สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติเตือนว่า การค้าเมตแอมเฟตามีน หรือยาไอซ์ และยาเสพติดประเภทอื่นที่มีต้นกำเนิดจากสามเหลี่ยมทองคำ ไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลง และมีการขนส่งยาไอซ์ทางทะเลจากเมียนมาเพิ่มขึ้น
สำนักข่าวเอพีเผยรายงานเรื่อง “ยาสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ประจำปี 2566 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอดีซี) ที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 ระบุว่า เมตแอมเฟตามีนปริมาณมากยังคงผลิตและค้าในและจากภูมิภาคนี้ ในขณะที่การผลิตคีตามีนและยาสังเคราะห์อื่นๆ ขยายตัว
ส่วนแบ่งมากที่สุดของเมตแอมเฟตามีนในรูปของยาเม็ดและก้อนผลึกมาจากพื้นที่ที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นบริเวณที่พรมแดนของพม่า, ลาวและไทยมาบรรจบกัน
การผลิตฝิ่นและเฮโรอีนเคยเฟื่องฟูที่นั่น สาเหตุหลักมาจากการไร้กฎหมายรอบๆ รัฐฉานทางตะวันออกอันห่างไกลของเมียนมา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสามเหลี่ยมทองคำเป็นป่าและเป็นเขตยึดครองของกองกำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ซึ่งบางส่วนเป็นหุ้นส่วนในการค้ายาเสพติด
รายงานดังกล่าวระบุว่า เมตแอมเฟตามีนยังคงเป็นยาเสพติดที่ใช้มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้เมตแอมเฟตามีนง่ายกว่าที่จะผลิตในระดับอุตสาหกรรมมากกว่าการปลูกฝิ่นที่ต้องใช้แรงงานในการปลูกมาก ซึ่งฝิ่นนำไปใช้ผลิตเฮโรอีน จากนั้นยาเสพติดชนิดนี้จะกระจายไปทั้งทางบก ทางทะเลและทางอากาศทั่วทวีปเอเชียและแปซิฟิก
รายงานดังกล่าวระบุว่า มีการจับกุมเมตแอมเฟตามีน ซึ่งทำลายสถิติเกือบทุกปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่า ยาเสพติดทั้งหมดที่ยึดได้ลดลงในปี 2565 เหลือ 151 ตัน
รายงานระบุว่า ผู้ค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทยบริเวณสามเหลี่ยมทองคำได้เปลี่ยนเส้นทางการจัดส่งยาไอซ์จำนวนมากผ่านภาคกลางของเมียนมาในช่วงหลังของปี 2565 เพื่อหลีกเลี่ยงความพยายามขัดขวางของเจ้าหน้าที่จีนและไทย และพวกเขาเพิ่มการขนส่งยาไอซ์ทางทะเลจากภูมิภาคชายฝั่งของเมียนมา
เจเรมี ดักลาส ผู้แทนยูเอ็นโอดีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า กลุ่มอาชญากรข้ามชาติคาดการณ์ ปรับตัวและพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่รัฐบาลทำ ในปี 2565 เราเห็นพวกเขาดำเนินงานบริเวณชายแดนไทยบริเวณสามเหลี่ยมทองคำมากกว่าในอดีต
ผู้ค้ายาเสพติดยังคงส่งยาเสพติดจำนวนมากผ่านทางลาวและภาคเหนือของไทย แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาผลักดันยาเสพติดจำนวนมากผ่านภาคกลางของเมียนมาและขนส่งทางเรือในเส้นทางทะเลอันดามัน
ยูเอ็นโอดีซียังแสดงความกังวลว่า กัมพูชาได้กลายเป็นทางผ่านที่สำคัญของการลักลอบค้ายาเสพติดและแหล่งเป็นผลิตยาเสพติดระดับหนึ่งในภูมิภาคนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทลายเครือข่ายค้าไอซ์ข้ามชาติ ของกลาง 483 กก. จับ 2 ผู้ต้องหารับจ้างขนผักตลาดชื่อดัง
ป.ป.ส. ร่วมภาคี 3 เหล่าทัพ ทลายเครือข่ายค้าไอซ์ข้ามชาติ จับ 2 ผู้ต้องหา ชาย-หญิง พร้อมของกลางไอซ์ 483 กิโลกรัม พฤติการณ์ปกติรับจ้างขนผักผลไม้ตลาดใหญ่ชื่อดัง
จับล็อตใหญ่ริมน้ำโขง! ยาบ้าสูตรฟรุ้งฟริ้ง-ไอซ์ มูลค่ารวม 700 ล้านบาท
พล.ร.ต.ณรงค์ เอมดี ผบ.นรข. พ.อ.ปราโมทย์ เนียมสำเภา รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (รอง ผบ.กกล.ฯ) นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม น.อ.แมนรัตน์ บุญสวัสดิ์ ผู้บังคับการ นรข.เขตนครพนม (ผบ.นรข.เขตฯ)
บุกรวบ 2 พ่อค้ายาบ้า-ยาไอซ์ เปิดร้านขายใบกระท่อมบังหน้า
นายบรรพต จันทรวงษ์ นายอำเภอกระทุ่มแบน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ได้สั่งการให้นายณัฐพล บุญทวี ปลัดอาวุโส เรือตรีนิติพัฒน์ ซื่อดี ปลัดอำเภอร่วมมือกับ นายก้องเกียรติ มาลี กำนันตำบลสวนหลวง และนายวิทยา อัชชะ กำนันตำบลแคราย
รวบหนุ่มขนยาไอซ์ครึ่งกก. รอให้กินข้าวอิ่มก่อนบุกจับ
ภายใต้การอำนวยการของ นายสมบูรณ์ แผนสมบูรณ์ นายอำเภอเมืองกาญจนบุรี นำโดย ว่าที่ร้อยตรี ธนายุทธ พินิจมนตรี ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง นำสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) กองร้อยอาสารักษ
บุกรวบเครือข่ายยาเสพติด ยึดยาบ้าเกือบ 6 ล้านเม็ด ไอซ์อีกกว่า 365 กก.
ตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้การอำนวยการของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร รอง ผบ.ตร. /ผอ.ศอ.ปส.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. /รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดย พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย
ตร.สนธิกำลังฝ่ายปกครอง จับยาเสพติดรายใหญ่ ยึดไอซ์ได้ 1 ตัน
แถลงข่าวการจับกุมยาไอซ์ 1 ตัน พร้อมผู้ต้องหา ได้ที่บริเวณริมถนนซอยโยธาธิการ ข้าง รร.จปร. หมู่ที่ 1 ต.พรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างฝ่ายปกครอง และฝ่ายตำรวจ