ผลวิจัยพบแก๊สหุงต้มเชื่อมโยงกับโรคหอบหืดวัยเด็กในสหรัฐอเมริกา

ผลวิจัยล่าสุดพบว่าการทำอาหารด้วยแก๊สในบ้านเชื่อมโยงกับการเจ็บป่วยโรคหอบหืดวัยเด็กในสหรัฐอเมริกา โดยเปรียบผลกระทบที่มีต่อสุขภาพเทียบเท่ากับการสูดดมควันบุหรี่มือสอง

(Photo by ALAIN JOCARD / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2566 กล่าวว่า ผลการศึกษาวิจัยในสหรัฐอเมริกาล่าสุด เผยความเชื่อมโยงโรคหอบหืดในวัยเด็กกับการประกอบอาหารด้วยแก๊สหุงต้มภายในบ้านเรือน คิดเป็น 12.7% หมายความว่า เด็กๆในสหรัฐอเมริกา 100 คนที่เป็นโรคหอบหืด จะมีความเชื่อมโยงกับสาเหตุการใช้แก๊สหุงต้มประกอบอาหารในบ้านถึง 13 คนเลยทีเดียว

ผลการวิจัยล่าสุดกระตุ้นการโน้มน้าวชาวอเมริกันให้หันมาใช้เตาไฟฟ้าและเตาแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น แทนการใช้แก๊สหุงต้มในการประกอบอาหาร โดยมีเจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เป็นแกนนำในการโน้มน้าวดังกล่าว

ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า ประมาณ 35% ของครัวเรือนอเมริกันใช้เตาแก๊สในการประกอบอาหารเป็นหลัก โดยงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าแก๊สหุงต้มปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ในระดับสูงซึ่งเชื่อมโยงกับอัตราโรคหอบหืดที่สูงขึ้น

สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม Rocky Mountain Institute (RMI) เป็นผู้นำในการศึกษาวิจัยนี้ และได้เผยแพร่ประเด็นดังกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วในวารสาร International Journal of Environmental Research and Public Health

โดยผลการวิจัยที่เผยแพร่นั้นชี้ให้เห็นว่าเด็กๆราว 650,000 คนในสหรัฐฯ กำลังป่วยเป็นโรคหอบหืด ซึ่งอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นหากพวกเขาไม่ได้สัมผัสกับแก๊สหุงต้มจากเตา งานวิจัยยังระบุด้วยว่า ความเสี่ยงโรคหอบหืดจากแก๊สหุงต้มนั้นเทียบเท่ากับโรคหอบหืดจากควันบุหรี่มือสอง พร้อมย้ำว่า "ทุกครั้งที่ใช้เตาแก๊สก็เหมือนกับมีคนสูบบุหรี่อยู่ในบ้าน"

การศึกษาล่าสุดใช้วิธีการเดียวกับการวิจัยในปี 2561 ซึ่งระบุว่า 12.3% ของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดในออสเตรเลียมีสาเหตุมาจากแก๊สหุงต้ม

การศึกษานี้เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาให้ดำเนินการเกี่ยวกับอันตรายของแก๊สหุงต้ม ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เล็งเห็นว่านี่เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน เช่นเดียวกับวุฒิสมาชิกหลายคนที่เห็นด้วยกับการหาทางออกของอันตรายดังกล่าว

โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 262 ล้านคนทั่วโลก โดยข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2562 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหอบหืดมากถึง 455,000 คนเลยทีเดียว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง

ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?

'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

ถอดบทเรียนการแพร่ระบาด 'โควิด' จากตลาดนัดกลางคืน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนการแพร่ระบาดโควิด-19 จากตลาดนัดกลางคืน (outdoor night market) ซึ่งไม่มีแสงแดด

'หมอธีระวัฒน์' แนะกลยุทธ์ 'สมองใส'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กลยุทธ์ สมองใส