องค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลก ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนสูงสุด หลังจากพบผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันเกือบ 17,000 คน ใน 74 ประเทศ
แฟ้มภาพ วัคซีนโรคไข้ทรพิษที่หน่วยงานเฝ้าระวังด้านยาของสหภาพยุโรปแนะนำให้อนุมัติใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิงซึ่งปัจจุบันองค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลก (Photo by JOE RAEDLE / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 กล่าวว่า ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเมื่อวันเสาร์ให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลกเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
กีบรีเยซุสกล่าวว่า คณะกรรมการฉุกเฉินซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคฝีดาษลิงได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันพฤหัสบดี แต่ไม่สามารถบรรลุฉันทามติได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของตัวเขาในฐานะผู้นำ ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะประกาศแจ้งเตือนสูงสุดหรือไม่
"การประเมินขององค์การอนามัยโลกบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงของโรคฝีดาษลิงอยู่ในระดับปานกลางทั่วโลก และในทุกภูมิภาค ยกเว้นในภูมิภาคยุโรปที่องค์การอนามัยโลกประเมินในระดับความเสี่ยงสูง" กีบรีเยซุสแถลง
โรคฝีดาษลิงระบาดในคนไปแล้วกว่า 16,800 คน ใน 74 ประเทศ ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (ซีดีซี) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม
สหรัฐอเมริกาออกมาขานรับการประกาศขององค์การอนามัยโลกทันทีว่าเป็น "การเรียกร้องให้ประชาคมโลกหยุดการแพร่กระจายของไวรัสชนิดนี้"
ราจ ปันจาบี ผู้อำนวยการอาวุโสด้านความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกและการป้องกันทางชีวภาพของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "การประสานงานระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญในการหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิง, การปกป้องชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะติดโรค และการต่อสู้กับการระบาดในปัจจุบัน"
องค์การอนามัยโลกระบุว่า การติดเชื้อฝีดาษลิงส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน, อายุน้อย และอยู่ในเขตเมือง โดยรวมแล้ว 98% ของผู้ติดเชื้อมักเป็นเกย์หรือกะเทย และประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ มักเคยไปสถานที่ที่มีกิจกรรมทางเพศ เช่น ปาร์ตี้เซ็กซ์หรือซาวน่า ช่วง 1 เดือนก่อนหน้า
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การระบาดมักเข้มข้นในหมู่ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ซึ่งหมายความว่า การระบาดจะสามารถหยุดได้ด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะสมในวงจรที่ถูกต้อง
โรคฝีดาษลิงคือโรคติดเชื้อไวรัสที่คล้ายกับไข้ทรพิษและตรวจพบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 2513 แต่โรคฝีดาษลิงมีอันตรายและติดต่อได้น้อยกว่าไข้ทรพิษ โดยอาการเริ่มแรกของโรคดังกล่าว ได้แก่ ไข้สูง, ต่อมน้ำเหลืองบวม และมีผื่นคล้ายอีสุกอีใส ซึ่งปกติอาการจะไม่รุนแรงและมักจะหายไปเองตามธรรมชาติหลังจากผ่านไปสองถึงสามสัปดาห์
หน่วยงานเฝ้าระวังด้านยาของสหภาพยุโรปแนะนำให้มีการอนุมัติใช้อิมวาเน็กซ์ (Imvanex) หรือที่รู้จักกันในนามวัคซีนไข้ทรพิษ เพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิง
อิมวาเน็กซ์ (Imvanex) พัฒนาโดยบาวาเรียน นอร์ดิก ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพแบบครบวงจร และยาชนิดนี้ได้รับการอนุมัติใช้ในสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2556 สำหรับการป้องกันโรคไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' มีคำตอบ 'วัคซีนป้องกันฝีดาษวานร' มีหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์