กัมพูชาซึ่งเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในปีนี้ ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธระบุว่า อาเซียนมีความกังวลอย่างยิ่งกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นหลายเหตุการณ์ในเมียนมาเมื่อเร็วๆ นี้ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจ, หยุดการสู้รบโดยทันทีและเปิดการเจรจา
รอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 ว่า เมียนมาติดอยู่ในวงโคจรแห่งความรุนแรงนับตั้งแต่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารขับไล่อองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังรัฐประหาร ทหารเมียนมาควบคุมตัวซูจีและนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยหลายพันคน และปราบปรามผู้ต่อต้านรัฐประหารอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐประหารเมียนมา ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุนองเลือดในเมียนมาหลายครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
กัมพูชาซึ่งเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในปีนี้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธ กล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เช่น เหตุลอบวางระเบิดบริเวณเคาน์เตอร์รับพัสดุของเรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเรือนจำใหญ่ที่สุดของเมียนมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ, ความขัดแย้งในรัฐกะเหรี่ยงและเหตุกองทัพเมียนมาโจมตีทางอากาศถล่มงานคอนเสิร์ตที่จัดโดยกองทัพเอกราชกะฉิ่น (เคไอเอ) ในรัฐกะฉิ่นภาคเหนือของเมียนมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 ศพ
กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนกล่าวในแถลงการณ์ว่า เรารู้สึกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งกับการบาดเจ็บล้มตายที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา และความทุกข์ทรมานที่ประชาชนคนธรรมดาในเมียนมาต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้
ความขัดแย้งดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมาเลวร้ายลง แต่ยังเป็นการบ่อนทำลายความพยายามในการปฏิบัติตาม “ฉันทามติ” เรื่องสันติภาพที่ตกลงกันไว้ระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว ดังนั้นแล้วเราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่และยุติการสู้รบและหยุดความรุนแรงโดยทันทีและดำเนินการเจรจา
อาเซียนเป็นผู้นําความพยายามทางการทูตเพื่อนําสันติภาพกลับมาสู่เมียนมา แต่ที่ผ่านมารัฐบาลทหารเมียนมาดําเนินการเพียงเล็กน้อยที่จะปฏิบัติตาม "ฉันทามติ" ที่รัฐบาลทหารเมียนมาเคยตกลงกับอาเซียน ฉันทามติดังกล่าวมุ่งมั่นที่จะยุติความรุนแรงในทันที และเริ่มต้นการเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพ
กัมพูชาแถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนมีกำหนดประชุมเพื่อหารือถึงวิกฤตในเมียนมาในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม
ด้านองค์กรภาคประชาสังคมของเมียนมา 457 องค์กร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน เรียกร้องให้ยกเลิกแผนสันติภาพที่ตกลงไว้กับรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว โดยให้หันมาทำงานกับผู้นำพลเรือนและรัฐบาลเงาของเมียนมาแทน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังปร
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม
ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม