นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ได้เลือกบอริส พิสโตริอุส ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ โดยให้เขารับผิดชอบในการควบคุมกองทัพผ่านยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
บอริส พิสโตริอุส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ของเยอรมนี (Photo by Britta Pedersen / POOL / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ได้แต่งตั้งให้บอริส พิสโตริอุส เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนีคนใหม่ แทนที่คริสติน แลมเบรชต์ ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันจันทร์
บอริส พิสโตริอุส วัย 62 ปี เป็นนักการเมืองจากพรรคโซเชียลเดโมแครต (เอสพีดี) ของโอลาฟ ชอลซ์ และดำรงตำแหน่งฝ่ายปกครองของรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี
การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวเรือด้านความมั่นคงของประเทศในครั้งนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายการเมืองและสาธารณชนเป็นอย่างมาก เพราะพิสโตริอุส ไม่ใช่นักการเมืองที่มีชื่อเสียงหรือเคยรับผิดชอบกิจการใหญ่ๆของประเทศมาก่อน ถือเป็นม้านอกสายตาที่แซงตัวเต็งอย่างเอวา โฮเกล กรรมาธิการรัฐสภาด้านกองกำลังติดอาวุธ และ มารี-แอกเนส สตาร์ค-ซิมเมอร์มันน์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านกลาโหมของรัฐสภา ที่ได้รับการคาดหมายว่าคนใดคนหนึ่งจะได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมคนต่อไปต่อจากคริสติน แลมเบรชต์
ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของกระทรวงกลาโหม เพราะอยู่ในช่วงฟื้นฟูและปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและอาวุธ อีกทั้งยังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักให้ร่วมมีบทบาทในการช่วยเหลือยูเครนด้วยการส่งรถถังไปให้
แต่โอลาฟ ชอลซ์ ยืนยันด้วยตัวเองว่า พิสโตริอุส เป็นคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้
ชอลซ์ กล่าวว่า "พิสโตริอุสเป็นนักการเมืองมากประสบการณ์ ซึ่งมีส่วนร่วมในนโยบายความมั่นคงมานานหลายปี และด้วยความสามารถ, ความกล้าแสดงออก และใจกว้าง เขาคือบุคคลที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำกองทัพของเราผ่านยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้"
พิสโตริอุสเองก็ออกมายืนยันหลังเข้ารับตำแหน่งว่า จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสงครามยูเครน และขอให้กองทัพไว้วางใจว่าตัวเขาจะอยู่เคียงข้างได้ทุกเมื่อที่จำเป็น และพร้อมจะสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพต่อจากนี้
การแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จะมีผลอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี และจะเป็นการยุติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมหญิง 3 คนติดต่อกันก่อนหน้านี้
พิสโตริอุสมีงานใหญ่รออยู่ทั้งเรื่องการฟื้นฟูกองทัพและนำพาเยอรมนีเผชิญกับช่วงเวลาวิกฤติในนโยบายที่มีต่อสงครามยูเครน
เยอรมนีถูกโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศชั้นนำแต่ยังคงลังเลใจว่าจะส่งอาวุธชนิดใดให้ยูเครน และปัจจุบันอยู่ภายใต้แรงกดดันจากรัฐบาลเคียฟให้จัดหารถถังโจมตีให้
การรุกรานของรัสเซียกระตุ้นให้นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ประกาศยกเครื่องกองทัพครั้งใหญ่หลังจากตัดงบประมาณมานานหลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสโตริอุสจะต้องดูแลในตอนนี้.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ได้แต่งตั้งให้บอริส พิสโตริอุส เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนีคนใหม่ แทนที่คริสติน แลมเบรชต์ ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันจันทร์
บอริส พิสโตริอุส วัย 62 ปี เป็นนักการเมืองจากพรรคโซเชียลเดโมแครต (เอสพีดี) ของโอลาฟ ชอลซ์ และดำรงตำแหน่งฝ่ายปกครองของรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี
การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวเรือด้านความมั่นคงของประเทศในครั้งนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายการเมืองและสาธารณชนเป็นอย่างมาก เพราะพิสโตริอุส ไม่ใช่นักการเมืองที่มีชื่อเสียงหรือเคยรับผิดชอบกิจการใหญ่ๆของประเทศมาก่อน ถือเป็นม้านอกสายตาที่แซงตัวเต็งอย่างเอวา โฮเกล กรรมาธิการรัฐสภาด้านกองกำลังติดอาวุธ และ มารี-แอกเนส สตาร์ค-ซิมเมอร์มันน์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านกลาโหมของรัฐสภา ที่ได้รับการคาดหมายว่าคนใดคนหนึ่งจะได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมคนต่อไปต่อจากคริสติน แลมเบรชต์
ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของกระทรวงกลาโหม เพราะอยู่ในช่วงฟื้นฟูและปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและอาวุธ อีกทั้งยังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักให้ร่วมมีบทบาทในการช่วยเหลือยูเครนด้วยการส่งรถถังไปให้
แต่โอลาฟ ชอลซ์ ยืนยันด้วยตัวเองว่า พิสโตริอุส เป็นคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้
ชอลซ์ กล่าวว่า "พิสโตริอุสเป็นนักการเมืองมากประสบการณ์ ซึ่งมีส่วนร่วมในนโยบายความมั่นคงมานานหลายปี และด้วยความสามารถ, ความกล้าแสดงออก และใจกว้าง เขาคือบุคคลที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำกองทัพของเราผ่านยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้"
พิสโตริอุสเองก็ออกมายืนยันหลังเข้ารับตำแหน่งว่า จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสงครามยูเครน และขอให้กองทัพไว้วางใจว่าตัวเขาจะอยู่เคียงข้างได้ทุกเมื่อที่จำเป็น และพร้อมจะสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพต่อจากนี้
การแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จะมีผลอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี และจะเป็นการยุติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมหญิง 3 คนติดต่อกันก่อนหน้านี้
พิสโตริอุสมีงานใหญ่รออยู่ทั้งเรื่องการฟื้นฟูกองทัพและนำพาเยอรมนีเผชิญกับช่วงเวลาวิกฤติในนโยบายที่มีต่อสงครามยูเครน
เยอรมนีถูกโจมตีซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศชั้นนำแต่ยังคงลังเลใจว่าจะส่งอาวุธชนิดใดให้ยูเครน และปัจจุบันอยู่ภายใต้แรงกดดันจากรัฐบาลเคียฟให้จัดหารถถังโจมตีให้
การรุกรานของรัสเซียกระตุ้นให้นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ประกาศยกเครื่องกองทัพครั้งใหญ่หลังจากตัดงบประมาณมานานหลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสโตริอุสจะต้องดูแลในตอนนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โอลาฟ ชอลซ์' เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีของ 'คนธรรมดา'
สงครามยูเครน การอภิปรายปัญหาผู้ลี้ภัย การปกป้องสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ เมื่อคำนึงถึงประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งมากมายในสั
ระบบรักษาความปลอดภัยผู้นำของเยอรมนี 'ล้มเหลว'
เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในขบวนรถของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เมื่อมีบุคคลแปลกหน้าขับรถตามขบวน และท้ายที่สุดชายคนนั้นก็ป