อกาธา คริสตี (1890-1976) นับเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก เธอมีผลงานนวนิยายแนวอาชญากรรมจำนวนมาก แต่นวนิยายหลายเรื่องของเธอมีหลายประโยคที่ดูเชยๆ และบางครั้งก็สะท้อนการดูหมิ่นเหยียดหยาม ตอนนี้สำนักพิมพ์ต้องการจะปรับสำนวนภาษาของเธอเสียใหม่
ไม่นานมานี้เพิ่งมีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนว่า หนังสือเด็ก ‘Charlie and the Chocolate Factory’ (ชื่อเล่มภาษาไทย: โรงงานช็อกโกแลตมหัศจรรย์, สำนักพิมพ์ผีเสื้อ) ของโรอัลด์ ดาห์ล ควรได้รับการแก้ไขเพื่อผู้อ่านวัยเยาว์ยุคปัจจุบันหรือไม่ เพื่อลบล้างหรือลดทอนคำและถ้อยความที่ตอนนี้ถูกมองว่ารุนแรงหรือก้าวร้าวเกินไป ส่วนใหญ่เกี่ยวกับคำซึ่งแสดงการเหยียดผิว การด้อยค่าดูแคลน และการพรรณนาถึงความรุนแรง แต่ทว่าสำนักพิมพ์ควร หรือได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงวรรณกรรมคลาสสิกหรือไม่ นี่ยังคงเป็นคำถามที่ดูเหมือนจะไม่มีคำตอบที่น่าเชื่อถือได้
ตอนนี้การถกเถียงที่คล้ายกันกำลังปะทุขึ้นอีกครั้งกับผลงานของอกาธา คริสตี-ราชินีแห่งอาชญากรรม นักเขียนอังกฤษมีผลงานนวนิยายตีพิมพ์จำนวน 66 เล่มตลอดช่วงชีวิตของเธอ และเป็นผู้ชุบชีวิตนักสืบชื่อดังอย่าง มิสมาร์เปิล และเฮอร์คูล ปัวโรต์ เธอเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากที่สุดมานานหลายทศวรรษ หนังสือของเธอได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 100 ภาษา และหลายเล่มได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ จะว่าเธอเป็นนักเขียนเหยียดเชื้อชาติ-สีผิวคงไม่ได้ เพราะเธอใช้ชีวิตและเขียนหนังสือในช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนมากมีมุมมองต่อโลกแปลกปลอมภายนอกแตกต่างจากผู้คนในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้เธอมักจะใช้ตัวละครคลิเช คร่ำครึ และจมอยู่กับอคติในยุคสมัยของเธอ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หนังสือของคริสตีถูกปรับเปลี่ยนภาษา ด้วยเหตุผลของ “ความถูกต้องทางการเมือง” นวนิยายระทึกขวัญแนวจิตวิทยา ‘Ten Little Niggers‘ ซึ่งมีชื่อมาจากเพลงกล่องเด็กโบราณ และเป็นคำปกติทั่วไปในปี 1939 แต่กลับกลายเป็นชื่อน่ารังเกียจสำหรับผู้อ่านในอีกไม่กี่ปีต่อมา เมื่อตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาปี 1940 จึงมีการเปลี่ยนชื่อปกเป็น ‘And Then There Were None’ ซึ่งเป็นห้าคำสุดท้ายของบทเพลง
ตอนนี้สำนักพิมพ์ Harper Collins ได้จ้าง ‘บรรณาธิการพิเศษ’ สำหรับตรวจสอบนวนิยายอาชญากรรมของอกาธา คริสตีโดยเฉพาะ เพื่อหาและแก้ไขถ้อยความที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน รวมทั้งให้ความสำคัญกับความคร่ำครึของแหล่งกำเนิดและเพศด้วย
คำศัพท์เช่น “ชาวพื้นเมือง” หรือ “ชาวตะวันออก” คำอธิบายแบบสมัยก่อนเกี่ยวกับชาวยิว อินเดียนแดง หรือคนผิวดำ จะต้องถูกปรับเปลี่ยน เพื่อไปใช้ในเวอร์ชันใหม่ที่จะตีพิมพ์ในอนาคต.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักเขียนบทละครไทย ชี้ภาวะวงการละครไทยอยู่ขั้นวิกฤต วอนภาครัฐเร่งสนับสนุน
นักเขียนบทละครไทย ร่วมมือกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นัด 6-9 พ.ย.นี้เปิดวที Workshop Camp “เล่นเล่าเรื่อง” ให้คนรุ่นใหม่ได้สร้างคอนเทนต์ด้วยศาสตร์การละคร เข้าสังคมได้ ก้าวไปสู่นักเล่าเรื่องที่มีคุณภาพของไทย
'เมย์ อรวรรณ' นักเขียนนิยาย BL ไทยคนแรกที่มีงานแฟนไซน์ในญี่ปุ่น!
ถึงวันนี้คงไม่มีแฟนนิยายวายคนไหนที่จะไม่รู้จัก "คุณเมย์-อรวรรณ วิชญวรรณกุล" นักเขียนดังที่ใช้นามปากกาว่า "MAME" รวมถึงเป็นผู้บริหารและผู้จัดซีรีส์ของ บริษัท มี มายด์ วาย จำกัด ที่ประสบความสำเร็จกับบทบาทนักเขียนนิยายวาย Boy Love (BL) อย่างมาก จนเป็นที่รู้จักในหลายประเทศ
'Be On Cloud' โพสต์ 'บิว จักรพันธ์' จ่อแถลงปมร้อนพรุ่งนี้แม้คู่กรณีขอยกเลิก
หลังจากที่นักเขียนสาว ปอย-พรรธน์ชญมน ธีวสุเจริญ ได้ออกจดหมายถึงค่าย Be On Cloud ต้นสังกัดของ บิว-จักรพันธ์ พุทธา นักแสดงจากซีรีส์วายชื่อดัง "KinnPorsche The Series La Forte รักโคตรร้าย สุดท้ายโคตรรัก" เพื่อขอยกเลิกการแถลงข่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะกลัวส่งผลต่อรูปคดี
'ฌอห์ณ' ขึ้นแท่นผู้กำกับครั้งแรก กับโปรเจกต์สารคดีกึ่งการเดินทาง
ถือเป็นนักแสดงคุณภาพที่มีผลงานมาอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักแสดง หรือ นักเขียน แต่ล่าสุดในครั้งนี้ ฌอห์ณ จินดาโชติ ขอลุยงานเบื้องหลังแบบเต็มตัว เผยบทบาทใหม่ในฐานะผู้กำกับ พร้อมทั้งเปิดโปรเจกต์ “The Journal List (เข็มทิศ/ หัวใจ/ จุดหมาย/ ผู้คน)” สารคดีกึ่งการเดินทาง 6 เส้นทาง 6 บุคคล ซึ่งรวมกับทีมงานนักเขียนจากทีม Apollo และกลุ่มคนชอบเล่าภาพอย่าง Mad Mood Production
'นักเขียนซีไรต์' เผยเหตุผลจำเป็นต้อง 'เป็นสลิ่มต่อไป'
วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่าเป็นสลิ่มต่อไป...