องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) อนุมัติการใช้งานแบบฉุกเฉินสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 "โคแวกซิน" ที่ผลิตโดยอินเดีย แล้วเมื่อวันพุธ เป็นวัคซีนชนิดที่ 7 ที่ได้ไฟเขียวจากดับเบิลยูเอชโอและจะเปิดทางให้นำวัคซีนนี้เข้าโครงการโคแวกซ์ช่วยประเทศยากจน
รายงานเอเอฟพีและรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกประกาศว่า ได้ขึ้นบัญชีการใช้แบบฉุกเฉินสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัท ภารัตไบโอเทค ของอินเดียแล้ว คำแถลงจากนครเจนีวากล่าวว่า วัคซีนโคแวกซินนี้มีประสิทธิภาพ 78% หลังจากฉีดครบ 2 โดสในเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ วัคซีนนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง เนื่องจากง่ายต่อการเก็บรักษา
การอนุมัติใช้งานแบบฉุกเฉินนอกจากช่วยให้นำวัคซีนนี้เข้าโครงการวัคซีนโลก โคแวกซ์ แล้ว ยังจะช่วยให้ชาวอินเดียหลายล้านคนที่ฉีดวัคซีนชนิดนี้สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้
โคแวกซินเป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ 7 ที่ผ่านการอนุมัติใช้งานแบบฉุกเฉินจากดับเบิลยูเอชโอ ต่อจากวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ของไฟเซอร์-ไบออนเทค และโมเดอร์นา, วัคซีนที่ใช้ไวรัสอะดีโนเป็นพาหะ ของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเชื้อตาย จากบริษัท ซิโนแวคไบโอเทค และซิโนฟาร์มของจีน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้