กลุ่มตอลิบัน ผู้ปกครองประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ประกาศให้วันที่ 31 สิงหาคมเป็นวันหยุดประจำชาติ พร้อมจุดพลุในกรุงคาบูล เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบขวบปีแรกของการถอนกองกำลังทหารต่างชาติจากอัฟกานิสถาน หลังเผชิญภาวะสงครามโหดร้ายมากว่า 20 ปี
เด็ก ๆ ชาวอัฟกัน ถือธงตอลิบันร่วมเฉลิมฉลองวันครบรอบขวบปีแรกของการถอนทหารจากประเทศของกองกำลังต่างชาติที่นำโดยสหรัฐฯ ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม (Photo by Wakil KOHSAR / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า กลุ่มตอลิบันซึ่งปกครองประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ได้ประกาศให้วันที่ 31 สิงหาคม เป็นวันหยุดประจำชาติ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบการถอนทหารออกจากประเทศของกองกำลังต่างชาติที่นำโดยสหรัฐอเมริกา
การถอนกำลังทหารชุดสุดท้ายจากอัฟกานิสถานในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 31 สิงหาคมปีที่แล้ว ถือเป็นการยุติสงครามที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าแทรกแซงทางทหารภายหลังเหตุโจมตีเมื่อ 11 กันยายน 2544 ในนิวยอร์ก
การสู้รบอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ทำให้ทหารอัฟกันประมาณ 66,000 นาย และพลเรือน 48,000 รายถูกสังหารในความขัดแย้งดังกล่าว ขณะเดียวกันสหรัฐฯก็สูญเสียกำลังพลรวมทั้งหมดกว่า 2,461 คน ซึ่งถือว่ามากเกินไปสำหรับประชาชนชาวอเมริกันที่จะยอมรับได้กับการทำสงครามแก้แค้นในครั้งนี้ ยังไม่นับรวมการสูญเสียกำลังพลทางทหารของกองกำลังเสริมจากนาโตอีก 3,500 คน
แต่ถึงแม้จะถูกปกครองโดยกลุ่มติดอาวุธเคร่งศาสนา ชาวอัฟกันส่วนใหญ่ยังยินดีมากกว่าที่จะถูกควบคุมดูแลโดยกองกำลังต่างชาติในดินแดนของตน
ท้องฟ้าเหนือกรุงคาบูลเต็มไปด้วยแสงสีจากดอกไม้ไฟและการยิงปืนเฉลิมฉลองจากฝูงชนของกลุ่มนักรบตอลิบัน อีกทั้งการประดับธงตอลิบันสีขาวจำนวนหลายร้อยใบที่มีคำประกาศศรัทธาของอิสลาม ตามเสาไฟและสถานที่ราชการ
แม้ว่ากลุ่มตอลิบันจะภาคภูมิใจในการเข้ายึดครองประเทศของตนกลับมาได้อีกครั้ง แต่ประชาชนกว่า 38 ล้านคนของอัฟกานิสถานยังคงเผชิญกับวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ย่ำแย่จากการปกครองตามหลักศาสนาอย่างเข้มงวด และที่เลวร้ายกว่าคือการโดนอายัดสินทรัพย์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังโดนนานาชาติแบนและงดให้ความช่วยเหลือ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การร่วมต่อสู้กับการกดขี่สตรีเพศชาวอัฟกานิสถานของ ‘เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์’
ไปไม่ถึงการศึกษาระดับสูง ไม่มีสิทธิออกเสียง - กลุ่มตอลิบานจงใจจำกัดชีวิตของสตรีในอัฟกานิสถาน ด้วยภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘
'นีลา อิบราฮิมิ' นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานได้รับรางวัล Children‘s Peace Prize
นีลา อิบราฮิมิ นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานวัย 17 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานของเธอในการต่อต้านการกดขี่สตรีโดย
'นาโต' เตือนเกาหลีเหนือ กรณีส่งกองทหารช่วยเหลือรัสเซีย
ยูเครนและเกาหลีใต้รายงานว่า มีทหารเกาหลีเหนือมากถึง 12,000 นายเข้าร่วมสงครามช่วยเหลือประธานาธิบดีปูติน จนถึง