การนำเข้าอาวุธในยุโรปเมื่อปี 2022 มีสถิติเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ยูเครน ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ท่ามกลางสงคราม กลับไม่ใช่ประเทศนำเข้าอาวุธติดอันดับหนึ่งของโลก
‘Sipri’ สถาบันวิจัยสันติภาพในสต็อกโฮล์ม เปิดเผยรายงานฐานข้อมูลค่าใช้จ่ายทางทหารประจำปี 2022 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่ามีการนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าราว 93 เปอร์เซ็นต์ และได้จัดอันดับประเทศที่มีการนำเข้าอาวุธทั่วโลก ปรากฏว่าเมื่อปี 2022 กาตาร์ และอินเดียมีการนำเข้าอาวุธมากที่สุดตามลำดับ ส่วนยูเครนรั้งอันดับสาม ส่วนในประเทศยุโรปอื่นๆ เช่น โปแลนด์ นอร์เวย์ ก็มีการใช้จ่ายทางทหารและการนำเข้าอาวุธเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ตามรายงานของ Sipri การนำเข้าอาวุธในยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาวุธนำเข้าส่วนใหญ่ถูกส่งมอบให้แก่ยูเครน ประกอบด้วยปืนใหญ่ของสหรัฐฯ 230 ชิ้น รถหุ้มเกราะ 280 คันจากโปแลนด์ ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง 7,000 ชุดจากอังกฤษ รวมถึงสินค้าอาวุธที่ผลิตใหม่ เช่น ระบบป้องกันภัยทางอากาศ 9 ชุด
แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะคำนวณมูลค่ารวมของอาวุธที่มีการซื้อขาย เนื่องจากสัญญาซื้อขายอาวุธมักไม่โปร่งใส แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า การค้าอาวุธทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์ งบใช้จ่ายทางทหารของยุโรปที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มที่เกิดขึ้นมาหลายปี เนื่องจากประเทศในยุโรปเริ่มติดอาวุธใหม่กันอีกครั้งหลังจากรัสเซียผนวกดินแดนไครเมียเมื่อปี 2014 จากข้อมูลของ Sipri พบว่าการนำเข้าอาวุธของยุโรปเพิ่มขึ้น 47 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายอาวุธทั่วโลกกลับมีสัดส่วนลดลง 5 เปอร์เซ็นต์
อาวุธส่วนใหญ่ที่ถูกส่งไปยังตะวันออกกลลาง คิดเป็น 32 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้าทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว เอเชีย/โอเชียเนียมาเป็นอันดับสองที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยยุโรป 27 เปอร์เซ็นต์ ตามรายงานของ Sipri กล่าวถึงจีนว่าใช้งบทางทหารมากไม่แพ้กัน แต่ปัจจุบันจีนก็สามารถผลิตอาวุธเองได้ด้วย
ส่วนผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2022 คือ สหรัฐอเมริกา ด้วยสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกอาวุธทั้งหมด รองลงมาคือ รัสเซีย ที่ 16 เปอร์เซ็นต์, ฝรั่งเศส 11 เปอร์เซ็นต์, จีน 5 เปอร์เซ็นต์ และเยอรมนี 4 เปอร์เซ็นต์
…
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัสเซียถล่มยูเครน ไม่เว้นแม้วันคริสต์มาส
รัสเซียยังโจมตียูเครนทางอากาศครั้งใหญ่แม้ในวันคริสต์มาส เมื่อเช้าวันพุธ โอเลคซานเดอร์ โปรคูดิน-ผู้ว่าการแคว้นเคอร์ซอน ทางตอนใต้ของยูเค
ประธานาธิบดีปูตินขู่เอาคืนยูเครน หลังเหตุโจมตีในคาซาน
หลังจากโดรนโจมตีเมืองคาซาน ทางตอนกลางของรัสเซีย ประธานาธิบดีปูตินขู่จะตอบโต้ ในเบื้องต้นยูเครนยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีดั
ยูเครน ไม่ต้องการให้รัสเซียส่งผ่านก๊าซไปยังยุโรปอีกต่อไป
สัญญาระหว่างเคียฟและมอสโกที่ควบคุมการขนส่งก๊าซของรัสเซียผ่านยูเครนไปยังยุโรปจะสิ้นสุดในสิ้นปีนี้ มอสโกประกาศ
ยูเครนกล่าวหาว่าทหารรัสเซียปล้นทรัพย์สินในพื้นที่เคิร์สค์ที่ถูกยึด
ทหารยูเครนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในเคิร์สค์แล้ว และกองทัพรัสเซียยังไม่สามารถตอบโต้การโจมตีในพื้นที่ดังกล่าวได้ ขณะนี้มีวิดีโอ
นายกฯ ฮังการีดอดเยือนยูเครนเข้าพบ ‘เซเลนสกี’
ประมุขแห่งรัฐฮังการีไม่เคยมีท่าทีเข้าข้างยูเครนมาแต่ไหนแต่ไร วิกตอร์ ออร์บันแทบไม่เคยคิดให้ความช่วยเหลือ หรือถ้ามีก็น้อย