เดี๋ยวรักเดี๋ยวชังในสัมพันธภาพระหว่าง 'รัสเซีย' และ 'จีน'

AFP

ในช่วงสงครามเย็น ทั้งสองประเทศเคยยืนหยัดต่อสู้ที่เส้นพรมแดนเดียวกัน ก่อนจะหมางเมินกัน จนมาถึงตอนนี้รัสเซียและจีนได้กลายเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในการเมืองโลกไปแล้ว แม้จะเป็นเรื่องไม่ถูกตาต้องใจชาติตะวันตกก็ตาม เรามาย้อนดูอดีตความสัมพันธ์ที่ทั้งหวานและขมของทั้งสองประเทศนี้กัน

1950 : เปิดฉากสัมพันธไมตรี

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จีนและสหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและพันธมิตรร่วมกันในปี 1950 ในช่วงสงครามเกาหลีระหว่างปี 1950-1953 กองกำลังของจีนร่วมรบเคียงข้างฝ่ายเหนือที่โซเวียตหนุนหลัง เพื่อต่อสู้กับฝ่ายใต้ที่สหรัฐฯ หนุนหลัง

1956 : ความไม่ลงรอยกัน

ภายหลังการเสียชีวิตของโจเฟซ สตาลิน-ผู้นำโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ-ผู้สืบทอดตำแหน่งไม่ได้เดินตามรอยผู้นำคนเก่า จึงนำมาซึ่งความไม่ลงรอยกันระหว่างสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐจีน ภายใต้การปกครองของ เหมาเจ๋อตุง ความแตกแยกทางอุดมการณ์และยุทธศาสตร์เริ่มส่อความรุนแรงขึ้นในเดือนเมษายน 1960 เมื่อครุสชอฟถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ระดับทวิภาคี หลังจากเหตุการณ์ที่ชายแดนและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา พรรคคอมมิวนิสต์ (KP) ของทั้งสองประเทศก็ยุติการติดต่อทั้งหมดในปี 1963

1969 : ความขัดแย้งที่พรมแดน

ในเดือนพฤศจิกายนปี 1965 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มรณรงค์ภายในขบวนการคอมมิวนิสต์สากลเพื่อต่อต้าน “ลัทธิใหม่” ของครุสชอฟ ในปี 1969 ข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนจีน-รัสเซียตะวันออกตามแนวแม่น้ำอามูร์เริ่มลุกลามบานปลายไปสู่การปะทะด้วยอาวุธที่คร่าชีวิตทั้งสองฝ่ายไปหลายร้อยคน ปี 1979 รัฐบาลปักกิ่งประกาศยกเลิกสัญญามิตรภาพ หลังจากการรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต การเจรจาเพื่อปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติถูกระงับไปในปี 1980

1989 : ลมรักหวน

หลังจากไม่ลงรอยกันมานาน 30 ปี การประชุมสุดยอดระหว่างประมุขแห่งรัฐในกรุงปักกิ่งเดือนพฤษภาคม 1989 เติ้งเสี่ยวผิง และมิคาอิล กอร์บาชอฟได้ผนึกความสัมพันธ์ทวิภาคีสู่ระดับปกติอีกครั้ง ทั้งสองประเทศให้คำมั่นในปี 1992 ว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมือง-การทหารที่มุ่งร้ายหรือต่อต้านอีกฝ่าย ในเดือนกันยายน 1994 ทั้งสองประเทศยุติการเผชิญหน้าทางนิวเคลียร์และตกลงที่จะถอนขีปนาวุธ

1996 : พันธมิตรร่วมต้านสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดี เจียงเจ๋อหมิน ของจีน และประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ของรัสเซีย ร่วมข้อตกลงเรื่อง “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์สำหรับศตวรรษที่ 21” เพื่อต่อต้านการครอบงำระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

2001 : สนธิสัญญามิตรภาพครั้งใหม่

ปี 2001 หลังจากผ่านพ้นไป 5 ทศวรรษ ทั้งสองประเทศได้ตกลงทำสนธิสัญญามิตรภาพอีกครั้ง โดยมีประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และเจียงเจ๋อหมิน ประมุขแห่งรัฐและพรรคของจีน ร่วมลงนามและสวมกอดกันอย่างอบอุ่น ปี 2005 มีการตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนด้านตะวันออกของรัสเซีย สีจิ้นผิง-ประธานาธิบดีคนใหม่ของจีน เดินทางไปเยือนต่างประเทศครั้งแรกที่กรุงมอสโกในปี 2013 พร้อมปิดดีลข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซประมาณ 30 ฉบับ

2011 : เคียงคู่ยืนหยัดเพื่อซีเรีย

หลังจากสงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มขึ้นในปี 2011 รัสเซียและจีนได้ขัดขวางร่างมติหลายฉบับในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ประณาม บาสชาร์ อัล-อัสซาด-ผู้นำซีเรีย และเมื่อรัสเซียผนวกคาบสมุทรไครเมียในดินแดนของยูเครนในปี 2014 จีนประกาศตัวเป็นกลาง

2014 : ความร่วมมือในภาคพลังงาน

ผ่านการเจรจากันมานาน 10 ปี ในที่สุดจีนและรัสเซียได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาก๊าซมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 30 ปี มีการร่วมลงทุนสร้างท่อส่งก๊าซจากไซบีเรียตะวันออกไปยังจีนซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2019

2022 : สงครามในยูเครน

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ผู้นำรัสเซียและจีนยืนยันอีกครั้งถึง “มิตรภาพอันไร้พรมแดน” ไม่กี่วันถัดจากนั้นรัสเซียก็เคลื่อนกองกำลังเข้ายูเครน การโจมตีของรัสเซียไม่ได้ถูกประณามหรือให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผยจากรัฐบาลปักกิ่ง แต่ผู้นำจีนกำลังผลักดันให้มีการเจรจาหาทางออก ในเดือนกันยายน 2022 เพื่อนบ้านทั้งสองประกาศว่าต้องการขยายความสัมพันธ์ ล่าสุดจึงมีภาพของสีจิ้นผิงเดินทางไปพบวลาดิมีร์ ปูตินที่กรุงมอสโกปรากฏออกมา.

AFP

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตำรวจไซเบอร์' เปิดปฏิบัติการ! ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ตั้งฐานเชียงใหม่

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท.

'ผบ.ทบ.' เยือนจีน กระชับสัมพันธ์ทหาร เยี่ยมชมบริษัทผลิตรถถัง

'ผบ.ทบ.' เยือนจีน กระชับสัมพันธ์ทางทหาร สานต่อฝึก 'สไตร์ค' ของหน่วยทหารรบพิเศษ เพิ่มฝึก Cyber Security พร้อมเยี่ยมชมบริษัทโนรินโก้ ผู้ผลิต 'รถถัง- รถเกราะ' ที่กองทัพใช้งาน

'อิชิอิ' รับผิด 'ช้างศึก' ชวดเก็บชัยเหนือ 'จีน' มองเกมต่อไปชนะ 'สิงคโปร์' ให้ได้

มาซาทาดะ อิชิอิ หัวหน้าผู้ฝึกสอน ทีมชาติไทย ให้สัมภาษณ์ หลังการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่มซี นัดที่ 5 สำหรับ เกมดังกล่าว ทีมชาติไทย บุกไปเสมอกับ จีน 1-1 ทำให้มีเพิ่มเป็น 5 คะแนน หลังผ่าน 5 เกม

'ช้างศึก' รอดตายท้ายเกมบุกเจ๊า 'จีน' 1-1 ต่อชะตาลุ้นเข้ารอบคัดบอลโลกเกมหน้า

ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา "ช้างศึก" ทีมชาติไทย ลงสนามเกมสำคัญ เป็นนัดที่ 5 ในรอบแบ่งกลุ่ม ยกพลไปเยือน "มังกรแดง" ทีมชาติจีน ที่ เซินหยาง โอลิมปิก สปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ สเตเดียม

'ช้างศึก' ลงซ้อมมื้อแรกที่จีน 'ศุภนันท์' ตั้งเป้าเก็บชัยเหนือคู่แข่งให้ได้

วันที่ 2 มิถุนายน 2567 เวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ณ สนาม Shenyang Urban Construction University ฟุตบอลชายทีมชาติไทย ลงทำการฝึกซ้อมครั้งแรกที่ประเทศจีน เพื่อเตรียมทำศึก ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่มซี แมตช์เดย์ ที่ 5 พบกับ ทีมชาติจีน