อยละ 55 และทำให้เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งใหม่ด้วยเช่นกัน
แถลงการณ์ร่วมในปารีสระบุถึงข้อกำหนดแผนการใหญ่ที่ยังคลุมเครือสำหรับอนาคตของพลังงานนิวเคลียร์ ภายในปี 2050 กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของสหภาพยุโรปอาจเพิ่มขึ้นเป็น 150 กิกะวัตต์ จาก 100 กิกะวัตต์ในปัจจุบัน แต่เพื่อให้เป็นไปตามเป้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างปลอดภัย จะต้องออกแบบสร้างเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่เพิ่มอีก 30-45 เครื่อง และเครื่องปฏิกรณ์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กจะต้องได้รับการพัฒนาในสหภาพยุโรป
ทุกวันนี้สหภาพยุโรปได้ลดสัดส่วนการนำเข้านั้น ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินจากรัสเซียอย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้องพึ่งพาแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อยู่ดี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉ 'หมอบุญ' เตรียมเผ่นจากจีนไปประเทศโซนยุโรป
ที่รัฐสภา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าหลังพาผู้เสียหาย 2 ราย เข้าพบพนักงา
ปฏิกิริยาที่หลากหลายในรัฐสภาสหภาพยุโรปต่อชัยชนะของ 'โดนัลด์ ทรัมป์'
ชัยชนะที่ชัดเจนของโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาผสมปนเปในรัฐสภายุโรป
ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?