องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) หน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานเรื่อง การเป็นทาสสมัยใหม่ ระบุจํานวนผู้ที่ถูกบังคับให้ทํางานหรือต้องแต่งงานซึ่งขัดต่อความต้องการของพวกเขา พุ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ราว 50 ล้านคน
รอยเตอร์รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) หน่วยงานในสังกัดของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานเรื่อง การเป็นทาสสมัยใหม่ ในวันเดียวกัน ระบุจํานวนผู้ที่ถูกบังคับให้ทํางานพุ่งสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ราว 50 ล้านคน
ไอแอลโอระบุในรายงานว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อโควิด-19, ความขัดแย้งที่ทำให้เกิดการทำสงครามสู้รบ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นําไปสู่การหยุดชะงักของการจ้างงานและการศึกษาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และทําให้ความยากจนทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงมีการบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน
เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินครั้งสุดท้ายของไอแอลโอเมื่อปี 2559 จํานวนประชาชนทั่วโลกที่เป็นทาสยุคใหม่เพิ่มขึ้นราว 9.3 ล้านคน
ตามตัวเลขล่าสุดจากรายงานของไอแอลโอระบุว่า มีผู้ถูกบังคับใช้แรงงานทั่วโลกคิดเป็น 27.6 ล้านคนของผู้ที่เป็นทาสสมัยใหม่ในปี 2564 โดยมากกว่า 3.3 ล้านคนเป็นเด็ก และมีผู้ถูกบังคับให้แต่งงานถึง 22 ล้านคน
ไอแอลโอพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ถูกบังคับใช้แรงงานทั้งหมด เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงหรือประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งแรงงานต่างด้าวในประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่า 3 เท่า
รายงานของไอแอลโอกล่าวถึงประเทศกาตาร์ ซึ่งต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาอย่างกว้างขวางเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานก่อสร้างในกาตาร์ช่วงก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะเริ่มเปิดสนามในเดือนพฤศจิกายนปีนี้
รายงานระบุว่า นับตั้งแต่ไอแอลโอมาเปิดสํานักงานในกรุงโดฮาของกาตาร์ในเดือนเมษายน 2561 มี "ความคืบหน้าที่สําคัญ" เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และการทํางานของแรงงานต่างด้าวหลายแสนคนในกาตาร์ แม้ว่าปัญหายังคงเกิดขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมายแรงงานใหม่ก็ตาม
นาสเซอร์ อัล คาเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า กาตาร์ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรมมากมายเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง แต่ก็ได้ดำเนินการแก้ไขต่อคําวิจารณ์ที่เป็นธรรมไปแล้ว
รายงานของไอแอลโอฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานในบางพื้นที่ของจีน โดยอ้างถึงรายงานที่เผยแพร่โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่าน ซึ่งระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เกิดขึ้นในจีน และการคุมขังชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมอื่นๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน อาจเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างแข็งกร้าวมาโดยตลอด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง
มาครง และเนทันยาฮู ปะทะกันหลังเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพถูกโจมตีในเลบานอน
กองทัพอิสราเอลโจมตีฐานที่ตั้งของกองกำลัง ‘หมวกสีฟ้า’ ในเลบานอนหลายครั้ง ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่ง
'พิธา' โผล่ประชุม กมธ.ความมั่นคง เชิญ 5 ธนาคารไทยแจงปม 'ยูเอ็น' แฉหนุนเมียนมาซื้ออาวุธ
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม เป็นประธาน มีการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริง กรณีสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็นชี้ กำลังเกิดภาวะอดอยากทั่วฉนวนกาซา
บรรดาผู้เชี่ยวชาญเคยเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับความอดอยากในฉนวนกาซา ขณะนี้องค์การสหประชาชาติเริ่มส่งสัญญาณว่
กสม.ชี้ร้านสะดวกซื้อเอาเปรียบพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กสม. ตรวจสอบกรณีร้านสะดวกซื้อเอาเปรียบพนักงาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย
UN ฟังทางนี้! 'อดีตบิ๊ก มธ.' เปิดความจริงการเสียชีวิตของ 'บุ้ง'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง