อิมรอน ข่าน อดีตนายกฯปากีสถาน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

อิมรอน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศตัดสินว่าเขาเกี่ยวข้องกับการทุจริตขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แฟ้มภาพ อิมรอน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน (Photo by AAMIR QURESHI / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 กล่าวว่า อิมรอน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานที่ถูกลงมติไม่ไว้วางใจจนหลุดจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายน มีอันต้องพบวิบากกรรมเพิ่มเติม หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศตัดสินให้เขามีความผิดข้อหาทุจริตขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

"คณะกรรมการการเลือกตั้งของปากีสถานประกาศว่า อิมรอน ข่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต" โกฮาร์ ข่าน หนึ่งในทนายความของอิมรอน กล่าวกับผู้สื่อข่าว พร้อมเสริมว่า อิมรอนถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และเขาจะขอยื่นอุทธรณ์เพื่อสู้ต่อในศาลสูงอิสลามาบัด

การพิจารณาตัดสิทธิ์ทางการเมืองในครั้งนี้ อ้างอิงจากมาตราฐานและจริยธรรมของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องแจกแจงทรัพย์สินของตน รวมทั้งของขวัญของรางวัลที่ได้รับมาจากบุคคลอื่นในระหว่างการดำรงตำแหน่งใดๆ

โดยกฏหมายระบุว่า ของขวัญของรางวัลที่ได้รับมา หากมีมูลค่าสูงจะต้องถูกส่งให้รัฐ หากมีมูลค่าไม่มากเกินเกณฑ์ที่กำหนด ตัวผู้ได้รับสามารถเก็บไว้ครอบครองได้โดยไม่ผิดกฏหมาย

มีรายงานของสื่อก่อนหน้านี้ว่า ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปากีสถาน อิมรอน ข่านและภรรยาของเขามักได้รับของขวัญมากมายมูลค่ามหาศาล ซึ่งรวมถึงนาฬิกาหรู, เครื่องประดับ, กระเป๋าแบรนด์เนม และน้ำหอมราคาแพง ในระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งข่านเผชิญประเด็นทางกฏหมายจากการไม่ชี้แจง, ทำให้เข้าใจผิด และปกปิดข้อมูลการได้มาหรือการขายทรัพย์สินเหล่านั้นออกไป

การร้องเรียนข่านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้นโดยขบวนการประชาธิปไตยปากีสถาน ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของฟากฝั่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน

ในเวลานั้น ข่านกล่าวว่าเขาไม่ได้เปิดเผยของขวัญบางอย่างต่อสาธารณะด้วยเหตุผลทางความมั่นคงของชาติ แต่ได้ยื่นหนังสือยอมรับว่า เคยซื้อสินค้าที่มีมูลค่าเกือบ 22 ล้านรูปี (ประมาณ 3.8 ล้านบาท) และต่อมาขายของเหล่านั้นได้ในราคามากกว่า 2 เท่าของจำนวนเงินที่ซื้อมา

ข่านที่ต้องหลุดออกจากตำแหน่งผู้นำประเทศและถูกแทนที่ด้วยเชห์บาซ ชาริฟ กำลังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกลับเข้าสู่อำนาจ พร้อมอ้างว่าการลงมติไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาเกิดจากการแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกที่ไม่พอใจจากการที่เขายังคงเป็นพันธมิตรกับรัสเซียในกรณีสงครามยูเครน รวมถึงการทรยศหักหลังของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ความล้มเหลวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 หรือการไม่สามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนว่าจะทำให้ปากีสถานเป็นประเทศที่มั่งคั่งและปราศจากการทุจริต เป็นแรงผลักดันที่แท้จริงที่ทำให้เขาต้องหลุดพ้นจากตำแหน่งในครั้งนั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"

สะดุ้ง! อดีตสว.โพสต์หนังสือ คดีประวัติศาสตร์ ๙๙ วันอันตราย ทำไมกกต.ติดคุก

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.)โพสต์เฟซบุ๊กภาพปกหนังสือ คดีประวัติศาสตร์ ๙๙ วันอันตราย ทำไมกกต.ติดคุก เขียนโดย นายถาวร เสนเนียม พร้อมระบุว่า

'บิ๊กเกรียง' แอ่นอกรับ 'สีน้ำเงินเข้ม' หนักใจมีชื่อชิง 'ปธ.สภาสูง'

'พล.อ.เกรียงไกร' รับหนักใจถูกเสนอชื่อชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ออกตัวหวังทำงาน กมธ.ทหารและความมั่นคง ชี้ 'ปธ.วุฒิสภา” ต้องรู้กฎหมายมีวุฒิภาวะเป็นที่ยอมรับ

งัด 'มาตรา 5 - แบบ สว.2' บี้ กกต. เปิดข้อมูล 200 สว. 99 สำรอง

'ชาญชัย' งัดมาตรา 5 - แบบ สว.2 ผู้สมัครยินยอมเผยแพร่ จี้ กกต. เร่งเปิดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ตามกฎหมายกำหนด ชี้ช่องประชาชนร่วมตรวจสอบสภาสูงชุดใหม่