องค์การอนามัยโลกแสดงความเป็นห่วงว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในยุโรปยังไม่คลี่คลาย และหากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มเป็น 2.2 ล้านคนภายในฤดูหนาว
เอเอฟพีกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เผยแพร่รายงานเมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ว่าอาจมีผู้ป่วยโควิด-19 ในยุโรปเสียชีวิตเพิ่มอีก 700,000 คนภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นทั่วยุโรป ซึ่งทำให้บางประเทศต้องกลับไปใช้ข้อกำหนดที่เข้มงวดอีกครั้ง
ดับเบิลยูเอชโอคาดว่า แผนกผู้ป่วยหนัก (ไอซียู) ใน 49 จาก 53 ประเทศ จะประสบกับความตึงเครียดระดับสูงหรือสูงสุด ตั้งแต่ช่วงเวลานี้จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2565 และทำนายว่าจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมจะสูงกว่า 2.2 ล้านคนภายในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า จากจำนวนสะสม 1.5 ล้านคนในเวลานี้
รายงานของดับเบิลยูเอชโอกล่าวว่า การแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในยุโรปเป็นผลจากแรงขับดันที่ผสมผสานกันทั้งจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แพร่เชื้อง่าย, การฉีดวัคซีนที่ยังไม่ครอบคลุมมากพอ และการผ่อนคลายมาตรการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่างทางสังคม
ข้อมูลชี้ว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิดในยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็นเกือบวันละ 4,200 คน เพิ่มเท่าตัวจากวันละ 2,100 คนเมื่อสิ้นเดือนกันยายน
ฮันส์ คลูจ ผู้อำนวยการอนามัยโลกประจำยุโรป กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทั่วยุโรปและเอเชียกลางร้ายแรงมาก เรามีฤดูหนาวที่ท้าทายรออยู่ข้างหน้า
เขาเรียกร้องให้มีมาตรการ "วัคซีนบวก" ที่ประกอบด้วยการฉีดวัคซีน บวกกับการเว้นระยะห่างทางสังคม, การสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ
ดับเบิลยูเอชโอกล่าวว่า ผลการศึกษาเร็วๆ นี้ชี้ว่า การสวมหน้ากากอนามัยลดอุบัติการณ์ของโควิดได้ 53% และหากการสวมหน้ากากอนามัยสามารถครอบคลุมได้ถึง 95% จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้มากกว่า 160,000 ราย (ภายในวันที่ 1 มีนาคมปีหน้า).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้