ประธานาธิบดีบราซิลเยือนสหรัฐฯ โดยโจ ไบเดนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมหารือประเด็นการพิทักษ์ประชาธิปไตยของ 2 ทวีป และการทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับวิกฤตสภาพอากาศ
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ (ขวา) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา และโรซานเจลา ดา ซิลวา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของบราซิล ที่ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ (Photo by ANDREW CABALLERO-REYNOLDS / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล เยือนทำเนียบขาวอย่างเป็นทางการ โดยมีประธานาธิบดีโจ ไบเดน ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆในทำเนียบ
สองผู้นำจากสองประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีป (อเมริกาเหนือและใต้) ใช้โอกาสนี้หารือร่วมกันในหลายประเด็น
การพูดคุยกันในห้องทำงานรูปไข่ของไบเดนและลูลา เต็มไปด้วยบรรยากาศของความเห็นอกเห็นใจ เนื่องจากทั้งสองผู้นำต่างประสบชะตาแบบเดียวกันหลังได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
ไบเดนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและถูกอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จัดการป่วนและยุยงให้ผู้สนับสนุนทำการบุกรัฐสภาสหรัฐฯ คล้ายคลึงกับลูลาที่ชนะการเลือกตั้งและถูกอดีตประธานาธิบดีชาอีร์ โบลโซนาโร กำกับผู้สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงในการบุกรัฐสภาบราซิล
"ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งของทั้งสองประเทศได้รับชัยชนะแล้ว ทั้งในสหรัฐอเมริกาและบราซิล" ไบเดนกล่าวกับลูลา ก่อนที่ผู้นำบราซิลจะตอบว่า "และจะต้องไม่มีการโจมตีของม็อบที่ต่อต้านประชาธิปไตยเกิดขึ้นอีก"
นอกจากนี้ ไบเดนและลูลาเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการกอบกู้ป่าแอมะซอนและต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นความพยายามที่อดีตประธานาธิบดีก่อนหน้าพวกเขา ไม่เคยให้ความใส่ใจ
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่สองผู้นำยังไม่ลงรอยกัน คือสงครามในยูเครน
ไบเดนเป็นหัวหอกของพันธมิตรชาติตะวันตกในการสนับสนุนยูเครน โดยให้ความช่วยเหลือทั้งงบประมาณ, อาวุธ, การฝึกทหาร และการสนับสนุนทางการทูต เพื่อหยุดยั้งปฏิบัติการรุกรานของรัสเซีย
แต่ประเทศประชาธิปไตยขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยเฉพาะอินเดีย, แอฟริกาใต้ และบราซิล ส่วนใหญ่ยังคงไม่สนับสนุนการเข้าไปยุ่งเกี่ยว, ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน, ปฏิเสธให้ความร่วมมือคว่ำบาตรรัสเซีย และยังคงดำเนินนโยบายระหว่างประเทศตามปกติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โจ ไบเดน เลื่อนการเดินทางเยือนเยอรมนี เหตุเพราะพายุเฮอร์ริเคน ‘มิลตัน’
เดิมทีมีแผนจะหารือเกี่ยวกับยูเครนและตะวันออกกลาง ทว่าพายุเฮอร์ริเคนเข้ามาขวางทางเสียก่อน เป็นเหตุให้ประธ