แผ่นดินไหวรุนแรงในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ทำผู้คนตกใจและไม่ยอมกลับเข้าบ้าน

เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในช่วงสั้นๆ กระทบอัฟกานิสถานและปากีสถาน มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเล็กน้อย ขณะที่ประชาชนไม่กล้ากลับเข้าอาคารและที่พักเพราะหวาดกลัว

ผู้คนรวมตัวกันนอกห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง หลังเกิดแผ่นดินไหวในกรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม (Photo by Aamir QURESHI / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 กล่าวว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงนานอย่างน้อย 30 วินาทีทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และบางส่วนของอินเดียเมื่อคืนวันอังคาร โดยสำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) ระบุขนาดไว้ที่ 6.5 แม็กนิจูด

ยูเอสจีเอสระบุว่า แผ่นดินไหวมีศูนย์กลางใกล้กับเขตเจอร์ม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน และมีระดับความลึก 187 กิโลเมตร

ภูมิภาคนี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาฮินดูกูช ซึ่งอยู่ใกล้กับรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย-อินเดีย

ชาฟิอุลเลาะห์ ราฮิมี โฆษกกระทรวงการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติของอัฟกานิสถาน บอกกับเอเอฟพีว่า มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ในจังหวัดลากห์มาน

แรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้ไกลถึงปากีสถาน ทำให้ผู้คนต่างตื่นตระหนกหนีออกจากบ้านเมื่อแผ่นดินเริ่มสั่นไหว

นายกรัฐมนตรีเชห์บาซ ชารีฟ ของปากีสถาน สั่งการให้หน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากมีอาฟเตอร์ช็อก

มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอย่างน้อย 180 คนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในจังหวัดไคเบอร์ปัคตูนควา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

ในอัฟกานิสถาน เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้น หลายครอบครัวกำลังเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวเปอร์เซียอยู่นอกบ้าน ขณะที่หลายครอบครัวพักผ่อนอยู่ในบ้าน แรงสั่นสะเทือนทำให้ผู้คนวิ่งหนีออกจากบ้านและตึกมารวมตัวกันบนท้องถนน และอาจต้องใช้เวลาช่วงกลางคืนอยู่กลางแจ้งเพราะไม่กล้ากลับไปในอาคาร

ล่าสุด ทางการอัฟกานิสถานยังไม่ตอบสนองต่อข้อมูลและการช่วยเหลือใดๆให้กับบรรดาผู้ประสบภัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นีลา อิบราฮิมิ' นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานได้รับรางวัล Children‘s Peace Prize

นีลา อิบราฮิมิ นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานวัย 17 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานของเธอในการต่อต้านการกดขี่สตรีโดย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 อากาศแปรปรวน 19-21 ต.ค. เปิดพื้นที่ฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 - 21 ตุลาคม 2567)

'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า