สหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำเพิ่มเติมประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ได้แก่ เวียดนาม, กัมพูชา, บรูไน และมาเก๊า โดยอ้างว่าประเทศเหล่านี้ไม่จริงจังกับการขจัดบริการทางเพศที่เป็นการบังคับหรือไม่ยินยอม รวมทั้งการสนับสนุนแรงงานข้ามชาติผิดกฏหมาย
แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในระหว่างรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี 2565 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม (Photo by Manuel Balce Ceneta / POOL / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 20 กรกฏาคม 2565 กล่าวว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นำเสนอรายงานการค้ามนุษย์ประจำปีเมื่อวันอังคาร โดยแจ้งว่าสหรัฐฯได้ขึ้นบัญชีดำค้ามนุษย์กับประเทศที่เพิกเฉยต่อการบังคับให้มีกิจกรรมบริการทางเพศอย่างไม่ยินยอม และการปล่อยปละละเลยให้มีการค้าแรงงานข้ามชาติอย่างผิดกฏหมาย ซึ่งประเทศที่เพิ่มเข้าไปในบัญชีดังกล่าวได้แก่ เวียดนาม, กัมพูชา, บรูไน และมาเก๊า โดยก่อนหน้านี้ได้เพิ่มมาเลเซียเข้าไปแล้วเช่นกัน
ในรายงานประจำปีดังกล่าว สหรัฐฯยังได้เพิ่มเบลารุสที่ปัจจุบันมีการปกครองแบบเผด็จการเข้าไปในบัญชีดำด้วย และใส่ชื่อประเทศบัลแกเรียไว้ในบัญชีเฝ้าระวังด้วยข้อสงสัยจากการไม่ดำเนินการจัดการปัญหาค้ามนุษย์อย่างจริงจัง
รายงานการค้ามนุษย์ประจำปีของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พิจารณาโดยไม่ได้ยกเว้นประเทศพันธมิตรใกล้ชิดแต่อย่างใด ซึ่งมักก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐเสมอๆ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ จะอธิบายว่าเป็นการตีแผ่ข้อเท็จจริงเพื่อกระตุ้นให้แต่ละรัฐ ดำเนินการจัดการให้ถูกต้องก็ตาม
ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำในระดับ "เทียร์ 3" จะถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ แต่ในทางปฏิบัติสหรัฐฯอาจยอมลดหย่อนมาตรการดังกล่าวสำหรับประเทศที่ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการปรับปรุงให้ดีขี้น
เวียดนามซึ่งมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสหรัฐฯ ถูกลดระดับล่าสุดเป็นเทียร์ 3 โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอ้างว่า รัฐบาลเวียดนามมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์น้อยเกินไปในปี 2564
รายงานดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลเวียดนามมีความผิดจากการที่ไม่ดำเนินการใดๆกับนักการทูตเวียดนามและเจ้าหน้าที่สถานทูตเวียดนามในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในการค้ามนุษย์
ในส่วนของกัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อ้างว่า การทุจริตในระดับท้องถิ่นเป็นอุปสรรคสำคัญในการช่วยเหลือคนหลายพันคน ซึ่งหมายรวมถึงเด็กหลายคนที่ต้องขายแรงงานในสถานบันเทิง, ในภาคอุตสาหกรรม และการบังคับให้ทำธุรกิจต้มตุ๋นออนไลน์
ในส่วนของมาเก๊า ซึ่งมีชื่อเสียงด้านกิจการคาสิโนและอุตสาหกรรมทางเพศที่คึกคัก รายงานฯระบุว่า ฝ่ายบริหารของเกาะ ไม่ได้ช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์แม้แต่รายเดียว เป็นปีที่สามติดต่อกัน
ส่วนรายชื่อประเทศอื่นๆที่ยังคงอยู่ในบัญชีดำตั้งแต่ปีที่แล้ว ได้แก่ มาเลเซีย, อัฟกานิสถาน, คิวบา, เอริเทรีย, กินี-บิสเซา, อิหร่าน, เมียนมา, เกาหลีเหนือ, นิการากัว, รัสเซีย, ซูดานใต้, ซีเรีย, เติร์กเมนิสถาน และเวเนซุเอลา.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 20 กรกฏาคม 2565 กล่าวว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นำเสนอรายงานการค้ามนุษย์ประจำปีเมื่อวันอังคาร โดยแจ้งว่าสหรัฐฯได้ขึ้นบัญชีดำค้ามนุษย์กับประเทศที่เพิกเฉยต่อการบังคับให้มีกิจกรรมบริการทางเพศอย่างไม่ยินยอม และการปล่อยปละละเลยให้มีการค้าแรงงานข้ามชาติอย่างผิดกฏหมาย ซึ่งประเทศที่เพิ่มเข้าไปในบัญชีดังกล่าวได้แก่ เวียดนาม, กัมพูชา, บรูไน และมาเก๊า โดยก่อนหน้านี้ได้เพิ่มมาเลเซียเข้าไปแล้วเช่นกัน
ในรายงานประจำปีดังกล่าว สหรัฐฯยังได้เพิ่มเบลารุสที่ปัจจุบันมีการปกครองแบบเผด็จการเข้าไปในบัญชีดำด้วย และใส่ชื่อประเทศบัลแกเรียไว้ในบัญชีเฝ้าระวังด้วยข้อสงสัยจากการไม่ดำเนินการจัดการปัญหาค้ามนุษย์อย่างจริงจัง
รายงานการค้ามนุษย์ประจำปีของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พิจารณาโดยไม่ได้ยกเว้นประเทศพันธมิตรใกล้ชิดแต่อย่างใด ซึ่งมักก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐเสมอๆ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ จะอธิบายว่าเป็นการตีแผ่ข้อเท็จจริงเพื่อกระตุ้นให้แต่ละรัฐ ดำเนินการจัดการให้ถูกต้องก็ตาม
ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำในระดับ "เทียร์ 3" จะถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ แต่ในทางปฏิบัติสหรัฐฯอาจยอมลดหย่อนมาตรการดังกล่าวสำหรับประเทศที่ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการปรับปรุงให้ดีขี้น
เวียดนามซึ่งมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสหรัฐฯ ถูกลดระดับล่าสุดเป็นเทียร์ 3 โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอ้างว่า รัฐบาลเวียดนามมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์น้อยเกินไปในปี 2564
รายงานดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลเวียดนามมีความผิดจากการที่ไม่ดำเนินการใดๆกับนักการทูตเวียดนามและเจ้าหน้าที่สถานทูตเวียดนามในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในการค้ามนุษย์
ในส่วนของกัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อ้างว่า การทุจริตในระดับท้องถิ่นเป็นอุปสรรคสำคัญในการช่วยเหลือคนหลายพันคน ซึ่งหมายรวมถึงเด็กหลายคนที่ต้องขายแรงงานในสถานบันเทิง, ในภาคอุตสาหกรรม และการบังคับให้ทำธุรกิจต้มตุ๋นออนไลน์
ในส่วนของมาเก๊า ซึ่งมีชื่อเสียงด้านกิจการคาสิโนและอุตสาหกรรมทางเพศที่คึกคัก รายงานฯระบุว่า ฝ่ายบริหารของเกาะ ไม่ได้ช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์แม้แต่รายเดียว เป็นปีที่สามติดต่อกัน
ส่วนรายชื่อประเทศอื่นๆที่ยังคงอยู่ในบัญชีดำตั้งแต่ปีที่แล้ว ได้แก่ มาเลเซีย, อัฟกานิสถาน, คิวบา, เอริเทรีย, กินี-บิสเซา, อิหร่าน, เมียนมา, เกาหลีเหนือ, นิการากัว, รัสเซีย, ซูดานใต้, ซีเรีย, เติร์กเมนิสถาน และเวเนซุเอลา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กอ้วน' งัด KPI ปลุกขรก.ชายแดนล้างค้ามนุษย์
“ภูมิธรรม” ประกาศตั้ง KPI มีผลเลื่อนยศ-ปลด-ย้าย ทหาร-ตร.-ฝ่ายปกครอง 14 จังหวัดติดชายแดน แก้ยาเสพติด -คอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์
'วราวุธ' ระบุ 'ซิงซิง-ดาราจีน' เป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ พม. คุ้มครองตามกลไก NRM ตอนนี้ อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น พร้อมพูดคุยทีมสหวิชาชีพ
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนักแสดงชาวจีน "ซิงซิง" ได้รับการช่วยเหลือจากการถูกหลอกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
'ผู้การติ๊บ' ลุยคุมเข้มสกัดภัยคุกคามทุกรูปแบบ รักษาอธิปไตยไทย
พ.อ.ณัฐกร เรือนติ๊บ หรือ “ผู้การติ๊บ” ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก (แม่สอด-ท่าสองยาง-พบพระ-อุ้มผาง-แม่ระมาด)
บี้รัฐบาล-ผบ.ตร. เร่งกวาดล้างแก๊งค้ามนุษย์ สแกนเข้มชายแดน ฟันทหารตำรวจนอกรีต
'ธนกร' ขอ 'รัฐบาล-ผบ.ตร.' เร่งกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงคนหางาน ฝากสแกนเข้มตะเข็บชายแดน หวั่นใช้ไทยเป็นฐานนายหน้าส่งต่อเหยื่อ แนะจัดการเด็ดขาดทหาร-ตร.นอกรีด