'อิรัก' หนีจากปัญหาสุรา ไปเจอปัญหายาเสพติด

AFP

รัฐบาลอิรักเริ่มเข้มงวดกับการห้ามนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่ทางภาคใต้ของอิรัก ซึ่งกลุ่มชีอะห์หัวรุนแรงออกกฎห้ามมานานแล้ว ต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดอย่างหนัก

เป็นที่รู้กันดีว่าผู้ชายชาวอิรักชอบดื่มและดื่มหนัก ในอดีตก่อนที่ประเทศของพวกเขาจะสั่นคลอนจากสงครามและความขัดแย้งภายใน อิรักเคยได้ชื่อเป็นแดนสวรรค์สำหรับชาวอาหรับจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ในบ้านเมืองของตน ชาวอิรักหลายคนเชื่อว่าเหล้าที่สกัดจากอินทผาลัมของพวกเขาเป็นเหล้าที่ดีที่สุดในโลก อย่างไรก็ดี ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา นักปกครองที่เคร่งศาสนาอิสลามพยายามบังคับให้ชาวอิรักละ-เลิกดื่ม บางครั้งก็ใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการ อย่างเช่นการวางระเบิดหรือสั่งฆ่าผู้ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ถึงกระนั้นร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังมีอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ หากใครขับรถผ่านกรุงแบกแดดก็จะเห็นร้านค้าทั้งเล็กและใหญ่เกือบทุกแห่งมีป้ายโฆษณาของโรงกลั่นสก็อตวิสกี้ที่มีโลโก้รูปกวางหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้ออื่นๆ ผู้ชายอิรักชอบเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูง ผู้หญิงก็ดื่มเช่นกัน แต่น้อย และส่วนใหญ่มักดื่มในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว แต่ตอนนี้รัฐบาลอิรักต้องการจะหยุดพฤติกรรมการดื่มของประชาชนแล้ว เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมากลุ่มหัวรุนแรงชาวชีอะห์เพิ่งนำกฎหมายที่ซุกอยู่ในลิ้นชักตั้งแต่ปี 2016 มาปัดฝุ่น มันเป็นกฎหมายว่าด้วยการห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ผู้ฝ่าฝืนต้องเผชิญกับโทษหนัก เป็นค่าปรับสูงตั้งแต่ 240,000-650,000 บาท ส่วนการให้บริการในโรงแรมและร้านอาหารนั้นถูกสั่งห้ามมาเกือบสองทศวรรษแล้ว

ผลจากกฎหมายที่เข้มงวดทำให้เกิดการลักลอบซื้อขาย รวมถึงการลักลอบขนส่ง นำมาซึ่งปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ และผลที่ตามมาคือราคาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่า เมืองหลวงแบกแดดเริ่มมีพัฒนาการคล้ายคลึงกับเมืองทางภาคใต้ของอิรัก ที่ซึ่งผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นชีอะห์เคร่งศาสนา ออกกฎสั่งห้ามขายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มานานหลายปีแล้ว และเมื่อสุรากลายเป็นสินค้าผิดกฎหมาย อีกทั้งราคาสูง ผู้คนจำนวนมากจึงหันไปใช้ยาเสพติดเป็นการทดแทน ในภูมิภาคทางใต้มียาเสพติดเข้าไปแทนที่สุรานานแล้ว มันคือ เมทแอมเฟตามีน หรือที่เรียกกันว่า ‘คริสตัลเมธ’

คริสตัลเมธ สารเสพติดสังเคราะห์ส่วนใหญ่ผลิตกันในแล็บยาในอัฟกานิสถานและอิหร่าน เนื่องจากพรมแดนที่ติดกับอิหร่านเปิดให้ผู้แสวงบุญและพ่อค้าสัญจรผ่านเสรีตั้งแต่ซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นอำนาจในปี 2003 การนำยาเสพติดเข้าสู่อิรักจึงเป็นเรื่องง่าย เมืองท่าบาสรา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น ‘บาเบลแห่งบาป’ ของอิรัก ปัจจุบันกลายเป็นศูนย์กลางการค้ายาเสพติดที่สำคัญ แต่คริสตัลเมธก็มีการผลิตในโรงงานทางตอนใต้ของอิรักและในบางพื้นที่ของเมืองหลวงแบกแดดมานานแล้ว

คริสตัลเมธถือเป็นยาเสพติดอันตรายที่สุดประเภทหนึ่ง มันมีสารกระตุ้นและทำให้ผู้เสพมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ตามคำอธิบายของแพทย์ การใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการหลงผิดและประสาทหลอนได้ ผู้ติดยาสามารถกระทำการฆาตกรรมได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลย จากข้อมูลของสำนักงานด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันคริสตัลเมธเป็นยาเสพติดที่พบมากที่สุดในอิรัก กองกำลังความมั่นคงสามารถจับกุมผู้ค้ายาเสพติดได้แทบทุกวัน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นพวกปลาตัวเล็กๆ ที่ไปจบในห้องขังที่แออัด

ส่วนผู้ค้ารายใหญ่มักอยู่ในความคุ้มครองของกลุ่มติดอาวุธที่มีอำนาจและมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระดมกำลังทุกหน่วย ปูพรมตรวจค้น 183 จุด กวาดล้างอิทธิพล ยึดของกลางอื้อ

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. สั่งการ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธ์ุเพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ระดมกำลังตำรวจสอบสวนกลาง ,กองบัญชาการตำรวจนครบาล ,

นายกฯ ย้ำ 'ร้อยเอ็ดโมเดล' จังหวัดสีขาว กวาดล้างยาเสพติดเกลี้ยงในเดือนก.ย.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร)

'เศรษฐา' ดูต้นแบบแก้ยาเสพติด ตั้งเป้า 'น่าน' เป็นจังหวัดสีขาว คืนผู้เสพกลับสู่ครอบครัว

นายเศรษฐา​ ทวี​สิน​ นายก​รัฐมนตรี​ ศึกษาต้นแบบการบูรณาการจัดการปัญหายาเสพติดในพื้นที่ โดยนายกฯรับฟังการบรรยายสรุปจากเจ้าหน้าที่ และได้เข้าให้กำลังใจผู้เข้าบำบัดยาเสพติดที่วัดสุทธาราม

นายกฯ ประชุมออนไลน์ ติดตามผลกวาดล้างยาเสพติด ตกใจพบอาวุธหนักเพียบ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุมรับฟังการรายงานผลการระดมปิดล้อมตรวจค้นเครือข่ายยาเสพติดทั่วประเทศ ผ่านระบบทางไกล (Zoom Meeting) โดยมี พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เอากัญชากลับเป็นยาเสพติด เท่ากับปิดโอกาสใช้เพื่อสุขภาพ !

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นต่ออนาคตกัญชาไทย ที่มีความพยายามจากบางฝ่าย ในการให้กลับเป็นยาเสพติด ว่า