บรรดาประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกได้สรุปการประชุมสุดยอดตลอดระยะเวลา 3 วัน ไว้ในประเด็นหลักๆ ได้แก่ วิธีช่วยเหลือและสนับสนุนยูเครนในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย, การลดการพึ่งพาเศรษฐกิจของจีน, การบรรเทาวิกฤตขาดแคลนอาหารทั่วโลก, การจัดการกับภาวะโลกร้อน และการหาพลังงานทางเลือกเพื่อมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
ธงชาติของประเทศสมาชิก จี7, ธงของสหภาพยุโรป และธงการประชุมสุดยอด จี7 ปี 2022 ก่อนการแถลงสิ้นสุดการประชุม ในวันที่ 28 มิถุนายน (Photo by KERSTIN JOENSSON / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า บทสรุปจากการหารือของบรรดาผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ในการประชุมสุดยอด จี7 ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน ที่ประเทศเยอรมนี สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆที่เห็นพ้องร่วมกันของผู้นำจากสหราชอาณาจักร, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์มากมายที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ดังนี้
- สงครามในยูเครน -
บรรดาชาติพันธมิตรหลักต่างให้คำมั่นว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน, ทางด้านมนุษยธรรม, ทางการทหาร และการทูต รวมทั้งการยืนหยัดเคียงข้างยูเครนให้นานที่สุดเท่าที่จำเป็น
ความช่วยเหลือทางการเงินที่จะมอบให้ยูเครน มีมูลค่าถึง 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ขณะที่สหรัฐฯ เตรียมส่งขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานขั้นสูงให้แก่ยูเครน เพื่อใช้รับมือกับการโจมตีของรัสเซีย
อีกด้านหนึ่งเพื่อกดดันปูติน บรรดาผู้นำกลุ่ม จี7 ออกมาตรการห้ามนำเข้าทองคำจากรัสเซีย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้อันดับ 2 และจะร่วมมือกันดำเนินการทุกวิธีเพื่อให้มีการจำกัดราคาน้ำมันของรัสเซีย เช่นการกดดันและขัดขวางไม่ให้การขนส่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากทะเลของรัสเซียดำเนินการได้สะดวก เพื่อกดราคาซื้อขายน้ำมันรัสเซียให้อยู่ในราคาที่กำหนดหรือต่ำกว่านั้น
- จีน -
บรรดาผู้นำกลุ่ม จี7 อ้างถึงแนวทางปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศของจีนที่ไม่โปร่งใสและบิดเบือนตลาด จึงเริ่มแสวงหาทางเลือกอื่นเพื่อให้หลุดพ้นจากการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน โดยจะส่งเสริมความหลากหลายและความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ และลดการพึ่งพาทางยุทธศาสตร์
นอกจากนี้ มีการอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน จึงเตรียมการเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ โดยเน้นย้ำสถานการณ์ในทิเบตและซินเจียง ซึ่งมีการบังคับใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และยังเรียกร้องให้จีนเคารพต่อพันธกรณีของตนภายใต้ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ซึ่งรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เคยเห็นพ้องว่าฮ่องกงสามารถคงเสรีภาพและความเป็นอิสระบางส่วนไว้ได้เป็นเวลา 50 ปีภายใต้โมเดล "หนึ่งประเทศ สองระบบ"
กลุ่ม จี7 เปิดเผยแผนการระดมทุนมูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านล้านบาท) จากภาครัฐและเอกชนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยากจน เพื่อที่จะแข่งขันกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง - Belt and Road Initiative (บีอาร์ไอ)” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั่วโลกที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้ในปี 2556 ในการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและต่างประเทศเกือบ 70 แห่ง
- ความหิวโหยทั่วโลก -
กลุ่ม จี7 ให้คำมั่นที่จะเพิ่มเงินจำนวน 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท) เพื่อบรรเทาวิกฤตการขาดแคลนอาหารทั่วโลก ความช่วยเหลือร่วมกันทั้งหมดในปีนี้มีมูลค่ากว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 แสนล้านบาท) พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศและบริษัทต่างๆ ที่มีอาหารสำรองจำนวนมากให้ความช่วยเหลือด้านอาหารเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤติความหิวโหยที่เกิดจากผลกระทบของสงครามยูเครน และเรียกร้องให้ทุกๆประเทศหลีกเลี่ยงการสะสมอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจทำลายตลาดและนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้าและอาหาร
- สภาพภูมิอากาศ -
กลุ่ม จี7 เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้ได้ 43% ภายในปี 2573 และพร้อมส่งเสริมให้มีการสร้างถนนที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573 เช่นเดียวกัน
กลุ่ม จี7 เห็นพ้องในการจัดตั้ง "สมาคมภูมิอากาศ (Climate Club)" สำหรับประเทศที่พร้อมเข้าร่วมเพื่อประสานงานในการจัดการกับภาวะโลกร้อน
- พลังงาน -
กลุ่ม จี7 ให้คำมั่นที่จะหยุดสนับสนุนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในระดับนานาชาติภายในสิ้นปี 2565 พร้อมหาพลังงานทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทน.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า บทสรุปจากการหารือของบรรดาผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ในการประชุมสุดยอด จี7 ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน ที่ประเทศเยอรมนี สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆที่เห็นพ้องร่วมกันของผู้นำจากสหราชอาณาจักร, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์มากมายที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ดังนี้
- สงครามในยูเครน -
บรรดาชาติพันธมิตรหลักต่างให้คำมั่นว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน, ทางด้านมนุษยธรรม, ทางการทหาร และการทูต รวมทั้งการยืนหยัดเคียงข้างยูเครนให้นานที่สุดเท่าที่จำเป็น
ความช่วยเหลือทางการเงินที่จะมอบให้ยูเครน มีมูลค่าถึง 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ขณะที่สหรัฐฯ เตรียมส่งขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานขั้นสูงให้แก่ยูเครน เพื่อใช้รับมือกับการโจมตีของรัสเซีย
อีกด้านหนึ่งเพื่อกดดันปูติน บรรดาผู้นำกลุ่ม จี7 ออกมาตรการห้ามนำเข้าทองคำจากรัสเซีย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้อันดับ 2 และจะร่วมมือกันดำเนินการทุกวิธีเพื่อให้มีการจำกัดราคาน้ำมันของรัสเซีย เช่นการกดดันและขัดขวางไม่ให้การขนส่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากทะเลของรัสเซียดำเนินการได้สะดวก เพื่อกดราคาซื้อขายน้ำมันรัสเซียให้อยู่ในราคาที่กำหนดหรือต่ำกว่านั้น
- จีน -
บรรดาผู้นำกลุ่ม จี7 อ้างถึงแนวทางปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศของจีนที่ไม่โปร่งใสและบิดเบือนตลาด จึงเริ่มแสวงหาทางเลือกอื่นเพื่อให้หลุดพ้นจากการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน โดยจะส่งเสริมความหลากหลายและความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ และลดการพึ่งพาทางยุทธศาสตร์
นอกจากนี้ มีการอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน จึงเตรียมการเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ โดยเน้นย้ำสถานการณ์ในทิเบตและซินเจียง ซึ่งมีการบังคับใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และยังเรียกร้องให้จีนเคารพต่อพันธกรณีของตนภายใต้ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ซึ่งรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เคยเห็นพ้องว่าฮ่องกงสามารถคงเสรีภาพและความเป็นอิสระบางส่วนไว้ได้เป็นเวลา 50 ปีภายใต้โมเดล "หนึ่งประเทศ สองระบบ"
กลุ่ม จี7 เปิดเผยแผนการระดมทุนมูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านล้านบาท) จากภาครัฐและเอกชนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยากจน เพื่อที่จะแข่งขันกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง - Belt and Road Initiative (บีอาร์ไอ)” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั่วโลกที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้ในปี 2556 ในการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและต่างประเทศเกือบ 70 แห่ง
- ความหิวโหยทั่วโลก -
กลุ่ม จี7 ให้คำมั่นที่จะเพิ่มเงินจำนวน 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท) เพื่อบรรเทาวิกฤตการขาดแคลนอาหารทั่วโลก ความช่วยเหลือร่วมกันทั้งหมดในปีนี้มีมูลค่ากว่า 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 แสนล้านบาท) พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศและบริษัทต่างๆ ที่มีอาหารสำรองจำนวนมากให้ความช่วยเหลือด้านอาหารเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤติความหิวโหยที่เกิดจากผลกระทบของสงครามยูเครน และเรียกร้องให้ทุกๆประเทศหลีกเลี่ยงการสะสมอาหารมากเกินไป ซึ่งอาจทำลายตลาดและนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้าและอาหาร
- สภาพภูมิอากาศ -
กลุ่ม จี7 เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้ได้ 43% ภายในปี 2573 และพร้อมส่งเสริมให้มีการสร้างถนนที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573 เช่นเดียวกัน
กลุ่ม จี7 เห็นพ้องในการจัดตั้ง "สมาคมภูมิอากาศ (Climate Club)" สำหรับประเทศที่พร้อมเข้าร่วมเพื่อประสานงานในการจัดการกับภาวะโลกร้อน
- พลังงาน -
กลุ่ม จี7 ให้คำมั่นที่จะหยุดสนับสนุนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในระดับนานาชาติภายในสิ้นปี 2565 พร้อมหาพลังงานทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทน.