หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติประกาศว่ากำลังผลักดันประเด็นการเปลี่ยนแปลงของหิมะภาคให้มีความสำคัญสูงสุดในระยะต่อไป โดยกล่าวว่าการละลายของทะเลน้ำแข็ง, ธารน้ำแข็ง และเพอร์มาฟรอสต์ ถือเป็นภัยคุกคามระดับโลก
ธารน้ำแข็งละลายในรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา (Photo by JOE RAEDLE / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำแข็งละลายต่อระดับน้ำทะเล, ภัยธรรมชาติ รวมทั้งระบบนิเวศและเศรษฐกิจ
หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติกล่าวที่ประชุมสมาชิกว่า "ปัญหาการละลายของพื้นที่โลกที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งหรือหิมะเป็นประเด็นที่น่ากังวล ไม่เพียงแต่สำหรับอาร์กติกและแอนตาร์กติกเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับโลกด้วย"
การประชุมในเจนีวาเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเพิ่มเงินทุนสำหรับการสังเกตการณ์และการคาดการณ์ที่ประสานกันมากขึ้น รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล, การวิจัย และการบริการที่ดีขึ้น
ประเทศที่อยู่ห่างไกลจากบริเวณขั้วโลก เช่น ในทะเลแคริบเบียนและแอฟริกา แสดงความกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงของหิมะภาคหรือ ไครโอสเฟียร์ (Cryosphere) จะส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบ
"ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณขั้วโลกและบริเวณภูเขาสูง ล้วนมีที่มาจากสิ่งอื่นที่อยู่ภายนอกพื้นที่เหล่านั้น ผู้คนกว่าพันล้านคนต้องพึ่งพาน้ำจากหิมะและธารน้ำแข็งที่ละลายซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญของโลก เมื่อธารน้ำแข็งเหล่านั้นถอยร่น คุณต้องคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความมั่นคงทางน้ำของผู้คนเหล่านั้น" แคลร์ นูลลิส โฆษกหญิงขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติกล่าว
นอกเหนือจากการดำเนินการตามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศปารีสปี 2558 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติยังกล่าวอีกว่า ทุกพื้นที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบที่ดีขึ้นเพื่อติดตามขนาดและความเร็วของการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการจัดการทรัพยากรน้ำ
การละลายของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาคิดเป็นประมาณ 50% ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเร่งตัวขึ้น และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบมากขึ้นต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็กๆ และพื้นที่ชายฝั่งที่มีประชากรหนาแน่น
ทั้งนี้ น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกาลดลงเหลือ 1.92 ล้านตารางกิโลเมตรในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2534-2563 เกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตร
ในขณะเดียวกัน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) ในอาร์กติกถือเป็น "ยักษ์ผู้หลับใหล" ของปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากมันกักเก็บคาร์บอนได้มากเป็นสองเท่าของบรรยากาศในทุกวันนี้ ตามรายงายของหน่วยงานฯ
การประชุมขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นวาระประชุมทุก 4 ปีของรัฐสมาชิก เพื่อกำหนดทิศทางและลำดับความสำคัญของหน่วยงานสหประชาชาติในอีก 4 ปีข้างหน้า
ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการริเริ่มการเฝ้าระวังก๊าซเรือนกระจกโลกระยะใหม่ เพื่อเติมเต็มช่องว่างข้อมูลที่สำคัญและจัดทำกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับการสังเกตการณ์ตามอวกาศและพื้นผิวโลก
"ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอันที่จริงแล้วสูงกว่าครั้งใดๆ ในช่วง 800,000 ปีที่ผ่านมา" หน่วยงานฯ ระบุ
ประเทศสมาชิกกำลังหารือเกี่ยวกับแผนการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศจะได้รับการคุ้มครองโดยระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยาภายใน 5 ปี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
สภาพภูมิอากาศวิกฤตหนัก ‘ซีเค พาวเวอร์’ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างฤดูหนาวที่รัฐแคชเมียร์ประเทศอินเดียปีนี้อุณหภูมิสูงขึ้นราว 6-8 °C ทำให้ต้องเผชิญฤดูหนาวที่ไม่มีหิมะซึ่ง
'ปชน.' ชงข้อเสนอรัฐบาล ประชุมโลกร้อน 'COP29' เร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
'ปชน.' ชงข้อเสนอ รัฐบาล ในการประชุมโลกร้อน 'COP29' แนะเร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ให้เป็นรูปธรรม-ดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดขึ้นภายในครึ่งปีหน้า
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
บีทีเอส กรุ๊ปฯ มุ่งมั่นลดก๊าซเรือนกระจกได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ CALO ประจำปี 2567
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส กรุ๊ปฯ โดย ดร.นลินรัตน์ มาสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน