จนถึงตอนนี้เราคิดว่าพระจันทร์มีเพียงดวงเดียวที่โคจรรอบโลกของเรา แต่ความจริงแล้วพระจันทร์ยังมีเพื่อน แม้ว่าจะในระยะเวลาที่จำกัด
ปกติเวลามองฟ้าเรามักเห็นดวงจันทร์ และในคืนฟ้าแจ่มเราอาจมองเห็นดวงดาวด้วย แต่นั่นก็แค่ดวงจันทร์หนึ่งดวง กับดาวอีกไม่กี่ดวงบนท้องฟ้า นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เฝ้าสังเกตวัตถุอีกชิ้นหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้โลกมาเป็นเวลาหลายปี พวกเขาตั้งชื่อวัตถุนั้นว่า ‘Kamo’oalewa’ เป็นศัพท์ภาษาฮาวายที่ใช้เรียกวัตถุบนท้องฟ้า
อย่างไรก็ตาม Kamo’oalewa มีขนาดเล็กเกินกว่าจะเป็นดวงจันทร์จริง ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เมตรเท่านั้น อีกทั้งมันยังไม่ได้โคจรรอบโลกโดยตรง แต่โคจรระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในลักษณะคล้ายเกลียวไขจุกไวน์ เนื่องจากมันถูกดึงกลับไปกลับมาระหว่างแรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้วว่า วัตถุนี้เกี่ยวข้องกับอะไร มันไม่ได้มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์น้อยเช่นที่มักพบเจอใกล้โลก
ดาวเคราะห์น้อยมักจะเรืองแสงสว่างเมื่อฉายด้วยแสงอินฟราเรด แต่ Kamo’oalewa ยังคงมืดอยู่ สิ่งนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบของมันได้ยาก เบนจามิน ชาร์กีย์-นักวิทยาศาสตร์จาก Lunar and Planetary Laboratory ในทูซอนรายงานว่า มันส่องแสงจางมาก จึงทำให้สังเกตมันได้ยาก แต่ท้ายที่สุดแล้วเขาและทีมงานก็เกิดไอเดีย
พวกเขาทำการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางวัตถุของจันทร์ดวงน้อยลึกลับ กับจันทร์ดวงจริง จากนั้นไขปริศนาได้ว่า Kamo’oalewa น่าจะเป็นชิ้นส่วนของดวงจันทร์ ที่อาจหลุดออกระหว่างการชนของดาวเคราะห์น้อย และโคจรอยู่เพียงลำพังตั้งแต่นั้นมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า มันจะโคจรเคียงข้างไปกับดวงจันทร์ของเราไปอีกราว 300 ปี หลังจากนั้นแรงดึงดูดของโลกและดวงอาทิตย์จะไม่สามารถยึดเหนี่ยวมันไว้ได้อีกต่อไป
และมันจะหลุดออกจากวงโคจร ลอยเคว้งคว้างไปในอวกาศตามทางของมันอย่างโดดเดี่ยว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน- ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน' ดินดวงจันทร์ การค้นพบช่วงเวลาที่ขาดหายไป
ปัจจุบันมีหลายประเทศให้ความสนใจกับการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะการสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งประเทศมหาอำนาจต่างก็กำลังวางแผนไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวม
'จุฬาราชมนตรี' ประกาศ 12 มี.ค. วันแรกเดือนรอมฎอน เริ่มต้นถือศีลอด
นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ออกประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่องกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 โดยมีใจความว่า
สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ
มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี
เปิด 3 เหตุผล ต้องชม 'จันทรุปราคาเต็มดวง' สีแดงอิฐ ในวันลอยกระทง
เพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย 3 เหตุผลที่ต้องชม "จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย” ในวันที่ 8 พ.ย. 65 ดังนี้
เผยที่มา ความหมาย 'วันศารทวิษุวัต' เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 ก.ย.นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 23 กันยายนนี้ เป็น "วันศารทวิษุวัต" เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน