อนามัยโลกแถลงยัน ยาแก้ไออินเดียเป็นเหตุเด็กตายในอุซเบกิสถานและแกมเบีย

องค์การอนามัยโลกออกคำเตือนห้ามใช้ยาแก้ไอ 2 ชนิดของอินเดีย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กเสียชีวิตในอุซเบกิสถานและแกมเบีย

ทางเข้าสำนักงานของบริษัทมาริออน ไบโอเทค ในประเทศอินเดีย ซึ่งผลิตยาแก้ไอชนิดน้ำที่มีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตของเด็ก 20 รายในประเทศอุซเบกิสถาน (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงยืนยันเกี่ยวกับมาตรฐานของยาแก้ไอที่ผลิตโดยบริษัทมาริออน ไบโอเทค (Marion Biotech) ของอินเดีย ว่ามีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐาน และผู้ผลิตไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยและคุณภาพได้

การออกมาแถลงเมื่อวันพุธ มีขึ้นหลังจากทางการอุซเบกิสถานกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า มีเด็กอย่างน้อย 20 ราย เสียชีวิตหลังจากบริโภคยาแก้ไอชนิดน้ำที่บริษัทดังกล่าวผลิตขึ้นภายใต้ชื่อแบรนด์ Doc-1 Max ซึ่งในเวลาต่อมา กระทรวงสาธารณสุขของอินเดียได้ระงับการผลิตของบริษัทดังกล่าว และอุซเบกิสถานออกคำสั่งห้ามนำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Doc-1 Max

องค์การอนามัยโลกออกมายืนยันผลการวิเคราะห์ตัวอย่างยาแก้ไอโดยห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพของอุซเบกิสถาน กล่าวว่า "พบปริมาณไดเอทิลีน ไกลคอล และ/หรือเอทิลีน ไกลคอล ซึ่งเป็นสารปนเปื้อนในปริมาณที่ยอมรับไม่ได้"

หากมนุษย์บริโภคไดเอทิลีนและเอทิลีน ไกลคอลเข้าไป อาจเป็นพิษต่อร่างกาย และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

มาริออน ไบโอเทค เป็นผู้ผลิตยารายที่ 2 ของอินเดียที่เผชิญการสอบสวนโดยองค์การอนามัยโลก

ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทเมเดน ฟาร์มาซูติคัลส์ (Maiden Pharmaceuticals) ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงนิวเดลี ถูกกล่าวหาว่าผลิตยาแก้ไอชนิดน้ำที่เป็นสาเหตุให้เด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 66 รายในประเทศแกมเบีย โดยเด็กผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่อายุระหว่าง 5 เดือนถึง 4 ขวบ และเสียชีวิตด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน

กระทรวงสาธารณสุขอินเดียทำการสอบสวนบริษัทเมเดน ฟาร์มาซูติคัลส์ในทันที แต่ภายหลังผลสอบสวนพบว่า ยาแก้ไอชนิดน้ำที่ถูกกล่าวหา ได้รับการผลิตด้วยความปลอดภัยตามมาตรฐานคุณภาพ

อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า "ผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอชนิดน้ำทั้งสองนี้อาจได้รับการอนุญาตทางการตลาดของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้ยังอาจถูกแจกจ่ายทางช่องทางผิดกฏหมายไปยังประเทศหรือภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกขอย้ำว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ปลอดภัยและการใช้กับเด็กอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้".

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงยืนยันเกี่ยวกับมาตรฐานของยาแก้ไอที่ผลิตโดยบริษัทมาริออน ไบโอเทค (Marion Biotech) ของอินเดีย ว่ามีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐาน และผู้ผลิตไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยและคุณภาพได้

การออกมาแถลงเมื่อวันพุธ มีขึ้นหลังจากทางการอุซเบกิสถานกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า มีเด็กอย่างน้อย 20 ราย เสียชีวิตหลังจากบริโภคยาแก้ไอชนิดน้ำที่บริษัทดังกล่าวผลิตขึ้นภายใต้ชื่อแบรนด์ Doc-1 Max ซึ่งในเวลาต่อมา กระทรวงสาธารณสุขของอินเดียได้ระงับการผลิตของบริษัทดังกล่าว และอุซเบกิสถานออกคำสั่งห้ามนำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Doc-1 Max

องค์การอนามัยโลกออกมายืนยันผลการวิเคราะห์ตัวอย่างยาแก้ไอโดยห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพของอุซเบกิสถาน กล่าวว่า "พบปริมาณไดเอทิลีน ไกลคอล และ/หรือเอทิลีน ไกลคอล ซึ่งเป็นสารปนเปื้อนในปริมาณที่ยอมรับไม่ได้"

หากมนุษย์บริโภคไดเอทิลีนและเอทิลีน ไกลคอลเข้าไป อาจเป็นพิษต่อร่างกาย และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

มาริออน ไบโอเทค เป็นผู้ผลิตยารายที่ 2 ของอินเดียที่เผชิญการสอบสวนโดยองค์การอนามัยโลก

ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทเมเดน ฟาร์มาซูติคัลส์ (Maiden Pharmaceuticals) ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงนิวเดลี ถูกกล่าวหาว่าผลิตยาแก้ไอชนิดน้ำที่เป็นสาเหตุให้เด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 66 รายในประเทศแกมเบีย โดยเด็กผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่อายุระหว่าง 5 เดือนถึง 4 ขวบ และเสียชีวิตด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน

กระทรวงสาธารณสุขอินเดียทำการสอบสวนบริษัทเมเดน ฟาร์มาซูติคัลส์ในทันที แต่ภายหลังผลสอบสวนพบว่า ยาแก้ไอชนิดน้ำที่ถูกกล่าวหา ได้รับการผลิตด้วยความปลอดภัยตามมาตรฐานคุณภาพ

อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า "ผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอชนิดน้ำทั้งสองนี้อาจได้รับการอนุญาตทางการตลาดของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้ยังอาจถูกแจกจ่ายทางช่องทางผิดกฏหมายไปยังประเทศหรือภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกขอย้ำว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ปลอดภัยและการใช้กับเด็กอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้".

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้