สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์จาก Huawei และ ZTE ของจีน เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัย

ทางการสหรัฐฯ ประกาศห้ามนำเข้าหรือขายอุปกรณ์สื่อสารที่มี "ความเสี่ยงที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อความมั่นคงของชาติ" ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์จาก Huawei Technologies และ ZTE สองบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน

แฟ้มภาพ โลโก้ Huawei บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ (Federal Communications Commission) ประกาศห้ามนำเข้าหรือขายอุปกรณ์สื่อสารของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (Huawei Technologies) และแซดทีอี (ZTE) ซึ่งเป็นบริษัทด้านเครือข่ายโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน

ทั้งสองบริษัทดังกล่าวอยู่ในรายชื่อบริษัทที่ถูกระบุว่าเป็นภัยคุกคาม และกฎใหม่นี้ห้ามการอนุญาตนำเข้าหรือขายอุปกรณ์เฉพาะในอนาคต และกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการออกประกาศห้ามการใช้งานในปัจจุบัน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการดำเนินการล่าสุดเพื่อป้องกันเครือข่ายของสหรัฐฯ จากการเข้าถึงโดยเครือข่ายของบริษัทโทรคมนาคมจีน และเกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งที่ดำเนินมาอย่างยาวนานระหว่าง 2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้แสดงความระวังมากขึ้นต่อบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของจีนในช่วงไม่กี่ปีมานี้

“คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะปกป้องความมั่นคงของชาติด้วยการรับประกันว่าจะไม่มีการอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์สื่อสารที่ไม่น่าเชื่อถือภายในเขตแดนของเรา และกฎใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านความปลอดภัย” เจสสิก้า โรเซนวอร์เซล ประธานหญิงของคณะกรรมการฯ กล่าวในแถลงการณ์

นอกจากหัวเว่ยและแซดทีอีแล้ว คำสั่งห้ามดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆ รวมถึงบริษัทอุปกรณ์กล้องวงจรปิดอย่าง หางโจว ฮิควิชัน (Hangzhou Hikvision) และ ต้าหัว เทคโนโลยี (Dahua Technology)

ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาได้สั่งแบนหัวเว่ยจากทุกระบบโทรคมนาคมในรัฐบาลสหรัฐฯ และห้ามไม่ให้ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยในภาคเอกชน ด้วยความกลัวว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยหน่วยข่าวกรองของจีน

ในปี 2562 หัวเว่ยถูกขึ้นบัญชีดำทางการค้าไม่ให้มีการดำเนินธุรกิจใดๆ กับซัพพลายเออร์ของสหรัฐฯ และโดนตัดออกจากระบบปฏิบัติการมือถือแอนดรอยด์ของกูเกิล ด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงของชาติ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉ่งพรรคเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ห้วงวิกฤตของปชช.แต่จัดสัมมนาผลักดัน Sex Tourism

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ข้องใจนโยบาย 'ฟรีวีซ่า' เตือนอย่าเอาความมั่นคงของชาติมาเสี่ยง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรมว.ต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ฟรีวีซ่า มีเนื้อหาดังนี้

อดีตรองอธิการบดี มธ. ชี้ ‘ใครคิดร้ายต่อสถาบัน-ความมั่นคงชาติ’ คงไม่มีจุดจบที่ดี

การดันทุรังที่แก้ไขมาตรา 112 ให้ได้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นจากความหวังดีที่จะแก้ปัญหาสังคม เพราะปัญหาความขัดแย้งไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ