เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้งทางตอนใต้ของอิหร่าน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย บาดเจ็บกว่า 80 คน และทำให้อาคารหลายสิบหลังพังถล่ม
ผู้ประสบเหตุนั่งรอความช่วยเหลือข้างซากปรักหักพังของอาคารที่อยู่อาศัย หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 6.0 แม็กนิจูด จำนวน 2 ครั้ง ที่หมู่บ้านซาเยห์ คอช ทางตะวันตกของเมืองแบนแดร์แอบบอส ซึ่งเป็นเมืองท่าและเมืองหลักของจังหวัดโฮร์โมซกัน บนชายฝั่งตอนใต้ของประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายและบาดเจ็บ 84 คน (Photo by Amir HOSSEIN TALEBI / ISNA / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565 กล่าวว่า สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) รายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.0 แม็กนิจูด จำนวน 2 ครั้ง ทางตะวันตกของเมืองแบนแดร์แอบบอส ซึ่งเป็นเมืองท่าและเมืองหลักของจังหวัดโฮร์โมซกัน บนชายฝั่งตอนใต้ของประเทศอิหร่าน
ยูเอสจีเอส รายงานว่า แผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดขึ้นในพื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองเดซกัน หลังเวลา 02:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (04.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) ของเช้าวันเสาร์ ก่อนเกิดแรงสั่นสะเทือนขนาด 5.7 แม็กนิจูดอีกครั้ง ในอีก 2 ชั่วโมงต่อมา ตามด้วยแผ่นดินไหวขนาด 6.0 ครั้งที่สองอย่างรวดเร็ว
เมห์ดี ดูซติ ผู้ว่าการจังหวัดโฮร์โมซกัน กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และหมู่บ้านซาเยห์ คอช พังราบเป็นหน้ากลอง เพราะอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยดำเนินอย่างต่อเนื่องและน่าจะสิ้นสุดลงในอีกไม่นาน
“มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 84 คน ซึ่ง 15 คนในจำนวนนั้นยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล” มอจตาบา คาเลดี โฆษกหน่วยฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไออาร์เอ็นเอ
ชาวบ้านในหมู่บ้านซาเยห์ คอช ต่างรวมตัวใช้ชีวิตกันกลางแจ้งท่ามกลางความมืดมิดในช่วงกลางดึก เนื่องจากที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหมด และไม่มีทั้งน้ำให้บริโภคและไฟฟ้าให้ใช้
อาหมัด วาฮิดี รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เกิดเหตุในจังหวัดโฮร์โมซกัน และบอกกับไออาร์เอ็นเอว่าการฟื้นฟูระบบน้ำและไฟฟ้าเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งฟื้นฟูเป็นอย่างแรกในพื้นที่นี้
ประเทศอิหร่านตั้งอยู่ในบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นและเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โดยแผ่นดินไหวครั้งที่ร้ายแรงที่สุดของอิหร่านคือ แผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางตอนเหนือของประเทศ ในปี 2533 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไป 40,000 ราย, บาดเจ็บ 300,000 คน และอีกครึ่งล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย
ในเดือนธันวาคมปี 2562 และมกราคม 2563 เกิดแผ่นดินไหว 2 ครั้งใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์ ของอิหร่าน ทำให้เพื่อนบ้านในอ่าวอาหรับของอิหร่าน แสดงความกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งเดียวของประเทศ ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ และความเสี่ยงของการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ขณะที่จังหวัดโฮร์โมซกัน เพิ่งเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 และ 6.3 แม็กนิจูด จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 1 ราย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ปณิธาน วิเคราะห์สถานการณ์ตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลตอบโต้กลับอิหร่าน
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ โพสต์คลิปสัมภาษณ์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมข้อความว่า อิสราเอลแถลงว่าการโจมตีอิหร่านสิ้นสุดลงแล้ว (พรุ่งนี้ต้องจับตาดูการเจรจาหยุดยิงและแลกเปลี่ยนตัวประกันรอบใหม่ระหว่างฮามาสและอิสราเอลที่ Doha)
กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 อากาศแปรปรวน 19-21 ต.ค. เปิดพื้นที่ฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 - 21 ตุลาคม 2567)
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
อิสราเอลถล่มกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ครั้งใหญ่ด้วยเครื่องบินขับไล่หลายสิบลำ
กองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ทำการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ต่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่สนับสนุนอิหร่านทางตอนใต้ของเลบา
เกิดแผ่นดินไหวตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ห่างจากจังหวัดสตูล 553 กม.
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงานเกิดสถานการณ์แผ่นดินไหวตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา
'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า