ชาวญี่ปุ่นร่วมรำลึกครบรอบ 12 ปี เหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

ประชาชนชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศร่วมยืนสงบนิ่งเพื่อระลึกถึงเหตุภัยพิบัติฟุกุชิมะเนื่องในวันครบรอบ 12 ปี ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพิ่มขึ้น

ชาวญี่ปุ่นร่วมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในวันครบรอบ 12 ปีของเหตุแผ่นดินไหว, สึนามิ และภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2554 บริเวณย่านช้อปปิ้งกินซ่า กลางกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม (Photo by STR / JIJI PRESS / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 กล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศร่วมยืนสงบนิ่ง 1 นาที ในเวลา 14.46 น. ตามเวลาท้องถิ่น (12.46 น. ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ซึ่งรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ของโลก และแรงสั่นสะเทือนได้ทำลายล้างพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อ 12 ปีก่อน

แผ่นดินไหวที่เกิดใต้ทะเลทำให้เกิดสึนามิครั้งใหญ่ นำมาซึ่งการเสียชีวิตและสูญหายของผู้คนประมาณ 18,500 คน รวมทั้งน้ำท่วมใหญ่ถล่มโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จนระบบระบายความร้อนพังเสียหาย กลายเป็นหายนะนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์เชอร์โนบิล

ไม่มีการระบุผู้เสียชีวิตโดยตรงจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ซึ่งหลังจากนั้นมีประชาชนประมาณ 165,000 คนย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่ภัยพิบัติไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือภายใต้คำสั่งอพยพ

แม้ในภายหลังพื้นที่ส่วนใหญ่รอบโรงไฟฟ้าได้รับการประกาศความปลอดภัยหลังจากดำเนินการกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างเต็มรูปแบบ แต่ผู้อยู่อาศัยเดิมจำนวนมากเลือกที่จะไม่กลับไปอีก

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดของญี่ปุ่นหยุดทำงานหลังจากเกิดภัยพิบัติ และส่วนใหญ่ยังคงใช้งานไม่ได้ในปัจจุบัน

แต่วิกฤตพลังงานทั่วโลกที่จุดประกายจากสงครามในยูเครน และญี่ปุ่นกำลังเผชิญวิกฤติด้านพลังงานที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในประเทศ กระตุ้นให้รัฐบาลหวนกลับมาเร่งการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์อีกครั้ง พร้อมพิจารณาสร้างเครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ขณะที่ผลสำรวจชี้ว่าความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์กำลังเอนเอียงไปในทิศทางเห็นด้วยกับรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกร้องให้หน่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นทำการตรวจสอบและอนุมัติให้เครื่องปฏิกรณ์ 7 เครื่องกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง พร้อมแนะนำให้ประเทศต่างๆ พิจารณาสร้างเครื่องปฏิกรณ์ "รุ่นต่อไป" ที่มีกลไกด้านความปลอดภัยแบบใหม่

การสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดยหนังสือพิมพ์รายใหญ่ อาซาฮี ชิมบุนและโยมิอูริ ชิมบุน แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการรีสตาร์ทเครื่องปฏิกรณ์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2554

"รัฐบาลจะยังคงเป็นหัวหอกในการรื้อถอนโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิอย่างปลอดภัยและมั่นคง ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟู และถือเป็นความรับผิดชอบของเราในการส่งเสริมความพยายามในการสร้างประเทศที่ปลอดภัยพิบัติ" คิชิดะกล่าวในพิธีไว้อาลัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA

'วี  ธนาศิวณัฐ' แชมป์'ฮอนด้า วัน เมค เรซ2024' คว้ารองชนะเลิศที่ญี่ปุ่น

“ฮอนด้า วันเมคเรซ 2024” โดย บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) หลังปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ดวลสนามสุดท้ายที่ สงขลา สตรีท เซอร์กิต  ซึ่งแชมป์คนล่าสุด “วี” ธนาศิวณัฐ พงสินนัชอาชัญ นักขับฟอร์มแรงจาก PT Autobacs X Mugen Thailand ที่สร้างผลงานระดับมาสเตอร์เหมาชัยชนะไปครั้งทั้ง 2 เรซ ผงาดแชมป์ประจำปีโอเวอร์ออลล์ พร้อมคว้ารางวัลในโปรเจ็กต์พิเศษ แลกเปลี่ยนนักแข่งทั้งสองประเทศ ได้สิทธิ์ร่วมทีม M&K Racing จากประเทศญี่ปุ่นลุยศึก ซูเปอร์ ไทคิว 2024 สนามสุดท้ายที่ สนามฟูจิ สปีดเวย์ 

'สับปะรดห้วยมุ่น' ขึ้นทะเบียน GI ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรไทย

“คารม“ เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น”  เป็นสินค้ารายการที่ 3 ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ยกระดับตลาดสินค้าเกษตร