ฟิลิปปินส์เรียกร้องชดเชยผู้รอดชีวิตจากทาสกามในสงครามโลกครั้งที่ 2

ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงฟิลิปปินส์ที่ถูกญี่ปุ่นบังคับให้ทำงานเป็นทาสบำเรอกามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายค่าชดเชย หลังคณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติอนุมัติหลักการที่ว่ารัฐบาลควรรับผิดชอบ

แฟ้มภาพ กลุ่มหญิงฟิลิปปินส์สูงอายุรวมตัวชุมนุมหน้าสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงมะนิลา พร้อมประกาศว่าพวกเธอตกเป็นทาสทางเพศของทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หญิงบำเรอ" พร้อมเรียกร้องเงินชดเชยและคำขอโทษจากรัฐบาลญี่ปุ่น (Photo by NOEL CELIS/ AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 กล่าวว่า ตามรายงานของนักประวัติศาสตร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้หญิงมากถึง 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเกาหลีและพื้นที่อื่นๆ ของเอเชีย รวมทั้งฟิลิปปินส์ ถูกบังคับให้ทำงานในซ่องโสเภณีของทหารญี่ปุ่น

เมื่อวันพุธ คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติพบว่า ชาวฟิลิปปินส์ผู้รอดชีวิตจากการตกเป็นทาสกามในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลมะนิลาล้มเหลวในการเยียวยา, การสนับสนุนทางสังคม และการชดใช้ความเสียหายทางกายและใจที่พวกเขาได้รับ

ผู้หญิง 24 คนจากกลุ่มมาลายา โลลาส (กลุ่มตายายอิสระ) ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสหประชาชาติในปี 2562 โดยอ้างว่าฟิลิปปินส์ไม่ได้สนับสนุนการเรียกร้องค่าชดเชยจากญี่ปุ่น

คณะกรรมการฯพบว่า ผู้หญิงเหล่านั้นไม่ได้รับสวัสดิการหรือรัฐบริการเช่นเดียวกับทหารผ่านศึกชาย จึงได้ทำการเรียกร้องรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ชดใช้ค่าเสียหายอย่างเต็มที่ รวมทั้งคำขอโทษอย่างเป็นทางการ

บรรดาผู้หญิงฟิลิปปินส์ที่ตกเป็นทาสทางเพศในช่วงปี 2485-2488 ที่ญี่ปุ่นยึดครองประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ เชื่อว่ามีจำนวนหลายร้อยคน

"บทสรุปของคณะกรรมการสหประชาชาติแม้ว่าจะไม่มีผลผูกพันทางกฏหมาย แต่ก็สำคัญมาก" ตามคำกล่าวของโจเอล บูตูยาน ประธานศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศในกรุงมะนิลาซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงฟิลิปปินส์ที่ตกเป็นเหยื่อ

"เราไม่สามารถบังคับรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ปฏิบัติตามได้ แต่เราจะไปที่สำนักงานที่เกี่ยวข้องและแสดงให้พวกเขาเห็นว่าอย่างน้อยนี่ก็เป็นข้อผูกมัดทางศีลธรรมที่ควรปฏิบัติ" บูตูยัน กล่าวกับเอเอฟพีเมื่อวันศุกร์

ปัจจุบัน มีผู้ร้องเรียนชาวฟิลิปปินส์ยังมีชีวิตอยู่เพียง 20 คน จากทั้งหมด 24 คน

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา หัวหน้ารัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอคำขอโทษและเงินชดเชยแก่เหยื่อมาโดยตลอดผ่านทางภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐบาล

ก่อนหน้าการเยือนกรุงโตเกียวของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคง กระทรวงต่างประเทศของฟิลิปปินส์กล่าวว่า การเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับสงครามทั้งหมดได้สิ้นสุดไปหมดแล้วตั้งแต่ประเทศบรรลุข้อตกลงการชดใช้ค่าเสียหายกับญี่ปุ่นในปี 2499

ทั้งนี้ ภายหลังสงครามสิ้นสุด ประเทศต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับฟิลิปปินส์แล้วถือเป็นหนึ่งในนักลงทุน, คู่ค้า และผู้บริจาคเงินช่วยเหลือรายสำคัญมาตลอด.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 กล่าวว่า ตามรายงานของนักประวัติศาสตร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้หญิงมากถึง 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเกาหลีและพื้นที่อื่นๆ ของเอเชีย รวมทั้งฟิลิปปินส์ ถูกบังคับให้ทำงานในซ่องโสเภณีของทหารญี่ปุ่น

เมื่อวันพุธ คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติพบว่า ชาวฟิลิปปินส์ผู้รอดชีวิตจากการตกเป็นทาสกามในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลมะนิลาล้มเหลวในการเยียวยา, การสนับสนุนทางสังคม และการชดใช้ความเสียหายทางกายและใจที่พวกเขาได้รับ

ผู้หญิง 24 คนจากกลุ่มมาลายา โลลาส (กลุ่มตายายอิสระ) ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสหประชาชาติในปี 2562 โดยอ้างว่าฟิลิปปินส์ไม่ได้สนับสนุนการเรียกร้องค่าชดเชยจากญี่ปุ่น

คณะกรรมการฯพบว่า ผู้หญิงเหล่านั้นไม่ได้รับสวัสดิการหรือรัฐบริการเช่นเดียวกับทหารผ่านศึกชาย จึงได้ทำการเรียกร้องรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ชดใช้ค่าเสียหายอย่างเต็มที่ รวมทั้งคำขอโทษอย่างเป็นทางการ

บรรดาผู้หญิงฟิลิปปินส์ที่ตกเป็นทาสทางเพศในช่วงปี 2485-2488 ที่ญี่ปุ่นยึดครองประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ เชื่อว่ามีจำนวนหลายร้อยคน

"บทสรุปของคณะกรรมการสหประชาชาติแม้ว่าจะไม่มีผลผูกพันทางกฏหมาย แต่ก็สำคัญมาก" ตามคำกล่าวของโจเอล บูตูยาน ประธานศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศในกรุงมะนิลาซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงฟิลิปปินส์ที่ตกเป็นเหยื่อ

"เราไม่สามารถบังคับรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ปฏิบัติตามได้ แต่เราจะไปที่สำนักงานที่เกี่ยวข้องและแสดงให้พวกเขาเห็นว่าอย่างน้อยนี่ก็เป็นข้อผูกมัดทางศีลธรรมที่ควรปฏิบัติ" บูตูยัน กล่าวกับเอเอฟพีเมื่อวันศุกร์

ปัจจุบัน มีผู้ร้องเรียนชาวฟิลิปปินส์ยังมีชีวิตอยู่เพียง 20 คน จากทั้งหมด 24 คน

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา หัวหน้ารัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอคำขอโทษและเงินชดเชยแก่เหยื่อมาโดยตลอดผ่านทางภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐบาล

ก่อนหน้าการเยือนกรุงโตเกียวของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคง กระทรวงต่างประเทศของฟิลิปปินส์กล่าวว่า การเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับสงครามทั้งหมดได้สิ้นสุดไปหมดแล้วตั้งแต่ประเทศบรรลุข้อตกลงการชดใช้ค่าเสียหายกับญี่ปุ่นในปี 2499

ทั้งนี้ ภายหลังสงครามสิ้นสุด ประเทศต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับฟิลิปปินส์แล้วถือเป็นหนึ่งในนักลงทุน, คู่ค้า และผู้บริจาคเงินช่วยเหลือรายสำคัญมาตลอด.

เพิ่มเพื่อน