รัฐบาลเมียนมาไม่สนค้าน ประหารนักเคลื่อนไหว4คน

รัฐบาลทหารเมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านรัฐประหาร 4 คน ผู้ที่โดนประหารรวมถึงอดีต ส.ส.ของพรรคอองซาน ซูจี และเป็นนักร้องเพลงฮิปฮอปต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ เป็นการลงโทษประหารชีวิตครั้งแรกในเมียนมาในรอบหลายสิบปี เรียกเสียงประณามจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน

          สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 รัฐบาลทหารเมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คน ที่โดนศาลตัดสินโทษประหารชีวิตก่อนหน้านี้ในการพิจารณาคดีแบบปิดเมื่อเดือนมกราคมและเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งนานาชาติต่างเรียกร้องให้ทางการเมียนมายกเว้นโทษประหารชีวิตพวกเขา

          หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมา กระบอกเสียงของทางการเมียนมาระบุว่า นักโทษที่โดนประหารชีวิตทั้ง 4 คน มีความผิดฐานเป็นผู้นำในการก่อการร้ายที่โหดเหี้ยมและไร้มนุษยธรรม การประหารชีวิตดำเนินการตามระเบียบของเรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้ง แต่ไม่ได้ระบุว่าประหารชีวิตไปเมื่อไรหรือด้วยวิธีใด

          ก่อนหน้านี้ศาลของรัฐบาลทหารเมียนมาตัดสินประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารหลายสิบคน ซึ่งเป็นการปราบปรามผู้เห็นต่างหลังจากเข้ายึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว 

          นักเคลื่อนไหวที่โดนประหารชีวิตทั้ง 4 คน รวมถึงพิว เซยา ตอ วัย 41 ปี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของอองซาน ซูจี เขาถูกจับกุมเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา และศาลตัดสินโทษประหารชีวิตเมื่อเดือนมกราคม จากความผิดตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย

          พิวถูกกล่าวหาเป็นคนบงการให้โจมตีเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารเมียนมาหลายครั้ง รวมถึงเหตุลอบยิงขบวนรถไฟโดยสารในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งทำให้ตำรวจเสียชีวิต 5 นาย เขาเป็นผู้บุกเบิกเพลงฮิปฮอปในเมียนมา และร้องเพลงต่อต้านรัฐบาล ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ของพรรคเอ็นแอลดีเมื่อปี 2558

          นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอีกรายที่โดนประหารชีวิตคือ จ่อ มิน ตู วัย 53 ปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “จิมมี” เขาถูกศาลทหารตัดสินประหารชีวิต

          สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ครอบครัวของชายทั้ง 2 คนที่โดนประหารชีวิต หลังจากทราบข่าวการประหารชีวิต มารวมตัวอยู่ด้านนอกเรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้ง ด้วยความหวังว่าจะนำร่างของพวกเขากลับไป

          ส่วนนักเคลื่อนไหวอีก 2 คนที่โดนประหารชีวิตคือ ลา มโย ออง และออง ตูรา ซอ ทั้ง 2 คนถูกกล่าวหาว่าฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นสายให้รัฐบาลทหารในย่างกุ้ง

          ฮิวแมนไรต์วอตช์ประณามการประหารชีวิตครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมอย่างที่สุด

          แอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวครั้งนี้ของรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นการเพิ่มความโหดเหี้ยมในการปราบปรามประชาชนของรัฐ และเตือนว่ามีนักโทษที่ศาลของรัฐบาลทหารตัดสินโทษประหาร อยู่อีกราว 100 คน

          ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกล่าวก่อนหน้านี้ว่า ถ้ามีการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเกิดขึ้น จะเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในเมียนมาตั้งแต่ปี 2531.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' ประเดิม 18 ธ.ค. บุก ป.ป.ช. หึ่งล็อบบี้หนักล้มคดีชั้น 14

วงหารือฝ่ายต้านรัฐบาล ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' นำร่อง 18 ธ.ค. บุกตึก ป.ป.ช. หลังได้กลิ่นล็อบบี้หนัก 3 กรรมการฯ ล้มคดีชั้น 14

'นีลา อิบราฮิมิ' นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานได้รับรางวัล Children‘s Peace Prize

นีลา อิบราฮิมิ นักเคลื่อนไหวชาวอัฟกานิสถานวัย 17 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานของเธอในการต่อต้านการกดขี่สตรีโดย

'พิธา' โผล่ประชุม กมธ.ความมั่นคง เชิญ 5 ธนาคารไทยแจงปม 'ยูเอ็น' แฉหนุนเมียนมาซื้ออาวุธ

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม เป็นประธาน มีการพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริง กรณีสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ระอุ! ฝ่ายต้านฯเปิดฉากโจมตีทหารเมียนมา กระสุนข้ามฝั่งเข้าไทย

เวลา 06.20 น.กองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา เข้าโจมตีทหารเมียนมา โดยปืนเล็ก ปืนกล และ เครื่องยิงลูกระIบิดขนาด 40 มม. และใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) โจมตีทหารเมียนมา

'อองซาน ซูจี' ย้ายจากเรือนจำมากักบริเวณในบ้าน เหตุเสี่ยงเป็นโรคลมแดด

เมียนมาตกอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารมาตั้งแต่ปี 2021 และอองซาน ซูจี-อดีตหัวหน้ารัฐบาล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสั