อินโดนีเซียเตือนชาติมหาอำนาจอย่าใช้อาเซียนเป็น 'ตัวแทน'

อินโดนีเซียเตือนประเทศมหาอำนาจว่าอย่าใช้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 'ตัวแทน' ในการพิพาทกันเอง

บรรยากาศการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ (Photo by BAY ISMOYO / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ 2566 (AMM Retreat 2023) และการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 (32nd ACC Meeting) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ณ กรุงจาการ์ตา

ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจา 2 วันระหว่างบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าวในการพูดคุยก่อนการประชุมเมื่อวันศุกร์ว่า "อาเซียนไม่ควรเป็นตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ซึ่งเป็นประโยคเดิมที่เขาเคยกล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้ว พร้อมขอชาติสมาชิกให้มีเอกภาพและร่วมมือให้เกิดความคืบหน้าในวิกฤตเมียนมา

ทั้งนี้ ข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนบางส่วนมีท่าทีต่อต้านรัฐบาลจีนและเพิ่มความเห็นอกเห็นใจไปทางมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯที่คัดค้านท่าทีของจีน ขณะที่ชาติสมาชิกอื่นๆ แสดงการสนับสนุนมหาอำนาจเอเชียอย่างจีน

ส่วนวิกฤตในเมียนมาที่ปกครองโดยทหารและเต็มไปด้วยความไม่สงบตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจในปี 2564 กระบวนการแก้ไขยังไม่เป็นไปตามมติอาเซียนที่กดดันเมียนมาด้วย 'ฉันทามติ 5 ประการ' ซึ่งรัฐบาลทหารไม่ให้ความร่วมมือ แม้เมียนมายังคงเป็นชาติสมาชิกอาเซียน แต่ก็ถูกกีดกันจากการประชุมสุดยอดหลายครั้งจากเหตุดังกล่าว.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ 2566 (AMM Retreat 2023) และการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 (32nd ACC Meeting) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ณ กรุงจาการ์ตา

ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจา 2 วันระหว่างบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าวในการพูดคุยก่อนการประชุมเมื่อวันศุกร์ว่า "อาเซียนไม่ควรเป็นตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ซึ่งเป็นประโยคเดิมที่เขาเคยกล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้ว พร้อมขอชาติสมาชิกให้มีเอกภาพและร่วมมือให้เกิดความคืบหน้าในวิกฤตเมียนมา

ทั้งนี้ ข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนบางส่วนมีท่าทีต่อต้านรัฐบาลจีนและเพิ่มความเห็นอกเห็นใจไปทางมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯที่คัดค้านท่าทีของจีน ขณะที่ชาติสมาชิกอื่นๆ แสดงการสนับสนุนมหาอำนาจเอเชียอย่างจีน

ส่วนวิกฤตในเมียนมาที่ปกครองโดยทหารและเต็มไปด้วยความไม่สงบตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจในปี 2564 กระบวนการแก้ไขยังไม่เป็นไปตามมติอาเซียนที่กดดันเมียนมาด้วย 'ฉันทามติ 5 ประการ' ซึ่งรัฐบาลทหารไม่ให้ความร่วมมือ แม้เมียนมายังคงเป็นชาติสมาชิกอาเซียน แต่ก็ถูกกีดกันจากการประชุมสุดยอดหลายครั้งจากเหตุดังกล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งงหนักมาก! ตั้ง ’ทักษิณ‘ เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน เพื่อสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้

สืบเนื่องจากกรณี นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแต่งตั้งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในตำแหน่งประธานอาเซียน ที่นา

'อิชิอิ'มั่นใจลูกทีมพร้อม ดวลสิงคโปร์ศึกอาเซียน มุ่งเก็บ3แต้มเพื่อเข้ารอบ

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ณ ห้องแถลงข่าวสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ ระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติสิงคโปร์

'สุภโชค'อ้อนแฟนบอล เชียร์ช้างศึกเต็มราชมังฯ เชื่อแข้งไทยรับแรงกดดันในอาเซียนได้

สุภโชค สารชาติ แนวรุกทีมชาติไทย จากสโมสร ฮอกไกโด คอนซาโดเล่ ซัปโปโร ในเจลีก เชื่อมั่นว่าเพื่อนร่วมทีมจะรับมือกับความกดดันในอาเซียน คัพ ได้อย่างแน่นอน แม้จะมีนักเตะหน้าใหม่หลายคนก็ตาม

นายกฯ'อุ๊งอิ๊ง'ยืนยัน หนุนจัดซีเกมส์-พาราฯเต็มที่ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศด้วย

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม