ชาวญี่ปุ่นหลายพันคนรอวางดอกไม้ไว้อาลัยและร่วมสวดมนต์ให้กับอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ในพิธีเคลื่อนขบวนศพ ขณะที่ประชาชนบางส่วนทำกิจกรรมประท้วงต่อต้านอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

บุคคลสำคัญจำนวนมากมาร่วมงานศพของอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ที่บูโดกัน ฮอลล์ ในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 27 กันยายน (Photo by JAPAN POOL VIA JIJI PRESS / JIJI PRESS / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 กล่าวว่า รัฐพิธีศพของอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าวันอังคาร ท่ามกลางประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนหลายพันคนมารอรับขบวนและร่วมแสดงความไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการวางดอกไม้และสวดมนต์
การตัดสินใจจัดรัฐพิธีศพของอดีตผู้นำที่ถูกลอบสังหาร ทำให้เกิดความคิดเห็นแตกแยกของสาธารณชนอย่างชัดเจน กับสองฟากฝั่งของผู้ที่เห็นด้วยกับการจัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทุ่มงบประมาณไปกับงานศพของอดีตนายกฯที่เกี่ยวพันกับลัทธิเถื่อน
อย่างไรก็ดี พิธีนี้มีบุคคลสำคัญมากมายจากทั่วโลกเข้าร่วมงานพิธีที่จัดขึ้นในบูโดกัน ฮอลล์ ของกรุงโตเกียว โดยมีประมุขในอดีตและปัจจุบันหลายสิบคนจากหลายประเทศ มาร่วมแสดงความอาลัยในงานครั้งนี้ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นทุ่มทุนไปกว่า 400 ล้านบาทเพื่อจัดพิธีให้ยิ่งใหญ่สมเกียรติ เช่น กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ, นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ของออสเตรเลีย
ขณะที่ฟากฝั่งผู้มาประท้วงการจัดพิธีในครั้งนี้ แสดงความไม่พอใจให้กับการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ราววีรบุรุษ ทั้งที่คนญี่ปุ่นราว 60% ลงความเห็นในผลสำรวจล่าสุดก่อนงานนี้ว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดรัฐพิธี เช่นเดียวกับเหตุการณ์จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อีกทั้งสมัยดำรงตำแหน่งของอาเบะ เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนหลายคนที่คัดค้านความคิดเห็นและแผนการชาตินิยมของเขาในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อสันติ
ประกอบกับความเชื่อมโยงกับลัทธิทางศาสนาที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวที่ถูกเปิดโปงหลังมรณกรรมของอาเบะ รวมถึงการใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนมากเกินจำเป็น ฝั่งผู้ประท้วงที่มีทั้งในบริเวณสถานที่จัดพิธี และหน้ารัฐสภา จึงแสดงความไม่พอใจพร้อมกล่าวหาการจัดงานครั้งนี้ว่าเป็นงานศพของรัฐฟาสซิสต์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายขวาหัวรุนแรงขัดขวางพิธีไว้อาลัย หลังเหตุโจมตีด้วยมีดในเยอรมนี
หลังเหตุการณ์โจมตีด้วยมีดในเมืองโซลิงเงน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมีดชั้นนำของเยอรมนี อารมณ์ร้อนของผู้คนก็เริ่มโหมอีกครั้