ลาออกหรือโดนไล่ออก? เส้นทางที่ไม่น่าอภิรมย์ของนายกหญิงอังกฤษ

นายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ของอังกฤษ กำลังเผชิญกระแสกดดันให้วางมือจากตำแหน่งผู้นำรัฐบาล หลังจากหลายสัปดาห์ของความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการเมือง

นายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ของอังกฤษ (Photo by Daniel LEAL / POOL / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ของอังกฤษ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรีต่อจากบอริส จอห์นสัน เมื่อต้นเดือนกันยายน แต่ทว่าหลังจากทำงานได้เพียงไม่ถึง 2 เดือน ก็มีกระแสกดดันให้สละตำแหน่งผู้นำรัฐบาล

ความล้มเหลวด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินการคลังย่ำแย่ลงกว่าเดิม อันเนื่องจากความดื้อรั้นที่จะลดภาษีคนรวย จนรัฐสูญเสียรายได้และต้องมีการแทรกแซงทางการคลังจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ

ลิซ ทรัสส์ พยายามต่ออายุตัวเองด้วยการสั่งเปลี่ยนหัวเรือการคลังคนใหม่ พร้อมยกเลิกนโยบายลดภาษีดังกล่าว แต่ความน่าเชื่อถือของเธอในสายตาประชาชน ได้มลายหายไปหมดสิ้นแล้ว

ล่าสุด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 4 คนจากพรรคอนุรักษนิยม ได้เรียกร้องให้ทรัสส์ลาออกจากตำแหน่ง ท่ามกลางกระแสเห็นด้วยจากหลายฝ่ายที่ว่า เวลา 6 สัปดาห์ของการทำงานในตำแหน่งนายกฯของทรัสส์นั้น สิ้นสุดลงแล้วในทางพฤตินัย

อย่างไรก็ตาม ทรัสส์ไม่ได้แสดงท่าทีว่าจะเต็มใจลาออกเอง โดยโฆษกของเธอบอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เธอยังคงมุ่งมั่นทำงานต่อไปในฐานะผู้นำ

ถึงแม้ทรัสส์จะยังคงดื้อแพ่ง แต่กระบวนการถอดถอนเธอออกจากตำแหน่งก็มีความเป็นไปได้ หาก ส.ส ของพรรคทั้งหมดรวมตัวกันโหวตไม่ไว้วางใจ

อาจจะติดขัดอยู่ที่เงื่อนไขของพรรค ที่ห้ามมิให้ผู้นำที่เพิ่งได้รับเลือกใหม่ต้องเผชิญกับการลงคะแนนไม่ไว้วางใจในปีแรกของการทำงาน ฉนั้นการโหวตไม่ไว้วางใจจึงเกิดขึ้นได้ยากกว่าการใช้กระแสกดดันทั้งทางตรงจากรัฐสภา และทางอ้อมจากประชาชนอังกฤษ

ทางเดียวที่ทรัสส์อาจรอดจากการหลุดจากตำแหน่ง คือการฝากความหวังไว้ที่ตัวรัฐมนตรีคลังคนใหม่ และการเริ่มนโยบายเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นตลาดที่ปั่นป่วน ให้กลับมามีความมั่นคงทางการเงินให้เร็วที่สุด

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปของสหราชอาณาจักรจะครบกำหนดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 แต่รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมจนถึงเวลานั้นหรือไม่ หรืออาจจะมีการยุบสภาเกิดขึ้นเสียก่อน ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม โดยมีภาพรวมของเศรษฐกิจในอังกฤษเป็นตัวชี้ขาด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘กรณ์’ ชี้ ’ไบเดน’ ถอนตัว การตัดสินใจครั้งนี้ อยู่ในระดับเปลี่ยนเกมส์ได้เลย

ส่วนตัวผมไม่แปลกใจที่ไบเดนถอนตัว ก่อนหน้านี้ที่หลายคนลุ้นอยู่คือไบเดนจะแค่ถอนตัวจากการเป็นผู้สมัคร หรือจะถอยให้ Harris เป็นประธานาธิบดีด้วยเลย

'วัน' ยื่น กกต. ลาขาดเพื่อไทย เปิดใจทั้งน้ำตา คำพูดผู้ใหญ่ต้นเหตุไขก๊อก

'วัน อยู่บำรุง' ยื่นลาออกเพื่อไทยแล้ว เปิดใจน้ำตาคลอ พ้อคำพูดผู้ใหญ่ไม่อาจด้านอยู่ต่อ ย้ำสัมพันธ์ 'บิ๊กแจ๊ส' แน่นแฟ้น​ ลั่นตระกูลอยู่บำรุงไม่ประจบสอพลอใคร พร้อมเปิดทางร่วมงานพรรคใหม่

'วัน อยู่บำรุง' ประกาศทิ้งเพื่อไทย ยอมรับใจหาย เมื่อพรรคไม่ให้โอกาสแล้วก็ต้องไป

นายวัน อยู่บำรุง แพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึงความในใจหลังมีข่าวลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โดยเริ่มต้นทักทายแฟนคลับว่า วันนี้บรรยากาศดี แต่สถานการณ์ไม่ค่อยดี หากเป็นเอฟซีแฟนพันธุ์แท้ที่ติดตาม

เลขาฯเพื่อไทย ยัน 'อุ๊งอิ๊ง' ไม่ได้บีบ 'วัน อยู่บำรุง' ลาออก มั่นใจเคลียร์ 'เฉลิม' ได้

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้วและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง ลาออกจากกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยระบุถึงเหตุผล หัวหน้าพรรคไม่พอใจ ว่า เมื่อวานนี้เป็นวันประชุม สส.ของพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว นางสาวแพทองธาร ชินวัตร