เมียนมา-ตอลิบันโวย ยูเอ็นยังไม่ยอมรับทูตแต่งตั้งใหม่

รัฐบาลทหารเมียนมาและรัฐบาลตอลิบันอัฟกานิสถานวิจารณ์การตัดสินใจของสหประชาชาติ ที่ยังไม่ยอมรับเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติที่เสนอชื่อไป โดยยังให้ทูตคนเก่าทำหน้าที่ต่อไป

แฟ้มภาพ ผู้ประท้วงชูสามนิ้วพร้อมถือภาพของจอ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ที่ชูสามนิ้วระหว่างประชุมสมัชชายูเอ็น ขณะชุมนุมประท้วงที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2564 (Getty Images)

เอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ว่าคณะกรรมการพิจารณาอักษรสาส์นตราตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และมีมติเลื่อนการตัดสินใจรับรองเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติของเมียนมาและอัฟกานิสถาน เนื่องจากมีการอ้างสิทธิ์ของคู่ขัดแย้ง

การเลื่อนรับรองของคณะกรรมการทำให้เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติคนเดิมของทั้งสองชาติยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าเมียนมาจะเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และอัฟกานิสถานจะอยู่ภายใต้การปกครองของตอลิบันมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวกับเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การตัดสินใจของคณะกรรมการยูเอ็นไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นจริงในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในเมียนมา เราจะยื่นเรื่องนี้กับยูเอ็นต่อไปตามขั้นตอนทางการทูต และสิทธิในการเป็นตัวแทนตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายท้องถิ่น

จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลของนางอองซาน ซูจี หลังเกิดรัฐประหารในเมียนมาไม่นาน เขาก่อวีรกรรมเป็นข่าวครึกโครมเมื่อชูสามนิ้วในที่ประชุมสหประชาชาติ โดยท้าทายคำกล่าวคำยืนกรานของรัฐบาลทหารที่อ้างว่าเขาไม่ได้เป็นตัวแทนของเมียนมาอีกต่อไป

อัยการสหรัฐเคยเปิดเผยเมื่อเดือนสิงหาคมว่าได้ตั้งข้อหาพลเมืองเมียนมา 2 คน ฐานวางแผนทำร้ายทูตผู้นี้ รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง และประกาศแต่งตั้งอ่อง ทูเรน อดีตนายทหาร เป็นทูตเมียนมาคนใหม่

กรณีของอัฟกานิสถาน เมื่อเดือนกันยายน ตอลิบันเสนอให้ยูเอ็นรับรองซูฮาอิล ชาฮีน อดีตโฆษกของตอลิบันที่นครโดฮา เป็นเอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำสหประชาชาติ แทนกูห์ลัม ไอแซคไซ อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีอัชราฟ กานี

ชาฮีนโพสต์ลงทวิตเตอร์ วิจารณ์ยูเอ็นว่าตัดสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของชาวอัฟกานิสถาน เขากล่าวกับเอเอฟพีด้วยว่า ตอลิบันได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอัฟกานิสถาน และสามารถปกป้องประเทศ, ประชาชน และพรมแดนทั้งหมด

ปัจจุบันไอแซคไซยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอัฟกานิสถานในสำนักงานใหญ่ของยูเอ็น และเมื่อเร็วๆ นี้เขายังได้เข้าประชุมคณะมนตรีความมั่นคงและให้ความเห็นวิจารณ์ตอลิบัน

นักการทูต 2 คนเผยกับเอเอฟพีว่า คณะกรรมการพิจารณาอักษรสาส์นตราตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้ รวมถึงตัวแทนจากจีน, รัสเซียและสหรัฐ ตามกำหนดแล้วคณะกรรมการจะต้องยื่นรายงานต่อที่ประชุมสมัชชายูเอ็นในสัปดาห์หน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตำรวจไซเบอร์' เปิดปฏิบัติการ! ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ตั้งฐานเชียงใหม่

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท.

'อิ๊งค์' รับ 'ทักษิณ' คุยชนกลุ่มน้อย เพราะอยากช่วยประเทศไทย

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นักโทษที่อยู่ระหว่างการพักโทษ ได้

ไทยเป็นยูเครน 2! 'ไพศาล' ปูดทหารรับจ้างตะวันตก ช่วยชนกลุ่มน้อยรบพม่า เกาหลีเหนือ-อิหร่าน ผสมโรง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ หวั่นไทยเป็น #ยูเครน 2 มีรายละเอียดดังนี้ พบทหารรับจ้างตะวันตกเข้าไ

สุณัย เปิดร่างเอกสาร ‘ทักษิณ’ ขอชนกลุ่มน้อยเมียนมาเป็นตัวกลางไกลเกลี่ยขัดแย้ง

ดูกันชัดๆ! เปิดร่างเอกสารที่ ทักษิณ ขอให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร เมียนมา แต่งตั้งตัวเองเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง