เฮอริเคนนิโคลขึ้นฝั่งที่ฟลอริดา เร่งอพยพประชาชน

พายุเฮอริเคนนิโคลพัดถล่มบาฮามาส ก่อนอ่อนตัวลงหลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของรัฐฟลอริดา เร่งอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่

พายุเฮอริเคน 'นิโคล' พัดขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ก่อนอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน (Photo by JOE RAEDLE / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า พายุเฮอริเคน 'นิโคล' ความเร็วลมสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งแล้วที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ (NHC) รายงานว่า หลังเฮอริเคนนิโคลพัดถล่มหมู่เกาะบาฮามาส ก็ได้เคลื่อนตัวขึ้นสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของรัฐฟลอริดา ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมสูงสุด 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมุ่งหน้าไปยังรัฐจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ก่อนพายุจะเคลื่อนเข้าพัดถล่มรัฐโอไฮโอ, เพนซิลเวเนีย และนิวยอร์กในปลายสัปดาห์นี้ พร้อมขอให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากทิศทางของพายุ เตรียมการอพยพหากเกิดลมกระโชกแรงหรือน้ำท่วมฉับพลันแบบเดียวกับที่เฮอริเคนเอียนพัดถล่มหลายสัปดาห์ก่อน

มึความกังวลว่า ผลกระทบจากพายุจะส่งผลต่อกำหนดการปล่อยจรวดของนาซาในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

พายุนิโคลกำลังมุ่งหน้าไปยังศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองออร์ลันโดทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา โดยมีการนำจรวด "สเปซลอนช์ซิสเต็ม" (เอสแอลเอส) มาเตรียมรอไว้ที่แท่นปล่อยจรวด 39บี เรียบร้อยแล้ว และพายุนิโคลอาจทำความเสียหายให้กับจรวดดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และอาจทำให้โครงการกลับสู่ดวงจันทร์ (Artemis 1) ต้องล่าช้าออกไปอีก หลังเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ดี นาซาอาจจะเลื่อนการปล่อยจรวดจากกำหนดเดิมวันที่ 14 ไปเป็นวันที่ 16 หรือ 19 พฤศจิกายนแทนได้ หากจำเป็น.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า พายุเฮอริเคน 'นิโคล' ความเร็วลมสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งแล้วที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ (NHC) รายงานว่า หลังเฮอริเคนนิโคลพัดถล่มหมู่เกาะบาฮามาส ก็ได้เคลื่อนตัวขึ้นสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของรัฐฟลอริดา ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมสูงสุด 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมุ่งหน้าไปยังรัฐจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ก่อนพายุจะเคลื่อนเข้าพัดถล่มรัฐโอไฮโอ, เพนซิลเวเนีย และนิวยอร์กในปลายสัปดาห์นี้ พร้อมขอให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากทิศทางของพายุ เตรียมการอพยพหากเกิดลมกระโชกแรงหรือน้ำท่วมฉับพลันแบบเดียวกับที่เฮอริเคนเอียนพัดถล่มหลายสัปดาห์ก่อน

มึความกังวลว่า ผลกระทบจากพายุจะส่งผลต่อกำหนดการปล่อยจรวดของนาซาในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

พายุนิโคลกำลังมุ่งหน้าไปยังศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองออร์ลันโดทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา โดยมีการนำจรวด "สเปซลอนช์ซิสเต็ม" (เอสแอลเอส) มาเตรียมรอไว้ที่แท่นปล่อยจรวด 39บี เรียบร้อยแล้ว และพายุนิโคลอาจทำความเสียหายให้กับจรวดดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และอาจทำให้โครงการกลับสู่ดวงจันทร์ (Artemis 1) ต้องล่าช้าออกไปอีก หลังเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ดี นาซาอาจจะเลื่อนการปล่อยจรวดจากกำหนดเดิมวันที่ 14 ไปเป็นวันที่ 16 หรือ 19 พฤศจิกายนแทนได้ หากจำเป็น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ‘อุ๊งอิ๊ง’! โชว์วิสัยทัศน์ เวทีผู้นำเอเปก

จับตา "นายกฯ อิ๊งค์" โกอินเตอร์! บินลัดฟ้าสหรัฐ ไม่ได้พบตัวแทนทำเนียบขาว แต่ไปเจอทีมไทยแลนด์ มอบนโยบายขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาคอเมริกา

นายกฯอิ๊งค์ เตรียมบินไปสหรัฐ ร่วมประชุมเอเปก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และร่วมการประชุมผู้นำประเทศ

'มาริษ' ขอบคุณนานาชาติเลือกไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

'รมว.กต.' ขอบคุณ หลังไทยได้รับเลือกนั่ง HRC วาระ 2568-2570 ยืนยันจะเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างของชาติสมาชิก แสดงความมุ่งมั่นส่งเสริมสถานะประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนไทยให้เป็นที่ยอมรับ

'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า