ทายนิสัยจากอาหารการกินของ 'โจ-จิลล์ ไบเดน'

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และภริยาชื่นชอบเมนู “รีกาโตนี” (เส้นพาสตา) ยามนี้มีการถกกันอย่างออกรสในวอชิงตัน เกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารของ โจ และจิลล์ ไบเดน ซึ่งมีประเด็น ‘fear of missing out’ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า Fomo = กลัวตกกระแส) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

นับเป็นแผนลวงที่แนบเนียน – 24 ชั่วโมงก่อนที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะเดินทางไปเยือนกรุงเคียฟอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เขาและภริยาได้รับประทานอาหารค่ำร่วมกันที่ร้านอาหาร Red Hen ในกรุงวอชิงตัน ร้านดังกล่าวเป็นร้านอาหารอิตาลีติดเรตฮิป แต่ไม่ถึงขั้นหรูเลิศ เสิร์ฟสลัดชิกโครี ขนมปังและเนย ปิดท้ายด้วยรีกาโตนี เหมือนๆ กันให้กับผู้นำและภริยา

หนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าวนี้ และได้จุดประกายให้เกิดการถกกันในสื่อโซเชียล ประเด็นของเรื่องไม่ใช่แผนลวงที่ประสบความสำเร็จ หากแต่เป็นเรื่องของอาหารที่คู่สามี-ภรรยาประธานาธิบดีเลือกรับประทานเหมือนกัน

สถานการณ์ของคนสองคนเวลาไปรับประทานอาหารร่วมกันเป็นที่คุ้นกันดี การเลือกเมนูอาหารในร้านเป็นศิลปะที่ต้องใช้ทักษะในการเจรจาต่อรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคนสองคนนั้นเพิ่งรู้จักกันไม่นาน ตัวอย่างเช่น ถ้าทั้งสองคนเลือกเมนูปลากับมันฝรั่งบด พวกเขาก็จะไม่รู้ว่าไก่อบข้าวโพดกับข้าวรีซอตโตมีรสชาติอย่างไรจนกว่าจะกลับไปที่ร้านเดิมอีกครั้ง ดังนั้นถ้าทั้งสองคนสั่งอาหารเมนูเดียวกัน พวกเขาก็จะหมดโอกาสที่จะได้ลิ้มรสเมนูอื่นๆ แต่ถ้าต่างคนต่างเลือกคนละเมนู การแบ่งปันกันก็เป็นอีกปัญหา เพราะการกินอาหารจากจานของคนอื่นเป็นเรื่องความชอบ-ไม่ชอบส่วนตัวของแต่ละคน

การเลือกเมนูอย่างเป็นเอกฉันท์ของโจ และจิลล์ ไบเดน นำไปสู่ประเด็นถกเถียงกันเรื่อง ‘กลัวตกกระแส’ เพราะในฐานะที่เป็นคู่สามี-ภรรยา หลายคนมีความเห็นว่า ทั้งสองน่าจะเลือกเมนูที่ต่างกัน อย่างน้อยพวกเขาก็สามารถลิ้มลองอาหารอย่างอื่นได้ด้วย นอกจากเมนูที่ตนเองเลือก

ไอย์เลต ฟิชบาค และเคทลิน วูลลีย์ เคยทำวิจัยหัวข้อการทดลองทางพฤติกรรม โดยมีผู้เข้าร่วม 200 คน ถูกแบ่งออกเป็นคู่ย่อย 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับตอร์ตีญาชิปหนึ่งชาม และมีซอสมะเขือเทศอีกชามวางอยู่ตรงกลางโต๊ะ ส่วนอีกกลุ่มได้รับตอร์ตีญาชิปหนึ่งชาม และซอสสำหรับตัวเอง จากนั้นเกมก็เริ่มขึ้น โดยที่ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งในกลุ่มรับบทบาทเป็นพนักงาน จับคู่กับอีกคนที่รับบทบาทเป็นผู้จัดการ หลังจากกินอาหารว่างที่ตรงหน้าก็เริ่มมีการต่อรองกันเรื่องค่าจ้าง

คู่ที่อยู่ในกลุ่มซึ่งต้องแบ่งชิปและซอสกัน ใช้เวลาในการต่อรองเฉลี่ย 8.7 รอบก่อนจะตกลงเรื่องค่าจ้างกันได้ ส่วนคู่ที่อยู่ในกลุ่มซึ่งมีชิปและซอสเป็นของตัวเองกลับใช้เวลาในการต่อรองเฉลี่ยนานกว่า นั่นคือ 13.2 รอบ จนได้ข้อสรุปว่า การรับประทานอาหารร่วมกันและแบ่งปันกันนั้นจะสร้างความไว้วางใจได้มากกว่า แต่ในงานวิจัยนี้ยังได้ข้อสังเกตด้วยว่า 3 ใน 4 ของผู้ทดสอบปรารถนาจะรับประทานอาหารจากชามของตนเองมากกว่าที่จะแบ่งปันกับคนอื่น สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมการทดลองว่า พวกเขาสามารถให้ความร่วมมือได้เล็กน้อยโดยไม่ต้องแบ่งปันทุกอย่างในทันที

โจ และจิลล์ ไบเดนแต่งงานอยู่กินกันมา 45 ปี บุคคลทั้งสองไม่จำเป็นต้องมีมาตรการ “สร้างความไว้วางใจ” อีกต่อไป พวกเขาเลือกเมนูรีกาโตนี กับไส้กรอกยี่หร่าและเพโคริโน ซึ่งเป็นเมนูยอดนิยมที่มีสถิติการสั่ง 50-70 ครั้งต่อวันของร้าน Red Hen ก็พอแล้ว

อีกอย่าง ก่อนการเดินทางอย่างลึกลับซับซ้อนของประธานาธิบดีวัย 80 ปีไปยังยูเครน สองสามี-ภรรยาไบเดนอาจจะมีเรื่องอื่นในใจมากกว่าจะมาเจรจากันถึงเรื่องเมนูแน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จักรภพ'ตีปี๊บ22 ม.ค.2568 วันที่LGBTQ+ ต้องจารึก

'จักรภพ' ชี้ 22 มค.68 เป็นวันประวัติศาสตร์โลก เมื่อประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก จวก 'ทรัมป์' ประกาศต่อต้าน LGBTQ+ เอาใจคนกลุ่มเดียว เชื่อ แค่เห่าดังแต่ไม่กัดจริง

กรีนแลนด์ ยืนหยัดคัดค้าน 'โดนัลด์ ทรัมป์'

ว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ประกาศย้ำอีกครั้งว่า เขาต้องการควบคุมกรีนแลนด์ แต่ผู้นำรัฐบาลของเกาะมีปฏิกิริยาตอบโต้เรื่องนี้ด้วยคำพูดที่ชัดเ

'นายกฯอิ๊งค์' ยกไอแพดคุย 'ทรัมป์' แสดงความยินดีชนะเลือกตั้ง ยันไทยพร้อมทำงานกับสหรัฐฯ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ นายโดนัลด์ เจ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิ