องค์การอนามัยโลกเล็งเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงเป็นชื่ออื่น โดยเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมในการตั้งชื่อใหม่ให้กับโรคระบาดชนิดนี้
(Photo by Sam PANTHAKY / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แสดงความกังวลเกี่ยวกับชื่อของโรคระบาดที่ปรากฏตัวสู่เวทีโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยการใข้คำว่าฝีดาษลิง อาจจะไม่สื่อถึงลักษณะของโรคที่แท้จรืง รวมทั้งสร้างความเสียหายให้กับตระกูลสัตว์ประเภทลิงที่ถูกนำมาตั้งชื่อ ทั้งที่สิ่งมีชีวิตตระกูลเหล่านั้นมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในการแพร่กระจายโรค และการแพร่กระจายนั้นอยู่ในขอบเขตเพียงแค่ทวีปแอฟริกา ส่วนการแพร่กระจายโรคนอกทวีปแอฟริกานั้นมาจากมนุษย์เอง
ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศบราซิล มีรายงานกรณีที่มีมนุษย์ทำร้ายลิงเพราะกลัวเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคดังกล่าว
“โรคฝีดาษลิงในมนุษย์เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรคดังกล่าว แต่ไม่ใช่ชื่อโรคที่แท้จริงที่เหมาะสมกับบริบทและแนวทางปฏิบัติทางสาธาณณสุข” ฟาเดลา ชาอิบ โฆษกหญิงขององค์การอนามัยโลก กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
"เราต้องการชื่อที่ไม่สร้างปัญหาและความเข้าใจผิด" เธอกล่าวเสริมและทิ้งท้ายว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกเปิดรับความคิดเห็นในชื่อใหม่ของโรคฝีดาษลิงจากสาธารณชนทั่วไป โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซท์ https://icd.who.int/dev11
ฝีดาษลิง ได้รับการตั้งชื่อแต่เดิมจากการระบุเชื้อไวรัสในลิงที่เก็บไว้เพื่อการวิจัยของประเทศเดนมาร์กเมื่อปี 2501 แต่ไวรัสชนิดนี้พบได้ในสัตว์หลายชนิด และมักพบในสัตว์ฟันแทะเป็นส่วนใหญ่
ขณะที่โรคฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 2513 ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยมีการแพร่กระจายในหมู่มนุษย์ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดวงอยู่ในเฉพาะบางประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก ในฐานะโรคเฉพาะถิ่น
แต่เมื่อดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โรคดังกล่าวซึ่งทำให้มีไข้สูง, ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และมีตุ่มพองที่ผิวหนังขนาดใหญ่คล้ายฝีดาษ เริ่มแพร่กระจายออกจากแอฟริกา ก่อนระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มชายรักชาย
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวมากกว่า 31,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย จนต้องกำหนดให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลก
ในขณะที่ไวรัสฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าการแพร่กระจายทั่วโลกขณะนี้ เกิดจากการแพร่กระจายโรคระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์
หน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ตกลงกันเกี่ยวกับชื่อใหม่สำหรับสายพันธุ์ของไวรัสโรคฝีดาษลิง โดยจะเรียกใหม่ว่า เคลด (Clade) แทนชื่อเดิม โดยสายพันธุ์หลักทั้ง 2 ของไวรัสดังกล่าว ได้รับการตั้งชื่อตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ทราบกันว่ามีการแพร่ระบาด ได้แก่ ลุ่มน้ำคองโก และแอฟริกาตะวันตก
ผู้เชี่ยวชาญเห็นชอบที่จะเปลี่ยนชื่อดังกล่าวและใช้ตัวเลขโรมันประกอบ โดยเรียกสายพันธุ์ทั้ง 2 ว่า เคลด 1 (Clade I) และ เคลด 2 (Clade II) โดยตัวแปรย่อยของสายพันธุ์ เคลด 2 (Clade II) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Clade IIb ถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้
องค์การอนามัยโลกยังคงเปิดรับการตั้งชื่อใหม่เพื่อใช้อย่างเป็นทางการจากสาธารณชน.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แสดงความกังวลเกี่ยวกับชื่อของโรคระบาดที่ปรากฏตัวสู่เวทีโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยการใข้คำว่าฝีดาษลิง อาจจะไม่สื่อถึงลักษณะของโรคที่แท้จรืง รวมทั้งสร้างความเสียหายให้กับตระกูลสัตว์ประเภทลิงที่ถูกนำมาตั้งชื่อ ทั้งที่สิ่งมีชีวิตตระกูลเหล่านั้นมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในการแพร่กระจายโรค และการแพร่กระจายนั้นอยู่ในขอบเขตเพียงแค่ทวีปแอฟริกา ส่วนการแพร่กระจายโรคนอกทวีปแอฟริกานั้นมาจากมนุษย์เอง
ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศบราซิล มีรายงานกรณีที่มีมนุษย์ทำร้ายลิงเพราะกลัวเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคดังกล่าว
“โรคฝีดาษลิงในมนุษย์เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรคดังกล่าว แต่ไม่ใช่ชื่อโรคที่แท้จริงที่เหมาะสมกับบริบทและแนวทางปฏิบัติทางสาธาณณสุข” ฟาเดลา ชาอิบ โฆษกหญิงขององค์การอนามัยโลก กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
"เราต้องการชื่อที่ไม่สร้างปัญหาและความเข้าใจผิด" เธอกล่าวเสริมและทิ้งท้ายว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกเปิดรับความคิดเห็นในชื่อใหม่ของโรคฝีดาษลิงจากสาธารณชนทั่วไป โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซท์ https://icd.who.int/dev11
ฝีดาษลิง ได้รับการตั้งชื่อแต่เดิมจากการระบุเชื้อไวรัสในลิงที่เก็บไว้เพื่อการวิจัยของประเทศเดนมาร์กเมื่อปี 2501 แต่ไวรัสชนิดนี้พบได้ในสัตว์หลายชนิด และมักพบในสัตว์ฟันแทะเป็นส่วนใหญ่
ขณะที่โรคฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 2513 ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยมีการแพร่กระจายในหมู่มนุษย์ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดวงอยู่ในเฉพาะบางประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก ในฐานะโรคเฉพาะถิ่น
แต่เมื่อดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โรคดังกล่าวซึ่งทำให้มีไข้สูง, ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และมีตุ่มพองที่ผิวหนังขนาดใหญ่คล้ายฝีดาษ เริ่มแพร่กระจายออกจากแอฟริกา ก่อนระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มชายรักชาย
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวมากกว่า 31,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย จนต้องกำหนดให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลก
ในขณะที่ไวรัสฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าการแพร่กระจายทั่วโลกขณะนี้ เกิดจากการแพร่กระจายโรคระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์
หน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ตกลงกันเกี่ยวกับชื่อใหม่สำหรับสายพันธุ์ของไวรัสโรคฝีดาษลิง โดยจะเรียกใหม่ว่า เคลด (Clade) แทนชื่อเดิม โดยสายพันธุ์หลักทั้ง 2 ของไวรัสดังกล่าว ได้รับการตั้งชื่อตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ทราบกันว่ามีการแพร่ระบาด ได้แก่ ลุ่มน้ำคองโก และแอฟริกาตะวันตก
ผู้เชี่ยวชาญเห็นชอบที่จะเปลี่ยนชื่อดังกล่าวและใช้ตัวเลขโรมันประกอบ โดยเรียกสายพันธุ์ทั้ง 2 ว่า เคลด 1 (Clade I) และ เคลด 2 (Clade II) โดยตัวแปรย่อยของสายพันธุ์ เคลด 2 (Clade II) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Clade IIb ถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้
องค์การอนามัยโลกยังคงเปิดรับการตั้งชื่อใหม่เพื่อใช้อย่างเป็นทางการจากสาธารณชน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ