สหภาพยุโรปขยายเวลาคว่ำบาตรเมียนมา เพิ่มเป้าหมายที่ตัวรัฐมนตรีและผู้พิพากษา

สหภาพยุโรปได้ขยายเวลาการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมา โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมไปที่ตัวบุคคลและหน่วยงานอื่นๆ อีก 19 แห่ง รวมทั้งรัฐมนตรีและหัวหน้าผู้พิพากษา

กัน ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของเมียนมา (Photo by YOSHIKAZU TSUNO / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า สหภาพยุโรป หรืออียู โดยคณะมนตรียุโรป ประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการคว่ำบาตรต่อเมียนมา เนื่องจากความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการยึดอำนาจของทหารตั้งแต่ 2 ปีก่อน

การขยายเวลาคว่ำบาตรครั้งล่าสุด ถือเป็นมาตรการคว่ำบาตรครั้งที่ 5 ของสหภาพยุโรปที่มีต่อเมียนมาภายใต้การปกครองของทหารตั้งแต่ปี 2563

เมียนมาอยู่ในความโกลาหลภายใต้รัฐบาลเผด็จการ ซึ่งเผชิญกับการต่อต้านด้วยอาวุธในวงกว้าง และรัฐบาลตอบโต้กลับด้วยการปราบปรามอย่างโหดร้าย

กลุ่มสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นในเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,300 รายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และหน่วยงานเด็กแห่งสหประชาชาติประเมินว่ามีผู้พลัดถิ่นถึง 1 ล้านคน จากการปราบปรามของรัฐบาลทหาร

มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดของอียูมุ่งเป้าไปที่ กัน ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของเมียนมา, ตุน ตุน อู หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงอีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและนักธุรกิจซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลเผด็จการทหาร

โดยรวมแล้ว บุคคล 84 รายและ 11 หน่วยงานในเมียนมาขณะนี้อยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป ซึ่งรวมถึงงดการออกวีซ่า, ห้ามเดินทางเข้าประเทศ และการอายัดทรัพย์สินในสหภาพยุโรป

คณะมนตรียุโรประบุในถ้อยแถลงเมื่อวันอังคาร กล่าวว่า "สหภาพยุโรปกังวลอย่างยิ่งต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและวิวัฒนาการไปสู่ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อซึ่งได้แผ่ขยายไปทั่วประเทศเมียนมาและมีผลกระทบในระดับภูมิภาค ดังนั้น สหภาพยุโรปจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อนำตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน, ก่อสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ให้ได้รับการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม".

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ

แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง

ฮังการี ป่วนสหภาพยุโรปอีกครั้ง ด้วยกฎระเบียบใหม่สำหรับชาวรัสเซียและเบลารุส

ชาวรัสเซียหรือเบลารุสที่ลงทะเบียนเป็น “แรงงานรับเชิญ” ในฮังการี สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศได้โดยไม่ต้องมีก

เปิดผลตรวจสอบ 'คดีไซยาไนด์' ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

กสม. เผยผลการตรวจสอบกรณีร้องเรียนคดีไซยาไนด์ ชี้ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและตีตราผู้ต้องหา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมืองรับมือโลกเดือดไหวหรือไม่ เช็กความพร้อมชุมชน

งานวิจัยชี้ชัดประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงลำดับต้นๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อนที่ผ่านมาหลายภาคของไทยเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนแทบอยู่ไม่ไหว หลายพื้นทื่เจอกับภาวะร้อนและแล้งยาวมาแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เจอฝนถล่มหนักระยะสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม

คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้