'ลิสบอน' ปลายทางร่วมของยูเครนและรัสเซีย

AFP

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ลิสบอนเคยเป็นสถานที่หลบภัยและเมืองแห่งความหวังของผู้ลี้ภัย ปัจจุบันชาวยูเครนและรัสเซียยังคงนั่งอยู่ร่วมกัน เพียงแต่วันนี้พวกเขาไม่คิดอยากเดินทางไปต่อที่สหรัฐอเมริกาแล้ว

เมื่อครั้งที่ทวีปยุโรปถูกไฟสงครามลามเลีย ผู้คนนับหมื่นพากันหลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวงลิสบอนของโปรตุเกส ทั้งชาวยิว นักคิด นักเขียน รวมถึงชาวยิวที่เป็นนักคิดนักเขียน และผู้คนที่พอมีทุนทรัพย์แต่จำเป็นต้องละทิ้งถิ่นฐานเนื่องจากถูกห้ามประกอบอาชีพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต พวกเขามารวมตัวกันที่นี่ เมืองที่เชื่อมโยงกับส่วนที่เหลือของยุโรปด้วยเส้นทางรถไฟ

ลิสบอนในยุคทศวรรษ 1930 เคยเป็นเพียงเมืองชนบทเล็กๆ มีประชากรอยู่ราว 600,000 คน จู่ๆ ผู้ลี้ภัยจำนวนมากพากันมาพักพิง สุมตัวกันอยู่ตามคาเฟ่ จากเมืองเล็กๆ เริ่มขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยความหวัง และภาษาแปลกปลอม คนท้องถิ่นอ้าแขนต้อนรับผู้ลี้ภัยอย่างดี เหมือนเช่นทุกวันนี้ที่ยินดีต้อนรับคนแปลกหน้าหรือคนจากแดนไกล ลิสบอนคือ เอลโดราโดของคนทุกเชื้อชาติ แผ่กระจายไปทั่วทั้ง 53 เขตของเมือง และตามจัตุรัสต่างๆ

โปรตุเกสประกาศตัวเป็นกลางเมื่อตอนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเหตุผลเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างฝ่ายอักษะและพันธมิตรเก่าที่มีอังกฤษ ซึ่งข้อตกลงทางทหารรับรองว่า ผู้ลี้ภัยจะได้รับอนุญาตให้ผ่านแดนไปยังประเทศที่สามได้ แต่อย่างไรก็ตามโปรตุเกสจะยินยอมให้ใครก็ตามเข้าประเทศได้ก็ต่อเมื่อคนนั้นแสดงวีซ่าสำหรับประเทศปลายทางแล้วเท่านั้น ส่วนวีซ่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยื่นขอไม่ที่สเปนก็ฝรั่งเศส และส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่าจะได้กันครบจำนวนคน

หลังจากฝรั่งเศสถูกนาซีเยอรมันยึดครอง และสเปนตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มฟาสซิสต์ โปรตุเกส-ประเทศชายฝั่งแอตแลนติกจึงกลายเป็นท่าเรือเสรีสุดท้าย ที่เป็นความหวังสำหรับผู้ลี้ภัยในการเดินทางไปอเมริกา ผู้ลี้ภัยจับกลุ่มกันตามร้านกาแฟในลิสบอน บริเวณด้านหน้าสำนักงานบริษัทเดินเรือ รอคอยเพื่อจะซื้อตั๋วโดยสารให้ได้ “ลิสบอนกลายเป็นทดสอบความอดทน” นักเขียนชาวเยอรมันเคยเขียนบันทึก “วีซ่ายังไม่ได้ เงินก็ใกล้หมด สำหรับใครที่ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนักท่องเที่ยวได้ ชาวโปรตุเกสได้เตรียมทัณฑสถานไว้พร้อมแล้ว รัฐบาลขอให้ทุกคนออกจากโปรตุเกสภายใน 30 วัน หลังจากนั้นแล้วจะมีการติดตาม จับกุม ใบหน้าและบทสนทนาที่สิ้นหวังก่อตัวให้เห็นในคาเฟ่”

ทุกวันนี้ผู้ลี้ภัยหวนกลับมาที่เมืองนี้อีกแล้ว-เช่นกัน พวกเขาเดินทางมาจากรัสเซีย จากยูเครน และจับกลุ่มสุมตัวกันอยู่ตามคาเฟ่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและชื่อเสียงในอดีต ไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง หรือคู่รัก บางคนก็มาพร้อมกับรถยนต์ส่วนตัวที่ติดป้ายทะเบียนยูเครนหรือรัสเซีย พวกเขามาที่เมืองนี้ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันคือ ลี้ภัยจากสงคราม และการมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความหวัง

จะแตกต่างจากเหตุการณ์ในอดีตอยู่บ้างตรงที่…เบื้องหลังเส้นขอบฟ้าไกลตาคืออเมริกา ซึ่งไม่มีใครอยากไปที่นั่นอีกต่อไปแล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรนัลโด' เดินหน้าสร้างอีกหนึ่งสถิติ กลายเป็นนักเตะคว้าชัยกับทีมชาติมากสุด

คริสเตียโน โรนัลโด กัปตันทีมชาติโปรตุเกส ขึ้นแทนเป็นนักเตะที่เก็บชัยชนะกับทีมชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังพาทีม "ฝอยทอง" เปิดบ้านชนะไล่ถล่ม โปแลนด์ 5-1 ในศึกยูฟ่า เนชันส์ ลีก เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ปลื้ม ‘UN’ ชม แจก ‘สัญชาติ’ ยันไม่มี ‘สีเทา’

รัฐบาลปลื้มยูเอ็น ยกย่องไทยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โฆษกรัฐบาลยัน กลุ่มคนสีเทา หรือแรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้สัญชาติไทย เผยเหตุให้รวดเดียว 4.8 แสนคน

ปภส.ร้องศาล! ยกเลิกมติครม. แจก ‘สัญชาติ’

“จิรายุ” ยันพวก “สีเทา” ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่ หลัง ครม.มีมติแจกสัญชาติ 4.8 แสนราย “โรม” ยกมือหนุนนโยบาย พร้อมรับให้ก่อนสอบทีหลังหากพบเป็นพวกทุนเทา

'จิรายุ' ยัน พวก 'สีเทา-อาชญากรข้ามชาติ ' ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่

'จิรายุ' ยัน พวก 'สีเทา' ไม่มีโอกาสขอใช้สัญชาติไทยแน่ หลัง สมช. ขอ ครม. เห็นชอบให้เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ไทยมานานกว่า 30-40ปี